รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน INSTRUCTIONAL SUPERVISION MODEL FOR DEVELOPING STUDENT QUALITY IN BASIC EDUCATION SCHOOLS

Authors

  • ฉัตรชัย จูมวงศ์

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสังเคราะห์กรอบแนวคิดและองค์ ประกอบของรูปแบบ จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาแนวทางการนิเทศจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการนิเทศการศึกษา  จำนวน 8 คน ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ และ ผู้บริหารการศึกษา โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พัฒนารูปแบบโดยใช้กระบวนการอิงผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและครูผู้สอน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและ 2) การยืนยันรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีการประเมินจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 61 คนด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เป็นผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า1. องค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญ หลักการแนวคิด วัตถุประสงค์ กระบวนการนิเทศ และเงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ2. รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีกระบวนการ 7 ขั้นตอน ดังนี้1) เข้าใจตรงกัน 2) แบ่งปันความรู้ 3) มุ่งสู่การแก้ไข 4) ร่วมใจวางแผน 5) สร้างแกนนำการปฏิบัติ 6) เร่งรัดส่งเสริม 7) ต่อเติมตอบสนอง ภายใต้เงื่อนไข หลักการการสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ การมีเป้าหมายและจุดเน้นร่วมกัน การทำงานอย่างเป็นระบบ การสะท้อนผลการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง3. การยืนยันรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า  มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ  รูปแบบการนิเทศ   การจัดการเรียนรู้   คุณภาพนักเรียน ABSTRACT The objectives of this study were 1) to develop an instructional supervision model to develop student quality in basic education schools by synthesizing a framework and components of the model from relevant documents and studies, as well as studying supervision guidelines from an in-depth interview with 8 experts in instructional supervision, which comprised of educational supervisors and school directors selected by purposive sampling. The tool employed was an unstructured interview form. Data was processed with content analysis method. The model was then developed by connoisseurship from 9 experts, namely educational supervisors, school directors, educational administrators and teachers, selected through purposive sampling. The tool used was a connoisseurship seminar minutes. Data was then also processed through content analysis; 2) to verify the author's instructional supervision model to develop student quality in basic education schools by 61 subjects who were directors of the educational administration supervision section in primary educational service area offices in North-eastern region, selected through simple random sampling. The tool used was a set of rating-scale questionnaire. Data was analyzed by using frequency, mean and standard deviation.The results of the study were as follows.1. The components of the author's instructional supervision model to develop student quality in basic education schools consisted of background and importance, principles and concepts, objectives, supervision procedure and condition of success.2. The supervision procedure of the author's consisted of 7 steps, which were 1) Clarifying 2) Sharing 3) Problem solving 4) Planning 5) Practice 6) Reinforcing and 7) Reflecting.  This procedure was conducted under the principles of relationships with trust and rapport, focusing goal, systematic working approach, reflection, and on-going development.3. The verification of the author's instructional supervision model to develop student quality in basic education schools found that the overall suitability of the developed model was at the highest level. The benefits, suitability and possibility were at the high level. KEYWORDS: supervision model, instructional management, student quality

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-08-15