https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/issue/feed
วารสารบริหารการศึกษา มศว SWU Educational Administration Journal
2024-12-18T04:31:20+00:00
Taweesil Koolnaphadol
taweesil@g.swu.ac.th
Open Journal Systems
<p> วารสารการบริหารการศึกษา มศว เป็นวารสารประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>วัตถุประสงค์ของวารสาร</p> <ol> <li>เป็นแหล่งเผยแพร่การค้นคว้า การทดลอง และการวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ในเชิงวิชาการด้านการบริหารการศึกษาและสาขาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง</li> <li>เป็นสื่อกลางในการติดต่อทางวิชาการระหว่างภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา ศิษย์เก่า และผู้สนใจทั่วไป</li> <li>ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการด้านการบริหารการศึกษาและสาขาการศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบของการเขียนบทความวิชาการ และบทความวิจัย <p><strong>ประเภทของบทความ</strong><br />1. บทความวิจัย <br />2. บทความวิชาการ<br />วารสารเปิดรับบทความภาษาไทย จากผู้นิพนธ์ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน กำหนดการออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม</p> </li> </ol> <p><strong> คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความจากผู้ส่งบทความ จำนวน 3,500 บาท / บทความ </strong></p> <p><strong> การพิจารณาบทความ จะผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน / บทความ </strong></p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong></p> <p> ผู้ส่งบทความดำเนินการสมัครลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ Swu-Ejournal เพื่อให้ได้รับ Username และ Password ในการเข้าสู่ระบบวารสาร แล้วดำเนินการส่งไฟล์บทความเข้าสู่ระบบโดยใช้ไฟล์ประเภทเอกสาร(Doc,Docx) แล้วรอการติดต่อจากบรรณาธิการทางอีเมล์เพื่อดำเนินการต่อไป</p> <p> บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารการศึกษา มศว จะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ในลักษณะของ Double blinded peer review ซึ่งบทความแต่ละเรื่องจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนอย่างน้อย 2 ใน 3 ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว ผู้เขียนจะต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และจะต้องผ่านการตรวจสอบการแก้ไขจากกองบรรณาธิการจึงจะผ่านการพิจารณาตีพิมพ์ </p> <p> วารสารบริหารการศึกษา มศว ได้รับการรับรองคุณภาพวารสารจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 2</p> <p><strong>การติดต่อวารสาร</strong></p> <p> คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2649-5000 ต่อ 11125 Email Address: <a href="mailto:mbasbj@gmail.com">taweesil@g.swu.ac.th</a></p>
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16335
อิทธิพลของภาวะผู้นำส่งเสริมสุขภาพ การคิดเชิงบวก ความไว้วางใจ และการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
2024-08-08T08:38:38+00:00
เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร
saowaphark.lam@krirk.ac.th
จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
jirawat.kit@krirk.ac.th
สมชาย เทพแสง
drsomchaithepseang@gmail.com
<p>งานวิจัยเรื่องอิทธิพลของภาวะผู้นำส่งเสริมสุขภาพ การคิดเชิงบวก ความไว้วางใจ และการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ ศึกษาภาวะผู้นำส่งเสริมสุขภาพ การคิดเชิงบวก ความไว้วางใจ และการบริหารการเปลี่ยนแปลง และคุณภาพโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน และศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำส่งเสริมสุขภาพ การคิดเชิงบวก ความไว้วางใจ และการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อคุณภาพโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูจำนวน 351 คน ได้มาจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน และนำไปสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของ ลิเคิร์ต มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.60 -1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามของภาวะผู้นำส่งเสริมสุขภาพมีค่าเท่ากับ .93 การคิดเชิงบวก มีค่าเท่ากับ .91 ความไว้วางใจมีค่าเท่ากับ .88 การบริหารการเปลี่ยนแปลงมีค่าเท่ากับ .93 และคุณภาพโรงเรียนมีค่าเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ระดับของภาวะผู้นำส่งเสริมสุขภาพ การคิดเชิงบวก ความไว้วางใจ การบริหารการเปลี่ยนแปลงและคุณภาพโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อเรียง<br>ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่าการคิดเชิงบวกมีค่าเฉลี่ยระดับมากเป็นลำดับแรก รองลงมา ได้แก่ ความไว้วางใจ คุณภาพโรงเรียน การบริหารการเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นำส่งเสริมสุขภาพ ตามลำดับ และ 2) ตัวแปรที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยเรียงลำดับจากการมีอิทธิพลโดยรวมจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ การบริหารการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำส่งเสริมสุขภาพ การคิดเชิงบวก และความไว้วางใจ โดยที่การบริหารการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำส่งเสริมสุขภาพ และความไว้วางใจ ส่งผลทางตรงต่อคุณภาพโรงเรียน สำหรับการคิดเชิงบวก ภาวะผู้นำส่งเสริมสุขภาพ และความไว้วางใจ ส่งผลทางอ้อมต่อคุณภาพโรงเรียน</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16338
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม
2024-08-08T08:54:50+00:00
ต้องตา พงษ์อัคคศิรา
Tongta444@gmail.com
ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล
Chanoknart.boo@stou.ac.th
ลิขสิทธิ์ พุฒเขียว
Likhasit.put@stou.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม 2) เปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม </p> <p> การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม กิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน แล้วนำมาหาประสิทธิภาพกับผู้สูงอายุที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุจำนวน 10 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมใช้เวลาระหว่าง 60-120 นาที และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 เปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ โดยศึกษากับกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ และแบบวัดระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ดังนี้ คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ มีองค์ประกอบ 8 ด้าน ดังนี้ หัวข้อเรื่อง เนื้อหาสาระ จุดประสงค์ อุปกรณ์ ขั้นตอนการเรียนรู้ การดำเนินการ ลักษณะการจัดฐานการเรียนรู้ และการประเมินผล ซึ่งประกอบด้วยประเด็นหลัก ๆ ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณค่าในตนเองด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านเศรฐกิจ ด้านความรู้และประสบการณ์ใหม่ของผู้สูงอายุ และ 2) เปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุพบว่า หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ มีการเห็นคุณค่าในตนเอง สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16340
รูปแบบการพัฒนาพัฒนาการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
2024-08-08T09:34:04+00:00
สุปรีดา โกษาแสง
donsak@g.swu.ac.th
เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร
saowaphark.lam@krirk.ac.th
จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสสค์
jirawat.kit@krirk.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัยใช้แบบผสมผสาน ซึ่งใช้ทั้งวิธีการทำวิจัยเชิงปริมาณ และใช้วิธีการทำวิจัยเชิงคุณภาพ จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 9 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 615 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากโรงเรียน 205 โรงใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็นของการพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักเรียน<br> ผลการวิจัยพบว่า 1.การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานค<strong>ร </strong>พบว่ามี 6 องค์ประกอบซึ่งโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วม ( =4.68, S.D.= 0.52) ด้านการมีภาวะผู้นำ ( =4.59, S.D.= 0.56) ด้านการพัฒนาบุคลากร ( =4.55, S.D.= 0.57) ด้านการบริหารจัดการ ( =4.53, S.D.= 0.64) ด้านการใช้หลัก<br>ธรรมาภิบาล ( = 4.44, S.D.= 0.53) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( =4.40, S.D.= 0.62) 2. การสร้างรูปแบบการพัฒนาบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เริ่มโดยการใช้องค์ประกอบทั้งหกมาร่างรูปแบบ แล้วใช้ฉันทามติการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 9 คนที่พิจารณารูปแบบที่ร่างเพื่อตรวจสอบความเหมาะสม ประเด็นต่างๆ ปรับปรุงแก้ไข จนได้รูปแบบรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่มีทั้ง 6 องค์ประกอบ 3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขและไปทำการตรวจสอบ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และความคุ้มค่า พบว่า มีผลการประเมินทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16351
การบริหารโรงเรียนแห่งความสุขตามการรับรู้ของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
2024-08-08T11:47:19+00:00
ณัฐฐิกา รูปอ้วน
donsak@g.swu.ac.th
รัตนา กาญจนพันธุ์
arjarnratana@gmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของครูที่มีต่อการบริหารโรงเรียนแห่งความสุข และ (2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของครูที่มีต่อการบริหารโรงเรียนแห่งความสุขสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำแนกตาม วุฒิการศึกษา วิทยฐานะ และประสบการณ์การสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และ วิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) การกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของ Cohen ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Multiple Comparison Method)<br> ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้ของครูเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแห่งความสุข ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ (2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแห่งความสุข โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ (3) ครูที่มีวิทยฐานะต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแห่งความสุข โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ (4) ครูที่มีประสบการณ์ในการสอนต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแห่งความสุข โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16342
ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และทักษะความฉลาดในการแก้ไขปัญหา เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ รายวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2024-08-08T10:01:16+00:00
พณสรรค์ งามศิริจิตร
panasun.ngam@gmail.com
พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์
phiphatanun@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวคิดทักษะความฉลาดในการแก้ไขปัญหาในเรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติก่อนและหลัง รายวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อพัฒนาทักษะความฉลาดในการแก้ไขปัญหา เรื่องตรีโกณมิติรายวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประชากรนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วชิราวุธวิทยาลัย จำนวน 94 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง แจกแบบสอบถามทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ชุด และแบบปฏิบัติ 1 ชุด ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านสัมพันธภาพระหว่างคุณครูและนักเรียน มาเป็นลำดับแรก รองลงมาได้แก่ ด้านสัมพันธภาพของนักเรียนต่อบรรยากาศในชั้นเรียน ด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน ด้านแรงจูงใจในการใฝ่สัมฤทธิ์ และด้านการรับรู้ความสามารถตามลำดับ ผลสถานการณ์ด้านอุปสรรคด้านการเรียน ทักษะความฉลาดในการแก้ไขปัญหา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หลังเรียนอยากมีนัยสำคัญ พบว่า ด้านสัมพันธภาพระหว่างคุณครูและนักเรียน มาเป็นลำดับ รองลงมาได้แก่ ด้านสัมพันธภาพของนักเรียนต่อบรรยากาศในชั้นเรียน ด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน ด้านแรงจูงใจในการใฝ่สัมฤทธิ์ และด้านการรับรู้ความสามารถ ตามลำดับ</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16343
ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการตามการรับรู้ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
2024-08-08T10:21:11+00:00
ปิยธิดา ลออเอี่ยม
karn.swu@gmail.com
รัตนา กาญจนพันธุ์
arjarnratana@gmail.com
<p> การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหาร เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 322 คน จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของ Cohen, Manion and Morrison ที่ค่าความเชื่อมั่น 95% และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน<br> ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ของครูเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การรับรู้ของครูเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) สมรรถนะของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16346
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
2024-08-08T11:00:06+00:00
ธีระพงษ์ สะเอียบคง
kru.top2562@gmail.com
เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร
saowaphark.lam@krirk.ac.th
สนั่น ประจงจิตร
sanan.pra@krirk.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 2) ศึกษาระดับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 และ 3) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย สุ่มจากข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา จำนวน 12 โรงเรียน จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามค่าสหสัมพันธ์สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสหสัมพันธ์ <strong>ผลวิจัยพบว่า </strong></p> <p> 1. ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การทำงานเป็นทีม รองลงมาคือ การมีวิสัยทัศน์ ส่วนการมีความคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด</p> <p> 2. ระดับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยภาพรวมทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และ การคัดกรองนักเรียน ส่วนการป้องกันและแก้ไขปัญหา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด</p> <p> 3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16352
การบริหารสถานศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนสองศาสนาสังกัดกรุงเทพมหานคร
2024-08-08T12:21:57+00:00
วิไลลักษณ์ เส้นเกษ
wilailaksenket2020@gmail.com
ปทุมพร เปียถนอม
p.piatanom@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนสองศาสนาสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนสองศาสนา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษา อายุ และวิทยฐานะ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนในโรงเรียนสองศาสนาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออกปีการศึกษา 2566 จำนวน 290 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Cohen และสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Multiple Comparison Method) ผลการวิจัยพบว่า <br> 1. การบริหารสถานศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนสองศาสนาสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก <br> 2. การบริหารสถานศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนสองศาสนาสังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการรับรู้ต่อการบริหารสถานศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนสองศาสนา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ครูที่มีอายุต่างกันมีการรับรู้ต่อการบริหารสถานศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนสองศาสนาสังกัดกรุงเทพ มหานคร โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน และครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีทัศนะต่อต่อการบริหารสถานศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนสองศาสนาสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16353
การวิเคราะห์องค์ประกอบการเป็นองค์กรอัจฉริยะของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
2024-08-09T09:16:21+00:00
อักษราภัค สิทธิพรรัตนมณี
auksarapuk.sit@gmail.com
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
jantaphu@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีความุม่งหมายเพื่อ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การเป็นองค์กรอัจฉริยะของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 (2) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดองค์ประกอบการเป็นองค์กรอัจฉริยะของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ประชากร ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษในระดับดีเด่นและยอดเยี่ยมที่ได้รับรางวัลการประกันคุณภาพภายใน จำนวน 8 โรงเรียน จำนวนครูทั้งสิ้น 958 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ ในระดับดีเด่นและยอดเยี่ยมที่ได้รับรางวัลการประกันคุณภาพภายใน จำนวน 300 คน กำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวคิดของแฮร์และคณะ เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Confirmatory Factor Analysis (CFA</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า1.องค์ประกอบการเป็นองค์กรอัจฉริยะของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ 2) การมีส่วนร่วม 3) การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว 4) แรงจูงใจในการทำงาน 5) โครงสร้างองค์กร 6) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 7) การเสริมสร้างประสิทธิภาพ และตัวบ่งชี้จำนวน 49 ตัวบ่งชี้ 2. โมเดลการวัดองค์ประกอบการเป็นองค์กรอัจฉริยะของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า = 946.76, df = 959, P-value=0.60469, RMSEA=0.000 </p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16354
การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2024-08-09T09:21:45+00:00
วิณัฐธพัชร์ โพธิ์เพชร
vinutthaput@gmail.com
<p> การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 6 เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 405 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน ( Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คุณภาพเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น 0.9070 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการจำเป็น (Need Assessment) ด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (Mean) ระหว่างสภาพปัจจุบัน (Degree of success-D) และความต้องการในการพัฒนา (Importance-I) ด้วย Modified Priority Needs Index ( PNI <sub>Modified</sub>) การวิเคราะห์เนื้อหาผลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ในระดับสูง ทั้ง 6 ด้าน เรียงลำดับความต้องการเป็นจากมากไปหาน้อย โดยด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านทักษะการประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลสำเร็จรูปในการจัดการเรียนรู้ ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน ด้านทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย ด้านทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social media) และด้านทักษะการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และปัญญาประดิษฐ์(AI) ตามลำดับ 2) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนา จำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษา โดยเปรียบเทียบจากค่าดัชนีความต้องการจำเป็นพบว่า ทุกเขตพื้นที่การศึกษามีความต้องการในระดับสูงทุกเขต โดยครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด 3) แนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูที่เหมาะสมคือ สถานศึกษาจัดพัฒนาเป็นการเฉพาะ โดยกระบวนการพัฒนา ได้แก่ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมให้ครูทดลองใช้เครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ ในห้องเรียน ประสบการณ์จริงในการปรับใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยแก้ปัญหาการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ สร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศดิจิทัลภายในสถานศึกษา</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16355
ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี
2024-08-09T09:29:16+00:00
เปรมธิดาภา สารพล
pramthidapha.sara@northbkk.ac.th
อมรรัตน์ วรรณะ
donsak@g.swu.ac.th
อัจศรา ประเสริฐสิน
ubib_p@hotmail.com
<p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในของสถานศึกษากับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนใน สถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จำนวน 248 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนตามตำแหน่งงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า การนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี อยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี อยู่ในระดับมาก และการนิเทศภายในของสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี ในภาพรวมในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16356
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานบุคคล ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ
2024-08-09T09:35:16+00:00
ชริญญา สิทธิมงคล
donsak@g.swu.ac.th
อัจศรา ประเสริฐสิน
ubib_p@hotmail.com
<p> การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ 2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 330 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามแบบมาตราวัดประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ อยู่ในระดับมาก 2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ อยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16358
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1
2024-08-09T09:40:11+00:00
พงศกร คำภัยวงศ์พิทักษ์
donsak@g.swu.ac.th
อมรรัตน์ วรรณะ
donsak@g.swu.ac.th
อัจศรา ประเสริฐสิน
ubib_p@hotmail.com
<p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัย จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนใน สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 จำนวน 302 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบตัวแปรโดยใช้สถิติ t-test และ F-test ผลการวิจัย พบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน รองลงมา คือ ด้านการให้ความสำคัญกับการวิจัยในชั้นเรียน ด้านการยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านการส่งเสริมความสำเร็จงานวิจัยในชั้นเรียน และด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน ส่วนการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนจำแนกตามตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงานมีความเห็นไม่แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกตามขนาดสถานศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16359
ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหาร กับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1
2024-08-09T09:45:54+00:00
พิมพ์ลดา ฤทธิทิศ
donsak@g.swu.ac.th
อัจศรา ประเสริฐสิน
ubib_p@hotmail.com
<p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1 )เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2 )เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ3 )เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 จำนวน 276 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1 อยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1 อยู่ในระดับมาก และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 มีความสัมพันธ์ในระดับสูงและเป็นไปในเชิงบวก ( r = 0.740 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01)</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16360
การศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใส ตามกรอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ระดับ AA สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
2024-08-09T09:54:18+00:00
ณัฐภัทร จินาสุย
nattapat.jinasuy@g.swu.ac.th
ทวีศิลป์ กุลนภาดล
taweesil@swu.ac.th
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการดำเนินการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนที่ได้รับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ระดับ AA เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า <br>1) ผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกและเป็นแบบอย่างในการพัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใส 2) การร่วมกันวางแผนและกำหนดนโยบายตามกรอบการประเมินรายตัวชี้วัด 3) การเตรียมความพร้อมในการบริหารเพื่อรองรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส 4) การเสริมสร้างการรับรู้โดยการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารและการสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) การสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานเป็นทีมโดยเสริมสร้างทัศนคติที่ไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ และ 6) การปฏิบัติตนเป็นผู้มีความประพฤติทางจริยธรรมที่ดี</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16361
ภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารสถานศึกษา
2024-08-09T10:01:34+00:00
มัทนา วังถนอมศักดิ์
nong_sunshine@yahoo.com
ณัฐริน เจริญเกียรติบวร
nuttarin_bee@hotmail.com
<p> จากความเปลี่ยนแปลงทั้งกระแสสังคมและวงการการศึกษา ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาต้องปรับตัวและขับเคลื่อนสถานศึกษาให้สามารถจัดการศึกษามีคุณภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา รวมถึงสามารถสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี ได้รับการยอมรับและความร่วมมือจากบุคลากร และสามารถสร้างความเชื่อมั่นความศรัทธาให้เกิดแก่ชุมชนได้ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำให้บุคลากรได้ตระหนักรู้ว่าตนเองมีความสำคัญ มีคุณค่า และได้รับความเอาใจใส่ดูแล โดยผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างในการมองเชิงบวก เห็นโอกาสมากกว่าปัญหา เห็นจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน ชมเชยมากกว่าตำหนิ ทำให้บุคลากรมีความสบายใจโดยการสร้างความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจในการทำงานให้แก่บุคลากร ภาวะผู้นำพลังบวกอาจเป็นคำตอบสำหรับผู้บริหารเพื่อการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งในบทความนี้มุ่งนำเสนอภาวะผู้นำพลังบวกที่จะมีผลต่อต้นทุนทางจิตวิทยาของบุคลากรและส่งผลให้การดำเนินงานของสถานศึกษาประสบผลสำเร็จได้</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16363
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลสถานศึกษา
2024-08-09T10:23:29+00:00
นฤเนตร เรืองไพศาล
Narunet.yam@gmail.com
ทวีศิลป์ กุลนภาดล
taweesil@swu.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ประสิทธิผลสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลสถานศึกษา 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 361 คน ซึ่งได้มาจากตารางกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan. 1970: 608) นำไปสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยกําหนดให้ขนาดสถานศึกษาเป็นชั้น จากนั้นนําไปสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .60 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ประสิทธิผลสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.90) แสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลสถานศึกษาในระดับสูง 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิผลสถานศึกษา ได้ร้อยละ 81.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16364
การศึกษาการบริหารการศึกษาวิถีอิสลาม ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญในกรุงเทพมหานคร : การวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา
2024-08-09T10:44:29+00:00
ศิริญญา คนซื่อ
sirinya.ks@gmail.com
ทวีศิลป์ กุลนภาดล
taweesil@swu.ac.th
<p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการบริหารการศึกษาวิถีอิสลามของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญในกรุงเทพมหานคร ทั้งด้านแนวคิด แนวการปฏิบัติ และความสำคัญของการบริหารการศึกษาวิถีอิสลามที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการบริหารการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญ ในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยออกแบบการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการศึกษาทบทวนและวิเคราะห์เอกสาร โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึกมีจำนวน 57 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน ครูจำนวน 18 คน เจ้าหน้าที่จำนวน 9 คน ผู้ปกครองจำนวน 12 คน และนักเรียนจำนวน 11 คน แบ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้ากัน จำนวน 36 คน และการสัมภาษณ์ออนไลน์ จำนวน 21 คน ผลการวิจัยพบว่า การบริหารการศึกษาวิถีอิสลามในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญในกรุงเทพมหานคร ด้านแนวคิดของการบริหาร มีการจัดการองค์กรที่นำหลักการของศาสนาอิสลามและวิถีชีวิตของมุสลิมมาเป็นฐานของการบริหาร โดยมุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนมุสลิมให้มีคุณธรรมอิสลามควบคู่กับความรู้สามัญเพื่อการดำรงชีวิตและโอกาสทางการศึกษาในระดับสูงขึ้นไป ด้านแนวการปฏิบัติของการบริหาร มีการสอดแทรกหลักการและคุณธรรมจริยธรรมอิสลามในทุกการดำเนินงาน มีการจัดการองค์กรผ่านโครงสร้างการบริหารงานตามบริบทของโรงเรียน มีการจัดวางบุคลากรตามความเหมาะสมของคนกับงาน มีการวางแผน การมอบหมายงาน การกำกับ ติดตาม และการรายงานที่ชัดเจน มีการบูรณาการอิสลามทางหลักสูตร การจัดการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการมุ่งเน้นงานตัรบียะฮ์เพื่อการขัดเกลาจิตวิญญาณและพฤติกรรมของนักเรียน บุคลากรมีการนำจริยธรรมอิสลามมาใช้เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติงาน มีการบริหารที่เน้นความร่วมมือกันทั้งภายในและภายนอกสถานรวมถึงสัมพันธ์กับชุมชน มีการพัฒนาและเผยแพร่นวัตกรรมหลักสูตรและการสอนอิสลามศึกษาสู่ชุมชนทั่วประเทศ มีระบบการจัดการหอพักเพื่อเสริมสร้างระเบียบวินัยและประสิทธิภาพในการเรียน ผู้ปกครองให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของบุตรหลาน และด้านความสำคัญของการบริหารการศึกษาวิถีอิสลาม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการบริหารการศึกษาเล็งเห็นว่าเป็นการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความศรัทธาและวิถีชีวิตของมุสลิมซึ่งสถาบันมีความหมายต่อการดำรงอยู่เพื่อการเตรียมพร้อมและส่งต่อเยาวชนสู่การเป็นบุคลากรมุสลิมที่มีคุณภาพ ผู้ซึ่งมีคุณธรรมควบคู่ความรู้ในการดำเนินชีวิตให้กับครอบครัว สังคมและประเทศชาติต่อไป โดยผู้บริหารสถานศึกษา ครูและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียนมีมุมมองว่าการได้ทำงานตามเจตนารมณ์แห่งการฟื้นฟูและพัฒนาการศึกษาให้กับเยาวชนมุสลิมนับเป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่และเป็นความภาคภูมิใจของชีวิต ซึ่งเป็นแรงจูงใจสำคัญของดำรงจิตวิญญาณให้ยังคงอยู่กับสิ่งที่ทำด้วยความรัก ความมุ่งมั่น ความผูกพันและศานติสุขในหัวใจ</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16366
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2
2024-08-09T11:11:35+00:00
สิรภัทร บุณยศิวาพงศ์
sirapatb65@nu.ac.th
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์
skonchaic@nu.ac.th
<p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 โดยมี การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 291 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 25 คน และครู จำนวน 266 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า<br> 1.ผลการศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเคารพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความยุติธรรม<br> 2. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องของจริยธรรม และความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ให้ครบทั้ง 6 ด้าน มีการบริหารงานอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ตระหนักถึงความสำคัญของ การรักษาสัญญาและการตัดสินใจอย่างเป็นกลาง กระจายงานและกำหนดขอบข่ายงานอย่างชัดเจน ปฏิบัติตนและปฏิบัติงานให้เป็นแบบอย่างที่ดี รวมไปถึงการให้การยอมรับผู้อื่น</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16367
การศึกษาคุณลักษณะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
2024-08-09T11:17:00+00:00
ศิริรัตน์ มูลติด
siriratm65@nu.ac.th
จิติมา วรรณศรี
donsak@g.swu.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 51 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่าโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16368
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
2024-08-09T11:22:42+00:00
ยุทธนา อาสน์สุวรรณ
yuttanaashsuwan@gmail.com
วานิช ประเสริฐพร
donsak@g.swu.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารสถานศึกษา 2) สร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 จำนวนทั้งสิ้น 316 คน และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ Stratified Random Sampling เครื่องมือที่ใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 แสดงว่าแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นสูง ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index : PNI) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ประเมินแนวทางภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 โดยประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> 1. สภาพปัจจุบันของของภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการใช้หลักการสนทนาเชิงบวก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการใช้หลักการสนทนาเชิงบวก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด การจัดลำดับความต้องการจำเป็นเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) การสนทนาเชิงบวก 2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ 3) การให้คุณค่ากับผลงาน 4ป การใช้หลักการสนทนาเชิงบวก 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำพลังบวกสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาผลการวิจัยพบว่า มีแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำพลังบวกสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาทั้งหมด 4 ด้าน 20 แนวทาง 3. ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำพลังบวกของผู้บริหาร พบว่า ด้านการคิดเชิงบวก มีโอกาสมากที่สุดจำนวน 5 แนวทาง ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มีโอกาสมากที่สุดจำนวน 5 แนวทาง ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นด้านการให้คุณค่ากับผลงาน มีโอกาสมากที่สุดจำนวน 5 แนวทาง ด้านการใช้หลักการสนทนาเชิงบวก มีโอกาสมากที่สุดจำนวน 5 แนวทาง</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16369
แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม
2024-08-09T11:28:20+00:00
สาวิตรี เงาแสง
sawittree@mvc.ac.th
วานิช ประเสริฐพร
donsak@g.swu.ac.th
<p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึ่งประสงค์ และความต้องการจำเป็นการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ 2)เพื่อสร้างแนวทางพัฒนาบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ 3)เพื่อประเมินแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม วิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคามกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 28 คน ครูผู้สอน จำนวน 217 คน รวม 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการหาจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การสร้างแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคามจากการสังเคราะห์ผลค่าดัชนีความต้องการจำเป็น Modified Priority Needs Index : (PNI Modified) และถอดบทการสัมภาษณ์ โดยรูปแบบการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการบรรยายเชิงพรรณา ระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคามโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และค่าพิสัยคลอไทล์</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p> สภาพปัจจุบันของแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยรวมพบว่าอยู่ในระดับ มากที่สุด ความต้องการจำเป็นแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 และค่าค่าดัชนีความต้องการจำเป็น เท่ากับ 0.27 และได้แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมหาสารคาม 7 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 2)ด้านการนำองค์กร 3) ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน 4)ด้านกระบวนการดำเนินการ 5) ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 6)ด้านการวัดผลการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 7)ด้านผลลัพธ์การดำเนินการ</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/16370
แนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2
2024-08-09T11:49:46+00:00
ศศิวิมล บ่อคำ
sasiwimonb65@nu.ac.th
จิติมา วรรณศรี
donsak@g.swu.ac.th
<p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 และศึกษาแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 โดยมีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 จำนวน 234 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยการเปิดตาราง เครจซี่และมอร์แกน จำแนกเป็น ผู้บริหาร 44 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และครู 190 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบ แบ่งชั้น ตามสัดส่วนของครูในโรงเรียนแต่ละโรงเรียน จากทั้งหมด 78 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.976 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการส่งเสริมภาวะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1.ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาศักยภาพด้านดิจิทัล อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับมาก</p> <p> 2.แนวทางการส่งเสริมภาวะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ควรส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้บริหารสถานศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการจัดอบรม แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และมีการนิเทศ ติดตามการใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ</p>
2024-09-04T00:00:00+00:00
Copyright (c) 2024