การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน A STUDY OF THE ACADEMIC ADMINISTRATIONOF BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER THE OFFICEOF PRIMARY E

Authors

  • จิดาภา เบญจธัชพร

Abstract

  บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 262 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และประชากรที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในกลุ่ม ASEAN Learning School จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5  ระดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1.  สภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนที่ได้จากแบบสอบถามโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก 3 ลำดับแรก  ได้แก่  ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ(=4.04, SD=0.72)ด้านการคัดเลือกหนังสือแบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา( =4.04,SD=0.69) และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้(= 3.99,SD=0.66) ส่วนในด้านการวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนมีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง(=3.06, SD=0.95) 2. แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีการปฏิบัติในระดับมากได้แก่ มีการประชุมวางแผนบริหารงานเรื่องอาเซียน การจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์อาเซียนและการบริหารงานส่วนด้านการจัดการเรียนการสอนกำหนดให้วิชาอาเซียนศึกษาอยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม มีกิจกรรมพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยการจัดทำค่ายอาเซียนและนิทรรศการเกี่ยวอาเซียน มีการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาความรู้เกี่ยวกับอาเซียน  และสร้างศูนย์อาเซียนเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา อย่างไรก็ตาม พบว่า การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนยังขาดกฏระเบียบด้านการวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียนของนักเรียนที่โอนย้ายมาจากกลุ่มประเทศอาเซียน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านอาเซียน และความร่วมมือของสถานศึกษาในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาหรือองค์กรอื่นๆยังอยู่ในระดับน้อย   คำสำคัญ: การบริหารงานวิชาการ, ประชาคมอาเซียน, อาเซียนศึกษา, ศูนย์อาเซียน   ABSTRACT The objectives of this research were: 1) to study the current stage of the academic administration of basic education schools under the Office of Primary Educational Service Areas in Bangkok and its vicinity to prepare for entering the ASEAN Community, and 2)toexamine ways of academic administration of the basic education schools. The sample group for quantitative data collection consisted of randomly selected 262 administratorsfromthe basic education schools. The population for qualitative data collection was 9 administrators from the basic education schools selected as ASEAN Learning Schools. The research instruments used for data collection were 5-point rating scale questionnaire and interview. Frequencies, percentages, means, standard deviation and content analysis were used for data analysis. The research findings were as follows: 1) the overall current stage of the academic administration of the basic education schools was at a high level, and the top three items were planningacademic administration to enter the ASEAN Community(=4.04, SD=0.72), followed by ASEAN textbook selection ( =4.04, SD=0.69) and learning process development ( =3.99, SD=0.66). However, measurement, evaluation and transferability of learning were at a medium level (=3.06,SD=0.95).  2) The academic administration ways the basic education schools prepared for entering the ASEAN Community were found at a high level, comprising of meetings on academic administration planning for entering ASEAN and the establishment of  ASEAN - Center committee. Regarding instructional management, ASEAN - Study subject was prescribed as a learning area of Social Studies, Religion and Culture. In addition, there were ASEAN camp activities to develop a learning process, ASEAN exhibitions, the development and use of media and technology for ASEAN knowledge enhancement and the establishment of an ASEAN learningcenter. However, it was found that there was lack of rules and regulations of the measurement, evaluation and transferability of ASEAN student learning.  In addition, research to develop ASEAN educational quality and academic development cooperation among schools or organizations in ASEAN were still at a low level. Keyword: Academic administration, ASEAN community,ASEAN study, ASEAN center

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-06-26