วารสารบริหารการศึกษา มศว SWU Educational Administration Journal https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ <p> วารสารการบริหารการศึกษา มศว เป็นวารสารประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>วัตถุประสงค์ของวารสาร</p> <ol> <li>เป็นแหล่งเผยแพร่การค้นคว้า การทดลอง และการวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ในเชิงวิชาการด้านการบริหารการศึกษาและสาขาการศึกษาที่เกี่ยวข้อง</li> <li>เป็นสื่อกลางในการติดต่อทางวิชาการระหว่างภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา ศิษย์เก่า และผู้สนใจทั่วไป</li> <li>ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการด้านการบริหารการศึกษาและสาขาการศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบของการเขียนบทความวิชาการ และบทความวิจัย <p><strong>ประเภทของบทความ</strong><br />1. บทความวิจัย <br />2. บทความวิชาการ<br />วารสารเปิดรับบทความภาษาไทย จากผู้นิพนธ์ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน กำหนดการออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม</p> </li> </ol> <p><strong> คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความจากผู้ส่งบทความ จำนวน 3,500 บาท / บทความ </strong></p> <p><strong> การพิจารณาบทความ จะผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน / บทความ </strong></p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong></p> <p> ผู้ส่งบทความดำเนินการสมัครลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ Swu-Ejournal เพื่อให้ได้รับ Username และ Password ในการเข้าสู่ระบบวารสาร แล้วดำเนินการส่งไฟล์บทความเข้าสู่ระบบโดยใช้ไฟล์ประเภทเอกสาร(Doc,Docx) แล้วรอการติดต่อจากบรรณาธิการทางอีเมล์เพื่อดำเนินการต่อไป</p> <p> บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารการศึกษา มศว จะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ในลักษณะของ Double blinded peer review ซึ่งบทความแต่ละเรื่องจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนอย่างน้อย 2 ใน 3 ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว ผู้เขียนจะต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และจะต้องผ่านการตรวจสอบการแก้ไขจากกองบรรณาธิการจึงจะผ่านการพิจารณาตีพิมพ์ </p> <p> วารสารบริหารการศึกษา มศว ได้รับการรับรองคุณภาพวารสารจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 2</p> <p><strong>การติดต่อวารสาร</strong></p> <p> คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2649-5000 ต่อ 11125 Email Address: <a href="mailto:mbasbj@gmail.com">taweesil@g.swu.ac.th</a></p> en-US taweesil@g.swu.ac.th (Taweesil Koolnaphadol) taweesil@g.swu.ac.th (Taweesil Koolnaphadol) Thu, 22 Feb 2024 08:42:32 +0000 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15980 <p>สถานการณ์และปัญหาทางการศึกษาไทยยังต้องการองค์ความรู้และแนวปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดนโยบาย&nbsp; เมื่อพิจารณาผลลัพท์ของการจัดการศึกษาของประเทศไทยจากผลการทดสอบตามโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA (Programme for International Student Assessment) โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development)&nbsp;พบว่า นักเรียนไทยมีคะแนนเฉลี่ยด้านคณิตศาสตร์&nbsp; ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านการอ่าน ในปี 2022 เมื่อเทียบกับ ปี 2018 พบว่า คะแนนเฉลี่ยของประเทศไทยทั้งสามด้านลดลง</p> <p>&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วารสารบริหารการศึกษา มศว เป็นส่วนหนึ่งที่รวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย บทความวิชาการจากนักวิชาการของประเทศ เพื่อให้ผู้อ่านได้นำแนวทาง องความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการแก้ปัญหา&nbsp; ยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษาของประเทศ อันจะส่งต่อคุณภาพของผลลัพท์การเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า วารสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและผู้สนใจทุกระดับในการนำความรู้ไปพัฒนาหน่วยงานและพัฒนาตนเองต่อไป</p> ทวีศิลป์ กุลนภาดล Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15980 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 การประเมินความต้องการจำเป็นในการวางแผนกลยุทธ์ทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15956 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการวางแผนกลยุทธ์ทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 2)จัดลำดับความต้องการจำเป็นในการวางแผนกลยุทธ์ทางการศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการวางแผนกลยุทธ์ทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูในสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอคล้องของแบบสอบถาม อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของสภาพที่เป็นจริงมีค่าเท่ากับ 0.919 และค่าความเชื่อมั่นของสภาพที่ควรจะเป็นมีค่าเท่ากับ 0.993 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNI Modified) และค่าสถิติ t-test (Independent)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงในการวางแผนกลยุทธ์ทางการศึกษา อยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 3.95) ส่วนสภาพที่ควรจะเป็นในการวางแผนกลยุทธ์ทางการศึกษา อยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 4.45) 2) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการวางแผน กลยุทธ์ทางการศึกษา ปรากฏดังนี้ อันดับ 1 คือ การแปลงแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา (0.79) อันดับ 2 การกำหนดสาระสำคัญของแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา(0.54) อันดับ 3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา (0.45) อันดับ 4 การกำหนดแนวทางและมาตรการในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ (0.43) และอันดับ 5 การกำหนดสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (0.33) ผลการเปรียบเทียบสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการวางแผนกลยุทธ์ทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>&nbsp;</strong><strong>Abstract</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The objectives of this research were to 1) Study the actual and supposed conditions in educational strategic planning of schools under the Phichit Primary Educational Service Area Office Office 2 2) Prioritize the needs necessary for planning educational strategies. 3) To compare the actual situation and the situation that should be in the educational strategic planning of the schools under the Office of Phichit Primary Educational Service Area 2. The sample used in the research was school administrators.The sample used in the research was school administrators The samples were 297 school teachers and educational personnel under Phichit Primary Education Service Area Office 2, using stratified random sampling and proportional sampling. The tool used in this research was a questionnaire with a 5-level The correlation of the questionnaire was between 0.80 -1.00.&nbsp; Estimation scale with a confidence value of actual condition equal to 0.919 and a confidence value of expected condition equal to 0.993 Data were analyzed using mean values. standard deviation and index values ​​sorted by need (PNI <sub>Modified</sub>)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The research findings were as follows: 1) the actual situation in educational strategic planning; at a high level ( &nbsp;= 3.95). As for the condition that should be used in educational strategic planning at a high level</p> <p>( &nbsp;= 4.45). 2) The results of prioritizing needs for educational strategic planning were as follows: The first rank was the conversion of the strategic plan into practice in educational institutions (0.79), the second defining the essence of the educational institution's strategic plan (0.54), the third rank, the analysis of the educational institution environment (0.45), setting guidelines and measures in Driving policies into practice (0.43) Defining problems and needs in educational management of educational institutions (0.33) 3) The results of comparing the actual conditions and the conditions that should be used in the educational strategic planning of schools under the Office of Phichit Primary Educational Service Area Office 2 found that there were statistically significant differences that level 0.01</p> ทินกร พูลพุฒ Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15956 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มบีซีจี https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15957 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;</p> <p>การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มบีซีจีนับเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษาเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นนักแก้ปัญหาและนวัตกร ซึ่งปัจจุบันมีการขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยเชื่อมโยงกับสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยการนำแนวคิดเศรษฐกิจบีซีจีมาบูรณาการ ผู้เขียนได้สังเคราะห์แนวทางบริหารงานวิชาการอันเป็นการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคบานี่เวิร์ล ผู้บริหารโรงเรียนจำเป็นต้องอาศัยการบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นเชิงรุก&nbsp; &nbsp;ในการดำเนินงานที่จะนำพาให้บรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มบีซีจีได้เป็น 4 ประการ ได้แก่ ) การจัดการเรียนรู้ 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การพัฒนานวัตกรรม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ และ4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้บริหารงานวิชาการพัฒนา&nbsp; การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มบีซีจีเป็นผู้ที่ได้นำเอาความรู้ ความคิด วิธีการ หรือสิ่งใหม่ ๆ มาใช้มาปรับปรุง การจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพมากขึ้น สอดคล้องกับการจัดการศึกษาใหม่ในยุคการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>Academic management for developing STEM-BCG learning is regarded as a teaching and learning approach based on STEM education. It is a learning management approach that aims for students to be problem solvers and innovators. Currently, there is a drive to change to cover all dimensions by linking with bioeconomy, circular economy and the green economy &nbsp;by integrating the concept of the BCG economy, The author has synthesized an academic management approach which is an operation that responds to educational management for learners to achieve desirable learning outcomes amid the changes of the Bunny World era. School administrators need to rely on effective academic management in a proactive manner that will lead them to achieve the objectives and missions of academic administration in order to develop learning management according to the STEM BCG approach for 4 aspects: 1) learning management 2) curriculum development 3) development of innovation, media and learning resources, and 4) measurement and evaluation of learning outcomes. &nbsp;In order for academic administration to develop learning management according to the STEM BCG approach, encourage people to bring knowledge, ideas, methods, or new things to improve. For more quality learning management, This is in line with the new education management in the 21st century learning</p> ศิริพร เครือทอง, สุมิตร สุวรรณ, อรอุษา ปุณยบุรณะ, ทัศตริน วรรณเกตุศิริ, พัชราภา ตันติชูเวช Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15957 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 ภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15958 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร <br>3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 375 คน <br>โดยกำหนดตามตารางเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นระดับชั้นในการกำหนดสัดส่วน จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามระหว่างตั้งแต่ 0.60 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ .978 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา เท่ากับ .976 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = .853 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในระดับสูง และ 4) ภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านส่งผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 73.10</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>The purposes of this research were as follows: (1) to study visionary leadership of school administrators and the status as high-performance organizations of schools under the Bangkok Metropolitan Administration; (2) to study the relation between visionary leadership of school administrators and the status as high-performance organizations of schools under the Bangkok Metropolitan Administration; and&nbsp; (3) to study visionary leadership of school administrators that affected the status as high-performance organizations of schools under the Bangkok Metropolitan Administration. The sample was 375 school administrators and teachers under the Bangkok Metropolitan Administration and stratified sampling was based on schools as strata for setting the proportions. Then, they were selected by simple random sampling that used drawing lots. The instrument used questionnaires and the index of item objective congruence was valued at more than 0.60, the visionary leadership of administrators was .978, and the reliability of the high-performance organization was at .976. The statistics used for data analysis included mean, percentage, standard deviation, Pearson Product Moment Correlation Coefficient, and Multiple Regression.</p> <p>The results are revealed as follows. (1) The overall visionary leadership of school administrators under the Bangkok Metropolitan Administration was at a high level; (2) The overall status as high-performance organizations of schools under the Bangkok Metropolitan Administration was at a high level; (3) Visionary leadership of school administrators was highly correlated, with a statistical significance of .01 and the correlation coefficients (r) = .853; and (4) visionary leadership of school administrators significantly affected the status as high-performance organizations of schools under the Bangkok Metropolitan Administration with a statistical significance of .05. All aspects affected the status as high-performance organizations of schools under the Bangkok Metropolitan Administration at 73.10%.</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>Keywords:</strong> Visionary leadership, High performance organization</p> ทัศนา ประดับนาค, อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์ Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15958 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารการศึกษาแห่งอนาคต https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15959 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอกระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารการศึกษาแห่งอนาคต เพื่อเสนอแนวทางในการบริหารการสถานศึกษาเพื่อขับเคลื่อนภารกิจของสถานศึกษาสู่เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ผลสืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และโลกยุคดิจิทัล (Digital Era) ซึ่งเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาที่มีความก้าวหน้า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกสถานที่และเวลา สังคมต่างมีส่วนรับรู้ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษาจึงเป็นเหตุผลให้กระบวนทัศน์การบริหารแบบเดิมมีการปรับเปลี่ยน และมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติภารกิจ ที่มุ่งเน้นผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ มีส่วนร่วมในการเป็นผู้พัฒนานโยบายมากขึ้น ยอมรับและให้ความสำคัญกับความขัดแย้ง (conflict) ถือว่าเป็นธรรมชาติและสิ่งจำเป็น เน้นการมีส่วนร่วม (Participation) ในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย ตลอดจนแผนงานโครงการ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมร่วม (Shared&nbsp; Culture) และสนับสนุนเทคโนโลยีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ มีทักษะและความรู้ในเรื่องของระบบสารสนเทศ (Information System) เพื่อการบริหารและการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ของสถานศึกษาโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาบริหารจัดการในการปฏิบัติภารกิจ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการศึกษาให้ได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมรองรับทุกการเปลี่ยนแปลงในอนาคต</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; This article aims to present a new paradigm in education administration of the future. To propose guidelines for managing educational institutions in order to drive the educational institution's mission towards the goal of developing the quality of students to have the rnecessary skills for living in the 21st century as a result of the COVID-19 outbreak situation. And the Digital Era, which is&nbsp; era of rapid change. Progressive education Learning can happen at any place and time. Different societies are aware of it. And participate in the management of educational institutions This is the reason why the traditional management paradigm has been changed. And have flexibility in carrying out missions that focuses on results rather than processes Educatiornal institution administrators must change the paradigm. Participate more in policy development. Accept and value conflict as natural and necessary. Focus on participation (Participation) in determining the vision, mission, aims and plans of the project. that will lead to practice In order to promote shared culture and support educational management technology that has high</p> นิลวรรณ วัฒนา, มัทนา วังถนอมศักดิ์ Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15959 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล กรณีศึกษา: โรงเรียนวังหลวงพิทยาสรรพ์ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15960 <p><strong>บทคัดย่อ&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความพร้อม และ 2) หาแนวทางในการเตรียม&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ความพร้อมของโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล กรณีศึกษา โรงเรียนวังหลวงพิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่1 การศึกษาสภาพความพร้อมของโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนวังหลวงพิทยาสรรพ์ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคายผู้ให้ข้อมูลคือ โรงเรียนขนาดกลางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต21 จำนวน 9 โรงเรียน เครื่องมือ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การหาแนวทางการเตรียม&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ของโรงเรียนในการเข้าสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล กรณีศึกษาโรงเรียนวังหลวงพิทยาสรรพ์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนวังหลวงพิทยาสรรพ์ จำนวน 47 คน โดยเป็นการระดมสมองจากผลการศึกษาสภาพ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ความพร้อมในระยะที่ 1</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพความพร้อมในการเข้าสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนขนาดกลางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 โดยรวมอยู่ในระดับมากและรายด้าน ด้านกลยุทธ์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อยู่ในระดับมากที่สุด 2. แนวทางการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนในการเข้าสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล กรณีศึกษาโรงเรียนวังหลวงพิทยาสรรพ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 ประกอบด้วย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1) ด้านการนำองค์กร 2) ด้านกลยุทธ์ 3) ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) ด้านการวัดการวิเคราะห์และ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;การจัดการความรู้ 5) ด้านบุคลากร 6) ด้านปฏิบัติการ และ 7) ด้านผลลัพธ์</p> <p><strong>&nbsp; </strong></p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>The purposes of this research were 1) to study the readiness of the school and 2).to find ways to prepare the school to be an international standard school, case study of Wang Luang Phitayasarn School under the Office of Secondary Educational Service Area 21, the research was divided into 2 phases, Phase 1: Study of the readiness of the school to become an international standard. school of Wang Luang Pittayasan School, Fao Rai District, Nong Khai Province The informations were 9 medium-sized&nbsp; schools of the Secondary Educational Service Area 21. The research instrument was a 5 level scale questionnaire with reliability of 0.98 Data were analyzed using frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, Phase 2, finding a school preparation method to enter an international standard school, A case study of Wang Luang Phitayasan School The informants were 47 administrators and teachers from Wang Luang Pittayasan School: using brainstorming from the study of readiness condition in phase 1,</p> <p>the results showed that: 1. Condition of readiness to enter an international standard medium-sized schools under the Secondary Educational Service Area Office 21 overall, it was at a high level and each aspect. was at the highest level. 2. Guidelines for school readiness preparation to enter an international standard school: A case study of Wang Luang Phitayasan School, The Office of Secondary Education Service Area 21 consists of 1) Leadership 2) Strategy 3) Student and Stakeholder&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4) Measurement, Analysis and Knowledge Management 5) Staff 6) Operations and 7) Results.</p> จุฑามาศ นาพา, นวัตกร หอมสิน, พงษ์นิมิตร พงษ์ภิญโญ Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15960 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15961 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยในการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษากับการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้ปกครองของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 357 คน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 ขึ้นไป ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัย เท่ากับ 0.90 และคำความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษา เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยนโยบายของรัฐบาลที่เน้นไปที่การศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ปัจจัยทัศนคติของบุคคลในชุมชนและสังคม และปัจจัยทัศนคติของครู มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัจจัยที่ส่งผลการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยนโยบายของรัฐบาลที่เน้นไปที่การศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ปัจจัยทัศนคติของบุคคลในชุมชนและสังคม และปัจจัยทัศนคติของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ะดับ .05 โดยทั้ง 3 ปัจจัยส่งผลต่อการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 55.00</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>The purposes of this research are as follows: (1) to study the factors levels of access to education of children with special needs in secondary education under Bangkok metropolitan schools; (2) to study the access to education levels of children with special needs in secondary education under Bangkok metropolitan schools; (3) to study the relationship between factors and access to education of children with special needs in secondary education under Bangkok metropolitan schools; (4) to study the factors affecting access to education of children with special needs in secondary education under Bangkok metropolitan schools. The samples were 357 directors, teachers and parents of students with special needs in the schools under Bangkok metropolitan schools and stratified random sampling was used to calculate the sample size and simple random sampling. The instrument used for data collection was a five-point Likert scale questionnaire with IOC scores over 0.60. The reliability value of factors was at 0.90. The reliability value of access to education of children with special needs in secondary education was at 0.95, The statistics used for data analysis included percentage, mean, standard deviation, Pearson Product Moment Correlation Coefficient and Multiple regression.</p> <p>The results were as follows: (1) the factors levels of access to education of children with special needs in secondary education under Bangkok metropolitan schools was at a high level; (2) the access to education levels of children with special needs in secondary education under Bangkok metropolitan schools was at a high level; (3) the relationship between the factors and access to education of children with special needs in secondary education under Bangkok metropolitan schools, namely the government policies focusing on the education of children with special needs, the&nbsp; attitude of teacher and the general attitude of community and society was moderately correlated, with a statistical significance of .01; (4) the factors affected access to education of children with special needs in secondary education under Bangkok metropolitan schools, namely the government policies focusing on the education of children with special needs, the attitude of teacher and the general attitude of community and society with a statistical significance of .05. All 3 factors could affect access to education of children with special needs in secondary education under Bangkok metropolitan schools at 55.00%.</p> จุฑารัตน์ ร่องแซง, ทวีศิลป์ กุลนภาดล Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15961 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 นวัตกรรมการบริหารสู่ความเป็นเลิศของงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สถาบันผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู หลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15962 <p><strong>บทคัดย่อ&nbsp; </strong></p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิด 2) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็น 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบนวัตกรรม เกี่ยวกับการบริหารสู่ความเป็นเลิศของงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สถาบันผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู หลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา โดยการวิจัยเชิงปริมาณและ<br>เชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารคณะคู่ความร่วมมือ อาจารย์นิเทศก์จากภายนอกมหาวิทยาลัย อาจารย์นิเทศก์จากภายในมหาวิทยาลัย รวม 68 คน การวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยต้นแบบ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNI<sub>Modified</sub>)&nbsp;</p> <p>โดยพบว่า การบริหารสู่ความเป็นเลิศงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สถาบันผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู หลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก และรูปแบบนวัตกรรมการบริหารสู่ความเป็นเลิศฯ ประกอบด้วย 7 นวัตกรรมย่อย ได้แก่ <br>1. การนำองค์กรสู่ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ 2. กลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างตราสินค้า 3. การปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นการปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นการจัดการนวัตกรรม 4. การพัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5.การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่มีความซับซ้อน 6. ผลลัพธ์สู่ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นองค์กรที่ยั่งยืน และ 7. การจัดการลูกค้าสู่ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นการรับฟังเสียงของลูกค้า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The objective of this research is 1. To study the conceptual framework 2. To study conditions and the priority needs 3. Presenting the model of management innovations towards excellence, in the pre-service student teaching practicum experience of the Institute for Producing Teacher Profession Graduate double degree program. This research was quantitative and qualitative research. The sample was faculty administrators, supervisors from outside the university, and supervisors in the university, <br>a total of 68 people. Key Informants were used for the qualitative data by in-depth interviewing <br>3 experts. The instrument for collecting data was a five-point rating-scale questionnaire. Analysis data by Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, and Priority Need Index (PNI<sub>Modified</sub>).</p> <p>The result of the study found that: The overall results of Conditions of management toward excellence in the pre-service student teaching practicum experience of the Institute for producing teacher profession graduate double degree program show that the current condition is moderate. <br>The desirable condition is at a high level. Innovation management towards excellence in the pre-service student teaching practicum experience of the Institute for Producing Teacher consists of 1. Strategic Leadership 2. Branding Strategy 3. Innovative management 4. Professional Learning Community (PLC) 5. Big data analytics 6. Sustainable Organization 7. Voice Channel of Customer.</p> กษิฎิฏฏ์ มีพรหม , สุนทร คล้ายอ่ำ, วสันต์ สรรพสุข Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15962 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 อิทธิพลของภาวะผู้นำกลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษา ต่อผลการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15963 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำกลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผล การดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ของผู้บริหารสถานศึกษา&nbsp; 3) ความสัมพันธ์ของอิทธิพลของภาวะผู้นำกลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษากับระดับผลการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE และ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;4) ภาวะผู้นำกลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง&nbsp; จำนวน 285 คน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามระหว่าง 0.60 ขึ้นไป ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำกลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ .823&nbsp; และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ .784 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำกลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับผลการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE &nbsp;ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง โดยรวมอยู่ระดับมาก &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;3) ภาวะผู้นำกลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง โดยรวมอยู่ระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = .892 และ 4) ภาวะผู้นำกลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภาวะผู้นำกลุ่มของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อผลการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ร้อยละ 69.30</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>The purposes of this research were as follows: (1) to study group leadership of school administrators and TO BE NUMBER ONE project performance of Secondary School Administrators&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (2) to study the relationship between group leadership of school administrators and TO BE NUMBER ONE project performance of Secondary School Administrators, and (3) to study group leadership of school administrators that affected TO BE NUMBER ONE project performance of Secondary School Administrators. The sample was 285 school teachers in the Second Educational Service Area Office Singburi Angthong stratified random sampling was used to calculate the sample size and simple random sampling. The instruments used questionnaires and the Index of Item Objective Congruence was valued at more than 0.60 the group leadership of administrators was .823, and the reliability of TO BE NUMBER ONE project performance was at .784. The statistics used for data analysis included mean, percentage, standard deviation, Pearson Product Moment Correlation Coefficient, and Multiple Regression. &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;The results were as follows: (1) the overall group leadership of school administrators was at a high level; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;(2) the overall TO BE NUMBER ONE project performance was at a high level; (3) the group leadership of school administrators was highly correlated, with a statistical significance of .01 and the correlation coefficients (r) = .893; and (4) group leadership of school administrators significantly affected TO BE NUMBER ONE project performance of Secondary School Administrators with a statistical significance &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;of .05. All aspects affected TO BE NUMBER ONE project performance of Secondary School Administrators in the Second Educational Service Area Office Singburi Angthong at 69.30%.</p> จิรฌา โชติปิยวานิช, ทวีศิลป์ กุลนภาดล Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15963 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 ปัญหาการประพฤติตนตามมาตรฐานวิชาชีพในแง่จรรยาบรรณของวิชาชีพครูที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15964 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยในครั้งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการประพฤติตนตามมาตรฐานวิชาชีพในแง่จรรยาบรรณของวิชาชีพครูที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาการประพฤติตนตามมาตรฐานวิชาชีพในแง่จรรยาบรรณของวิชาชีพครูที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2565 เลือกโดยเจาะจงจำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม&nbsp; มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>ปัญหาการประพฤติตนตามมาตรฐานวิชาชีพในแง่จรรยาบรรณของวิชาชีพครูที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ด้านจรรยาบรรณต่อสังคม ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ</li> <li>การเปรียบเทียบปัญหาการประพฤติตนตามมาตรฐานวิชาชีพในแง่จรรยาบรรณของวิชาชีพครูที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การสอน พบว่า</li> </ol> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2.1 ครูวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัญหาการประพฤติตนตามมาตรฐานวิชาชีพในแง่จรรยาบรรณของวิชาชีพครูที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง แตกต่างกัน ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2.2 ครูวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัญหาการประพฤติตนตามมาตรฐานวิชาชีพในแง่จรรยาบรรณของวิชาชีพครูที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The objectives of the research were 1) to study self-behavior problems following the professional standards in terms of the code of ethics of teaching profession as provided in the law on Teachers and Educational Personnel Council Act according to the opinions of college teachers in Pathum Thani province&nbsp; under the Office of the Vocational Education Commission and 2) to compare the level of self-behavior problems following the&nbsp; professional standards in terms of the code of ethics of the teaching profession as provided in the law on Teachers and Educational Personnel Council Act according to the opinions of college teachers in Pathum Thani province&nbsp; under the Office of the Vocational Education Commission classified by educational levels and teaching experiences. The sample group, using purposive sampling, included 148 college teachers in Pathum Thani province under the Office of the Vocational Education Commission, academic year 2022. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire. Statistics used in data analysis include percentage, mean, and standard deviation, t-test, and One-Way Analysis of Variance.</p> <p>The research results found that:</p> <ol> <li>The self-behavior problems following the professional standards in terms of the code of ethics of teaching profession as provided in the law on Teachers and Educational Personnel Council Act according to the opinions of the college teachers in Pathum Thani Province under the Office of the Vocational Education Commission as overall was at the low level. When considering each aspect, it was at the low level in every aspect; arranged in descending mean order as follows: Professional ethics, Ethics towards oneself, Social ethics, Ethics towards professional associates, and Ethics towards service recipients.</li> <li>The comparisons of self-behavior problems following the professional standards in terms of the code of teaching profession as provided in the law on Teachers and Educational Personnel Council Act according to the opinions of college teachers in Pathum Thani Province under the Office of the Vocational Education Commission classified by educational levels and teaching experiences found that:</li> </ol> <p>2.1 The college teachers in Pathum Thani Province under the Office of the Vocational Education Commission having different education levels did not have different opinions on the overall of self-behavior problems following the professional standards in terms of the code of teaching professional as provided in the law on the Teachers and Educational Personnel Council Act. When considering each aspect, it was found that the aspect of Ethics towards oneself was different, while the other aspects were not.</p> <p>2.2 The college teachers in Pathum Thani Province under the Office of the Vocational Education Commission having different teaching experiences did not have different opinions on the overall and individual aspects of self-behavior problems following the professional standards in terms of the code of teaching professional as provided in the law on the Teachers and Educational Personnel Council Act.</p> วิชาญ สาคุณ, วิภาส ทองสุทธิ์, บงกช ชินนพคุณ, รัตน์วรางค์ ฐิติพันธ์ภูมน Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15964 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15965 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชนในเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 241 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติประมวลผลข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)&nbsp; ค่าที (t-test for independent samples) ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA/ F-test) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ จะนำไปทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากสูงที่สุดไปต่ำที่สุดคือ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล ( <strong><em>&nbsp;</em></strong><strong>= </strong>4.35) การสื่อสารด้านดิจิทัล การรู้ด้านดิจิทัล ( <strong><em>&nbsp;</em></strong><strong>= </strong>4.32) การมีวิสัยทัศน์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ด้านดิจิทัล การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล ( <strong><em>&nbsp;</em></strong><strong>= </strong>4.31) และการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ ( <strong><em>&nbsp;</em></strong><strong>= </strong>4.30) ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาพบว่า ภาพรวมของครูที่มีเพศต่างกัน &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน ส่วนอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน</p> <p><sup>&nbsp;</sup><strong>Abstract</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; This research aims to study the digital leadership private educational administrator in Bangphlat District, Bangkok and compare the digital leadership private educational administrator in Bangphlat District, Bangkok classified by gender, age, educational level and work experience. The sample group was a private school teacher in Bangphlat District Bangkok of 241 peoples in the academic year 2023. The tool used to collect this information was a questionnaire. Analyze the data by using package software, finding the mean, standard deviation, t-test for independent samples, and One-Way ANOVA/F-test) in case a statistically significant difference is found will be used to test pairwise differences. Using Scheffe's Method.</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The results were found as the following the digital leadership private educational administrator in Bangphlat District, Bangkok Overall and in each aspect is at a high level. Arranged from highest to lowest are Citizenship in the digital age ( &nbsp; = 4.35) Digital communication Digital literacy ( &nbsp;= 4.32) Having a digital vision creating a digital learning culture ( &nbsp; = 4.31) and professional work performance ( &nbsp; = 4.30), respectively. The results of comparing the digital leadership of school administrators found that Overview of teachers of different genders. There are different opinions on digital leadership among school administrators, as to their age, educational background, and work experience. There are no differences in opinions on digital leadership among school administrators.</p> กฤษฎาพร ชาพิศร, วลัยพรรณ อ้วนนาแวง, จิติยาภรณ์ เชาววรากุล Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15965 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 คุณภาพโรงเรียน : เป้าหมายสำคัญในการปฏิรูปโรงเรียนในยุคดิจิทัล https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15966 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เป้าหมายสำคัญที่สุดของการปฏิรูปโรงเรียนคือการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนให้ได้มาตรฐานเพื่อให้ผู้ปกครอง และชุมชนยอมรับศรัทธา &nbsp;คุณภาพโรงเรียนมีความสำคัญต่อการบริหารงานช่วยสร้างความ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เท่าเทียมทางศึกษานำไปสู่เป้าหมายการพัฒนามาตรฐานระดับสากล &nbsp; ส่งเสริมชื่อเสียงของโรงเรียน ตอบสนองในการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง พัฒนาคุณภาพงานของครู และนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย&nbsp; พัฒนาระบบประกันคุณภาพงาน ทำให้การดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อคุณภาพของงาน&nbsp; ส่งเสริมขวัญกำลังใจ &nbsp;และสร้างความรักและความศรัทธาให้แก่ครูในการปฏิบัติงาน โดยองค์ประกอบสำคัญของคุณภาพโรงเรียนมี 5 ด้าน ได้แก่ 1) คุณภาพนักเรียน&nbsp; 2)คุณภาพครู&nbsp; 3) คุณภาพของสิ่งแวดล้อม 4) คุณภาพของหลักสูตรและการเรียนการสอน&nbsp; และ5)การบริหารที่มีคุณภาพ</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The most important goal of school reform is to develop school quality to meet standards for parents and communities to gain acceptance and faith. School quality is important for administration which helps to create educational equality leading to the goal of developing international standards, promote the reputation of the school, responding to continuous professional development, improve the quality of work of teachers and students for learning and achieved the goal successfully. It also helps to develop a quality assurance system to run the operations more efficiently and affect the quality of work, promote morale and build love and faith for teachers in practice. The five key components of school quality are; 1) student quality 2) teacher quality 3) the quality of the environment 4) the quality of the curriculum and instruction; and 5) quality management.</p> เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15966 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 การพัฒนารูปแบบโรงเรียนนวัตกรรมระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15977 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการปฏิบัติเป็นเลิศของ โรงเรียนนวัตกรรมระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบโรงเรียนนวัตกรรมระดับมัธยมศึกษา ดังกล่าว และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบโรงเรียนนวัตกรรมระดับมัธยมศึกษา เหล่านี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ในการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) ใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 386 คน เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการปฏิบัติเป็นเลิศของโรงเรียนนวัตกรรมระดับมัธยมศึกษาเหล่านี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ใช้แบบสัมภาษณ์ในโรงเรียนนวัตกรรมระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 โรง ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 11 รูป/คน และสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูป/คน เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และ 3) ทำการประเมินรูปแบบ โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบโรงเรียนนวัตกรรมระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นมาประกอบไปด้วยปัจจัยโรงเรียนนวัตกรรม 5 ด้าน คือ 1) การจัดการองค์กรนวัตกรรม 2) การทำงานเป็นทีม 3) การพัฒนานักนวัตกรรม 4) การสร้างบรรยากาศนวัตกรรม และ <br>5) การมีส่วนร่วมและการประสานงาน</p> <p><strong>&nbsp;</strong>ปัจจัย, ความสำเร็จ<strong>, </strong>โรงเรียนนวัตกรรม</p> <p><strong>Abstract </strong></p> <p>The objectives of this mixed research methodology research were: 1) to study basic information on best practices of innovative secondary schools under the Bangkok Secondary Educational Service Area Offices; 2) to develop an innovative secondary school model for these schools; and 3) to evaluate the developed innovative secondary school model for the schools. &nbsp;For quantitative research methodology, a questionnaire was used, while the qualitative ones, an interview structure and a focus group discussion were used: 1) a questionnaire on excellent practices of innovative secondary schools was used with a sample 386 randomly selected from administrators and teachers in secondary schools under the Bangkok Secondary Educational Service Area Offices; from which the data were analyzed in terms of frequency, percentage, mean, and standard deviation; 2) an interview structure on excellent practices of innovative secondary schools was used with 11 key informants, along with a focus group discussion of 9 experts, from which the data were analyzed in terms content analyses, a model was then drafted; and 3) the drafted model was evaluated, using an assessment form, in terms of its suitability, possibility, usefulness, and accuracy by a sample group from which the data were analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation.</p> <p>The results of the research found that the developed innovative secondary school model for schools under the Bangkok Secondary Educational Service Area Offices consisted of 5 factors: <br>1) managing innovative organizations, 2) teamwork, 3) developing innovators, 4) creating an innovation atmosphere, and 5) participating and coordinating.</p> ศิวาวุฒิ รัตนะ Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15977 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000 การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15978 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม การพัฒนาประเทศไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ตามนโยบาย Thailand 4.0 โดยมีกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาคมโลก (sustainable development goals: SDGs) องค์การต่างๆ จึงได้มีการปรับตัวไปสู่การสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ เช่นเดียวกับสถานศึกษาที่ผู้บริหารจะต้องสนับสนุน ส่งเสริมบุคลากรให้มีความสามารถและเข้าใจในนวัตกรรม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษาต่างๆ จะต้องพัฒนาเชิงนวัตกรรมในองค์กร ซึ่งผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้มีการสร้างพัฒนา หรือนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษาก็คือผู้นำหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถใช้นวัตกรรมในการนำองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ มีการปรับตัวและพัฒนาวัฒนธรรมในสถานศึกษา โดยการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม มี 4 ขั้นตอน คือ 1. การวางแผน 2. การอำนวยการ 3. การประสานงาน 4. การรายงานและการประเมินผลงาน เพื่อให้เป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมที่มุ่งสร้างค่านิยมใหม่ๆ ของสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถ ส่งเสริมให้บุคลากรมีความกล้าคิด กล้าลงมือปฏิบัติ มีการสนับสนุนความรู้ในการสร้างนวัตกรรมในสถานศึกษา และสร้างพื้นฐานในการเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมให้กับบุคลากรจากการจัดการความรู้ ส่งเสริม สนับสนุนบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถสู่การเป็นนวัตกรที่ดี ดังนั้นความท้าทายในการพัฒนาประเทศส่วนหนึ่งคือ การยกระดับขีดความสามารถทางนวัตกรรมของสถานศึกษา โดยการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นสถานศึกษาแห่งนวัตกรรมให้พร้อมต่อการพัฒนาประเทศไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>This article aims to present the management of educational institutions towards becoming innovative educational institutions, contributing to the country's "stability, prosperity, and sustainability" in alignment with Thailand's 4.0 policy, a 20-year national strategic framework, and the National Economic and Social Development Plan. This guidance supports the nation's development in accordance with the sustainable development goals (SDGs) of the global community. Various organizations are, therefore, adjusting their strategies to foster innovation and generate new knowledge. Executives must actively support and promote personnel to acquire the skills and understanding of innovation. Hence, it is imperative that educational institutions invest in innovative development. They play a pivotal role in driving development and implementing innovation in education. Educational institution administrators, as leaders, must effectively utilize innovation to facilitate cultural adaptation and development within these institutions. To guide educational institutions towards becoming innovative, four key steps are identified : planning, administration, coordination, and reporting and evaluation. The goal is to transform educational institutions into centers of innovation, fostering new educational values that enhance the capabilities of their personnel. This approach encourages individuals to think boldly, take action, and acquire the knowledge necessary to innovate effectively. Thus, part of the challenge in developing the country lies in enhancing the innovation capacity of educational institutions through effective management, making them prepared to contribute to the country's "stability, prosperity, and sustainability."</p> ณปภาพร จันทร์ดวง Copyright (c) 2024 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/15978 Thu, 22 Feb 2024 00:00:00 +0000