แนวทางการนิเทศภายในเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดสระบุรี
AN INTERNAL SUPERVISION APPROACH TO ENHANCE LEARNING ACHIEVEMENT IN LARGE EDUCATIONAL INSTITUTIONS. UNDER THE JURISDICTION OF THE PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE IN SARABURI PROVINCE
Keywords:
การนิเทศภายใน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนAbstract
บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการการนิเทศภายในสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสระบุรี และ เพื่อหาแนวทางในการการนิเทศภายในเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสระบุรี ประชากรที่ใช้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และ ครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 246 คนโดยใช้สูตรของยามาเน่ เครือมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่การหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และ ค่า t-test Dependent การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากการจดบันทึก และการบันทึกเสียงของผู้ให้การสัมภาษณ์ โดยสรุปสาระสำคัญนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการการนิเทศภายใน โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้แนวทางการนิเทศภายใน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ทั้ง 15 คน มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรมีจิตวิทยาในการจูงใจ ในการนิเทศ ไม่ควรนิเทศตามใจตน นิเทศโดยใช้กระบวนการ โดยยึดหลัก“ถูกที่” คือ “ถูกคน” และ“ถูกใจ” Abstract This research article aims to study the needs of supervision within large educational institutions under the Office of Primary Educational Service Area in Saraburi Province, and to find guidelines for internal supervision to enhance learning achievement in large educational institutions. Under the Office of Primary Educational Service Area in Saraburi Province The population used was school administrators group leader and teachers. The samples used in this study were 246 people using Yamane's formula. The research instrument was a 5-point scaled questionnaire. Statistics used were mean ( ) and standard deviation (S.D.) and t-test Dependent. Qualitative data analysis. from in-depth interviews by analyzing content from notes and audio recordings of interviewees In summary, the main points are presented in essays. The results of the research revealed that the overall and individual supervision needs were at high levels in all aspects. When comparing the learning achievement of students, it was found that the learning achievement of students before and after using the internal supervision approach. There was a statistically significant difference at the .01 level. in-depth interview All 15 key informants agreed that There should be a psychology of motivation in supervision, not self-indulgent supervision. supervision using process By adhering to the principle of "right place", i.e. "right people" and "likes".Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-09-06
Issue
Section
Articles