รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 The Teacher Development Model of Assessment Students Desirable Characteristics in Surin Primary Education Service Area Office 2

Authors

  • สุภพ ไชยทอง

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการดำเนินการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโดยใช้การวิจัย เชิงปฏิบัติการ และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน แบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการดำเนินการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 327คน 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ดำเนินการพัฒนาครูกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 89 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการในการพัฒนา 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ออกติดตามผลการพัฒนาทั้ง 3 กลุ่ม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาและความต้องการในการดำเนินการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยรวม มีสภาพปัญหาและความต้องการในการดำเนินการอยู่ในระดับมาก 2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาด้วยตนเองจากเอกสารคู่มือการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) การพัฒนาและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 4) การนิเทศ ติดตาม 5) การสังเกตและสะท้อนผล 6) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และ7) การประเมินผล สรุปรายงาน  ครูมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะเจตคติที่ดีและสามารถดำเนินการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนได้ อย่างถูกต้อง 3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาด้านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน สามารถปรับเปลี่ยนการพัฒนาและดำเนินการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผู้เรียนได้ รูปแบบการพัฒนาครูครั้งนี้ มีความเป็นไปได้ เหมาะสม และเป็นประโยชน์ คำสำคัญ :  รูปแบบการพัฒนาครู  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ABSTRACT This research aimed to : 1) study the problem and the need of assessment students desirable characteristics in Surin Primary Educational Service Area Office 2, 2) develop the teacher development model of assessment students desirable characteristics by using action research, and 3) assess the teacher development model of assessment students desirable characteristics.The research was divided into 3 phases. Phase 1 : study the problem and the need of assessment students desirable characteristics, The sample consisted of 327 teachers. Phase 2 : develop the teacher development model of assessment students desirable characteristics, develop the target group of 89 teachers, divided into 3 group, each group using the principles of action research in developing. Phase 3 : assess the teacher development model of assessment students desirable characteristics. Statistics were percentage, standard deviation, content analysis, and then present a descriptive analysis. The results of the research were as follows : the problem and the need of assessment students desirable characteristics as a whole, was in the implementation of the high level. The results of the teacher development model of assessment students desirable characteristics by using action research, showed that was appropriate in most. Whose elements are 1) Training workshop 2) self-study documentation to assess desired characteristics 3) Development and assessment of desired characteristics of learners 4) Supervision 5) observe and reflect 6) Exchange experience learned and 7) assessment report and the experts testimony that appropriate to the teacher development and could make the development of teacher success. The results of assessment the teacher development model of assessment students desirable characteristics, showed that teachers were satisfied with the teacher development model of assessment students desirable characteristics, could modify the development of the students to have desirable characteristics and performed assessment students desirable characteristics. The teachers development model was possible, appropriate and useful. Key words : The Teacher Development Model. Assessment desirable characteristics.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-06-26