ภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา
THE EMPATHETIC LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE CHACHOENGSAO
Keywords:
ภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 306 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน จากนั้นสุ่มแบบชั้นภูมิโดยใช้สหวิทยาเขตของโรงเรียนเป็นชั้นภูมิ แล้วเทียบสัดส่วนด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 40 ข้อ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูที่มีวิทยฐานะต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทราโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะ ผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการรู้จักส่งเสริมผู้อื่น ไม่พบความแตกต่าง Abstract The purpose of this research was to study and compare the empathetic leadership of school administrators from the point of view of teachers. Under the Secondary Educational Service Area Office Chachoengsao. The sample group used in this research were 306 teachers under the Secondary Educational Service Area Office Chachoengsao, academic year 2022, with a total of 306 teachers. The size of the sample was determined using Cohen's ready-made table. Then, stratified random sampling using school inter-campus as strata. Then compare the proportions by simple sampling. The instrument used for data collection was a questionnaire on empathetic leadership of school administrators, comprising 40 items, with a 5-point rating scale. The reliability was 0.98. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation. T test one-way analysis of variance and pairwise comparison by Cheffe's method. The results showed that : (1)The teachers opinions about the empathetic leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Chachoengsao in the overall and dimension were at the high level. (2) Comparison of teachers' opinions on empathetic leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Chachoengsao, classified by level of education, academic standing and work experience. The results can be summarized as follows. Teachers with different level of education opinion on the empathetic leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Chachoengsao Overall and each aspect were a statistically significantly different at .05. Teachers with different academic standing opinion on the empathetic leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Chachoengsao Overall and each aspect found that were not different. Teachers with different work experience There are opinions about the humanistic leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Chachoengsao The overall and each aspect are different. There was a statistical significance at the .05 level, except for developing others. no difference found.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-09-06
Issue
Section
Articles