การพัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี A DEVELOPMENT OF STUDENTS’ LEARNING HAPPINESS INDICATORS IN PATTAYA CITY SCHOOLS, CHON BURI PROVINCE.

Authors

  • ธารณ์ ทองงอก

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และเพื่อสร้างเกณฑ์ปกติในการประเมินการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา 11 โรงเรียน จำนวน 690 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ไค-แสควร์ ดัชนีบอกความกลมกลืน ดัชนีบอกความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว และความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบหลักของการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี คือ ด้านตัวนักเรียน ด้านเพื่อน ด้านโรงเรียน ด้านครอบครัว และด้านชุมชน ซึ่งทั้ง 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 20 ตัวบ่งชี้ และ 73 ตัวบ่งชี้ย่อย ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลเชิงโครงสร้างการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้ค่าไค-สแควร์ ค่าดัชนีบอกความกลมกลืน และค่าดัชนีบอกความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว ทดสอบสมมติฐานในการวิจัย พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. เกณฑ์ปกติในการประเมินการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยรวม มีเกณฑ์ปกติที่ระดับการเรียนรู้อย่างมีความสุขมากที่สุดที่ 3.88 องค์ประกอบด้านตัวนักเรียน มากที่สุดที่ 3.76 องค์ประกอบด้านเพื่อน มากที่สุดที่ 3.94 องค์ประกอบด้านโรงเรียน มากที่สุดที่ 3.91 องค์ประกอบด้านครอบครัว มากที่สุดที่ 3.81 และองค์ประกอบด้านชุมชน มากที่สุดที่ 4.09   คำสำคัญ: การพัฒนาตัวบ่งชี้, การเรียนรู้อย่างมีความสุข, โรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา       Abstract This study aimed to develop indicators of students’ learning happiness in Pattaya City schools, Chon Buri Province; and to identify normal criteria for evaluating students’ learning happiness in the schools.  The subjects were 690 M.6 students in 11 schools in Pattaya City; they were classified randomized. The research instruments were questionnaires analyzed with Rating Scale statistical techniques: means, standard deviation Pearson’s correlation, Chi’square, goodness of fit-(GFI), adjusted goodness of fit – (AGFI) and RMSEA. The results revealed: 1. There were 5 main elements of learning happiness of the students in Pattaya City schools, Chon Buri province: individuals, peers, schools, families, and communities. The five elements consisted of 20 indicators with 73 sub-indicators. Validity of the model for happy learning of the students in Pattaya City schools was tested.  In addition, the empirical data were analyzed with chi-square, goodness of fit-(GFI), and adjusted goodness of fit – (AGFI) to test the research hypothesis; the model was found harmonious with the empirical data obtained with statistically significant different at level 0.01 2. In total, the normal criteria for evaluating happy learning of the students in Pattaya City schools, Chon Buri province, was at the happiest learning level at 3.88.  For the individual element, the happiest learning level was at 3.76; for peers, the happiest learning level was at 3.94; for schools, the happiest learning level was at 3.91; for families, the happiest learning level was at 3.81; and for communities, the happiest learning level was at 4.09 Keyword: Indicator, Learning happiness, Pattaya city schools

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-06-26