วารสารบริหารการศึกษา มศว SWU Educational Administration Journal https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ <p> วารสารการบริหารการศึกษา มศว เป็นวารสารประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>วัตถุประสงค์ของวารสาร</p> <ol> <li>เป็นแหล่งเผยแพร่การค้นคว้า การทดลอง และการวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ในเชิงวิชาการด้านการบริหารการศึกษาและสาขาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง</li> <li>เป็นสื่อกลางในการติดต่อทางวิชาการระหว่างภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา ศิษย์เก่า และผู้สนใจทั่วไป</li> <li>ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการด้านการบริหารการศึกษาและสาขาการศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบของการเขียนบทความวิชาการ และบทความวิจัย <p><strong>ประเภทของบทความ</strong><br />1. บทความวิจัย <br />2. บทความวิชาการ<br />วารสารเปิดรับบทความภาษาไทย จากผู้นิพนธ์ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน กำหนดการออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม</p> </li> </ol> <p><strong> คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความจากผู้ส่งบทความ จำนวน 3,500 บาท / บทความ </strong></p> <p><strong> การพิจารณาบทความ จะผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน / บทความ </strong></p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong></p> <p> ผู้ส่งบทความดำเนินการสมัครลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ Swu-Ejournal เพื่อให้ได้รับ Username และ Password ในการเข้าสู่ระบบวารสาร แล้วดำเนินการส่งไฟล์บทความเข้าสู่ระบบโดยใช้ไฟล์ประเภทเอกสาร(Doc,Docx) แล้วรอการติดต่อจากบรรณาธิการทางอีเมล์เพื่อดำเนินการต่อไป</p> <p> บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารการศึกษา มศว จะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ในลักษณะของ Double blinded peer review ซึ่งบทความแต่ละเรื่องจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนอย่างน้อย 2 ใน 3 ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว ผู้เขียนจะต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และจะต้องผ่านการตรวจสอบการแก้ไขจากกองบรรณาธิการจึงจะผ่านการพิจารณาตีพิมพ์ </p> <p> วารสารบริหารการศึกษา มศว ได้รับการรับรองคุณภาพวารสารจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 2</p> <p><strong>การติดต่อวารสาร</strong></p> <p> คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2649-5000 ต่อ 11125 Email Address: <a href="mailto:mbasbj@gmail.com">taweesil@g.swu.ac.th</a></p> en-US วารสารบริหารการศึกษา มศว SWU Educational Administration Journal 1685-2257 ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของนิสิตสาขาบริหาการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16699 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาระดับสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังในการพัฒนาภาวะผู้นำของนิสิตสาขาบริหารบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์&nbsp; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตสาขาการบริหารการศึกษา ปีการศึกษา 2567 จำนวน 33 คน โดยการเลือกอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>) ผลการวิจัยพบว่า ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>) สูงมากที่สุด ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) ภาวะผู้นำด้านดิจิทัล 3)ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม 4)ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และ 5)จริยธรรมภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ส่วนค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>) น้อยมากที่สุด ได้แก่ภาวะผู้นำทางวิชาการ อันเป็นภาวะผู้นำที่ผู้บริหารต้องใช้ทักษะในการบริหารงานจริงสำหรับการทำงาน ดังนั้นสาขาการบริหารการศึกษาควรจัดการศึกษาตามความต้องการจำเป็นตามประเด็นเหล่านี้</p> ศิริพร เครือทอง อรอุษา ปุณยบุรณะ พัชราภา ตันติชูเวช ทัศตริน วรรณเกตุศิริ , ฐิติกมลศิริ ลาโพธิ์ วรรณี เนียมหอม สุมิตร สุวรรณ Copyright (c) 2025 2025-03-07 2025-03-07 21 41 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16700 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 2) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และ 4) เป็นแนวทางในการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 108 คน ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan และเจาะจงกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารจำนวน 4 คน ในการสัมภาษณ์จากจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาภาคใต้ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 จังหวัด ดังต่อไปนี้ 1) จังหวัดนราธิวาส 2) จังหวัดปัตตานี 3) จังหวัดยะลา และ 4) จังหวัดสตูล เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดและมาก 2) ผลการศึกษาการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร (X<sub>3</sub>) วัฒนธรรมและบรรยากาศในองค์กร (X<sub>4</sub>) เทคโนโลยีสารสนเทศ (X<sub>6</sub>) และ งบประมาณ (X<sub>7</sub>) 4) แนวทางในการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามี 7 ด้าน ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร: ผู้บริหารต้องมีความรู้ใน School Concept มีการมองการณ์ไกลและความเข้าใจในความต้องการของสถานศึกษา และจำเป็นต้องเป็นผู้นำที่ชัดเจนและมีความรับผิดชอบในการพัฒนาและส่งเสริมประสิทธิภาพของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งควรสนับสนุนครูให้เข้ารับการอบรมและการเรียนรู้ 2) โครงสร้างองค์กร: ควรมีการวางโครงสร้างที่ชัดเจนและเหมาะสมและควรมีการวางคนให้เหมาะสมกับงานและเหมาะสมกับความสามารถ 3) การพัฒนาบุคลากร: ควรพัฒนาครูให้มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ มีความรู้และเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ของสถานศึกษา ควรมีความรู้ในระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหารจะต้องเน้นการอบรม การวิจัย และการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของบุคลากรให้เหมาะสมกับความต้องการของสถานการณ์ของแต่ละสถานศึกษา 4) วัฒนธรรมและบรรยากาศในองค์กร: ควรส่งเสริมการสร้างความเป็นกัลยาณมิตรภายในองค์กร ควรสร้าง ส่งเสริม และสนับสนุนวัฒนธรรมและบรรยากาศที่ดีในสถานศึกษาของตนเอง และผู้บริหารต้องมองงานให้ออก อ่านคนให้ได้ และต้องรู้ว่าส่วนไหนมีวัฒนธรรมมีบรรยากาศในการทำงานแบบใด 5) การบริหารจัดการและกระบวนการบริหาร: ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับภารกิจต่าง ๆ ทั้งการวางแผนการทำงานและการนิเทศที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้ และต้องมีการบริหารจัดการและกระบวนการบริหารที่ดีและมีมาตรการในการจัดการทางการเงิน 6) เทคโนโลยีสารสนเทศ: ควรส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้นในการบริหารงานทุกฝ่าย ควรสร้างความเข้าใจในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีให้กับบุคลากรของสถานศึกษา และ 7) งบประมาณ: ควรให้ความสำคัญในการจัดสรรและบริหารงบประมาณให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามความสำคัญและความจำเป็นของงานต่าง ๆ และโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งผู้บริหารควรมีการนำงบประมาณมาใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด</p> ชนากานต์ กาญจโน รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ สุนทรี วรรณไพเราะ Copyright (c) 2025 2025-03-07 2025-03-07 21 41 การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16701 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล และ2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล ประชากร ได้แก่ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่การทำงานในสถานศึกษานำร่อง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งหมด 405 คน สำหรับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปฏิบัติหน้าที่การทำงานในสถานศึกษานำร่อง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล โดยเทียบจากตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan (1970) และเทียบสัดส่วนของจำนวนผู้บริหารสถานศึกษาต่อจำนวนครูจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 201 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 16 คน ครู จำนวน 185 คน&nbsp;&nbsp; ซึ่งทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.992 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล กับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล พบว่ามีองค์ประกอบ (ตัวแปรแฝง) 6 องค์ประกอบ และ ตัวแปรสังเกตได้ 23 ตัวบ่งชี้ ซึ่งเรียงลำดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ คือ การพัฒนานวัตกร ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม การบริหารงานวิชาการ นวัตกรรมเชิงระบบ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และการบริหารแผนนวัตกรรม 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่อง ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับสอดคล้องกลมกลืนดี ซึ่งมีค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 136.091 ที่ P-Value = 0.710 ค่าไค-สแควส์สัมพัทธ์ &nbsp;เท่ากับ 0.932 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.000 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.948 ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.902 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (RMR) เท่ากับ 0.011 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อน (RMSEA) เท่ากับ 0.000</p> ศิริพงศ์ นุ่นคง รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ ศิลป์ชัย สุวรรณมณี Copyright (c) 2025 2025-03-07 2025-03-07 21 41 แนวทางพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16702 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) แนวทางพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และ</p> <p>ความต้องการจำเป็นทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 32 คน และครู จำนวน 278 คน รวมทั้งสิ้น 310 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนกำหนดตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.66 – 1.00&nbsp; ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.74 และระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน&nbsp; โดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพพึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น เรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ 1) ทักษะวิสัยทัศน์ 2) ทักษะการสื่อสาร 3) ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ 4) ทักษะความคิดสร้างสรรค์ และ 5) ทักษะด้านเทคโนโลยี 2.แนวทางพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 มี 5 ด้าน โดยด้านที่ 1 ได้แก่ด้านทักษะวิสัยทัศน์&nbsp; มี 6 แนวทาง ด้านทักษะการสื่อสาร มี 3 แนวทาง ด้านทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ มี 3 แนวทาง ด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ มี 7 แนวทาง และด้านทักษะด้านเทคโนโลยี มี 5 แนวทาง</p> ปิยวิทย์ ศรีพุทธา วานิช ประเสริฐพร Copyright (c) 2025 2025-03-07 2025-03-07 21 41 การบริหารการบริการแนะแนวของโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16703 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารการบริการแนะแนว ของโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาจากการคำนวณโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นของการบริหารการบริการแนะแนวของโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ในงานการบริการงานแนะแนวทั้ง 5 บริการมีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ ได้แก่ บริการให้การปรึกษา บริการจัดวางตัวบุคคล บริการสำรวจ บริการสนเทศ และบริการ ติดตามผล 2. แนวทางการบริหารการบริการแนะแนวของโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 แยกเป็นรายด้าน ดังนี้ 1. บริการสำรวจเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service) โรงเรียนควรจัดทำโครงสร้างหน้าที่ชัดเจนโดยมีครูประจำชั้นเป็นผู้สำรวจข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล และควรมีการส่งต่อข้อมูลให้กับครูในระดับชั้นต่อไป มีการจัดเวลาสำหรับการแลกเปลี่ยนแนวคิดและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการสำรวจข้อมูล รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ</p> <p>สำรวจข้อมูล 2.บริการสนเทศ (Information Service) โรงเรียนควรมีการประชุมเพื่อวางแผน กำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ด้านการบริการสนเทศ รวมถึงการออกแบบกิจกรรมแนะแนว กำหนดปฏิทินการติดตามและประเมินผล และควรมีการสะท้อนผลร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนารูปแบบและวิธีการให้เป็นระบบ 3.บริการให้การปรึกษา (Counseling Service) โรงเรียนควรมีการวางแผนกระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับคำปรึกษา โดยมุ่งเน้นส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ของนักเรียน มีการกำหนดแบบบันทึกการให้คำปรึกษาเป็นขั้นตอน เพื่อรวบรวมข้อมูลการให้คำปรึกษาอย่างเป็นระบบ ครูผู้เกี่ยวข้องควรมีการประเมินและติดตามผลเพื่อพัฒนารูปแบบและวิธีการให้คำปรึกษาให้ดียิ่งขึ้น 4.บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service) โรงเรียนควรจัดการประชุมเพื่อวางแผน กำหนดนโยบาย และวัตถุประสงค์ด้านการบริการจัดวางตัวบุคคล กำหนดรูปแบบและจัดระดับความจำเป็นเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือ มีการเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญมาสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เหมาะสม รวมถึงครูผู้เกี่ยวข้องควรมีการสะท้อนผลและถ่ายทอดองค์ความรู้ร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาบุคลากร<br>5. บริการติดตามผล (Follow-up Service) โรงเรียนควรจัดการประชุมเพื่อวางแผน กำหนดนโยบาย และวัตถุประสงค์ด้านการบริการติดตามผล มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อติดตามผล ในการประเมินผลและวิเคราะห์ผล มีการกำหนดตารางการประชุม PLC ที่สม่ำเสมอ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวทางที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน</p> พิรญาณ์ ธนคุณากาญจน์ หยกแก้ว กมลวรเดช วจี ปัญญาใจ Copyright (c) 2025 2025-03-07 2025-03-07 21 41 ผู้บริหารสถานศึกษา ยุค Disruptive Technology https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16704 <p>Disruptive Technology หรือ เทคโนโลยีพลิกโฉม หมายถึง เทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานและระบบเดิม ๆ อย่างฉับพลัน ทำให้วิธีการทำงานที่เคยใช้อยู่กลายเป็นล้าสมัย หรือถูกแทนที่โดยวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยมากขึ้น เทคโนโลยีนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเพียงแค่กระบวนการทำงานเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการดำเนินชีวิต สังคม และเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการมาของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ธุรกิจและการสื่อสารต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว หรือการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรม ทั้งในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การให้บริการลูกค้า และการผลิต ซึ่งทำให้การทำงานแบบเดิมต้องถูกเปลี่ยนแปลงไป</p> <p>ความสำคัญของ Disruptive Technology ไม่เพียงแค่อยู่ที่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ แต่ยังครอบคลุมถึงการสร้างโอกาสทางธุรกิจและการพัฒนาสังคมในภาพรวม อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ยังนำมาซึ่งความท้าทาย เพราะองค์กรหรือบุคคลที่ไม่สามารถปรับตัวตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ อาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะล้าหลังหรือสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไป ในส่วนของการบริหารจัดการทรัพยากร ผู้บริหารต้องมีบทบาทสำคัญในการจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยการรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ข้อมูลที่มีค่าในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บุคลากรทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งผู้บริหารต้องจัดหาการฝึกอบรมและส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาทักษะที่ทันสมัยและจำเป็นต่อการทำงานในยุคเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว</p> <p>ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริหารยังต้องมีความสามารถในการวางแผนและสร้างความยั่งยืนให้กับสถานศึกษาในระยะยาว โดยการปรับใช้เทคโนโลยีในกระบวนการจัดการต่าง ๆ เช่น การจัดการข้อมูลแบบดิจิทัลเพื่อลดการใช้ทรัพยากรและเพิ่มความโปร่งใสในการบริหารงาน การสร้างความยั่งยืนนี้ไม่เพียงแค่ช่วยให้สถานศึกษาสามารถเติบโตในยุคของเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังช่วยให้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในการพัฒนาความรู้และทักษะของนักเรียนให้พร้อมเผชิญกับโลกในอนาคต ผู้บริหารที่สามารถปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นผู้นำที่สามารถนำพาสถานศึกษาไปสู่ความสำเร็จในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างยั่งยืน</p> อัชฎาวุฒิ เขียนนา มัทนา วังถนอมศักดิ์ Copyright (c) 2025 2025-03-07 2025-03-07 21 41 ปัจจัยที่มีผลต่อการแยกอำนาจหน้าที่ควบคุมวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาออกจากอำนาจหน้าที่ควบคุมของคณะกรรมการคุรุสภา https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16705 <p>การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแยกอำนาจหน้าที่ควบคุมวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาออกจากอำนาจหน้าที่ควบคุมของคณะกรรมการคุรุสภาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะงานที่ทำ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาปฏิบัติงานที่มีลักษณะเหมือนกันคือ ด้านการบริหารวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกลุ่มหรือชุมชนเดียวกัน แตกต่างจากผู้ประกอบวิชาชีพครูที่มีลักษณะงานที่ทำเป็นงานการเรียนการสอนเป็นหลัก ด้านจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพ พบว่า ณ วันที่ 20 กันยายน 2567 ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษามีจำนวน 85,466 คน ผู้บริหารการศึกษามีจำนวน 7,917 คน รวมจำนวน 93,383 คน และจะมีเพิ่มขึ้นมาก ถือได้ว่าผู้ประกอบวิชาชีพทั้งสองมีจำนวนมากเพียงพอที่จะแยกออกจากอำนาจหน้าที่การควบคุมการประกอบวิชาชีพของคณะกรรมการคุรุสภาไปรวมกันจัดตั้งองค์กรวิชาชีพควบคุมดูแลกันเอง และด้านการควบคุมวิชาชีพเดียวกัน พบว่า ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาในปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมวิชาชีพของคณะกรรมการคุรุสภาซึ่งมีวิชาชีพผู้ประกอบวิชาชีพครูและผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์รวมอยู่ด้วย และแตกต่างจากผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่มีผลต่อการแยกอำนาจหน้าที่การควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาออกจากอำนาจหน้าที่ควบคุมของคณะกรรมการคุรุสภาไปจัดตั้งองค์กรวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา เรียกว่า สภาผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา โดยมีกฎหมายว่าด้วยสภาผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาซึ่งตราโดยรัฐ</p> วิชาญ สาคุณ Copyright (c) 2025 2025-03-07 2025-03-07 21 41 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16706 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี และ 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> อมรรัตน์ ปิ่นป้อง คึกฤทธิ์ ศิลาลาย Copyright (c) 2025 2025-03-07 2025-03-07 21 41 บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของครู กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 6 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16709 <p>การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของครูกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 6 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของครู จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารและครูจำนวน 343 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.994 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของครู เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ไม่แตกต่างกัน</p> กนกวรรณ แก้วมณีวงษ์ ภูวดล จุลสุคนธ์ ธันย์นันท์ า ทองบุญต Copyright (c) 2025 2025-03-07 2025-03-07 21 41 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16710 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 &nbsp;2) เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ปีการศึกษา 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> อรอนงค์ พันธ์ผูก คึกฤทธิ์ ศิลาลาย Copyright (c) 2025 2025-03-07 2025-03-07 21 41