การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords:
การพัฒนารูปแบบ, ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์Abstract
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและประเมินความเป็นไปได้และการนำไปใช้ ประโยชน์ของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวิธีการดำเนินการวิจัย ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 ร่างรูปแบบภาวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยนำแนวทางจากขั้นตอนที่ 1มาร่างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของรูปแบบได้ค่าดัชนี ความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80 - 1,00 ขั้นตอนที่ 3 พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยจัดการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เพื่อหาความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบภาวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นำผลการสนทนากลุ่มมาปรับปรุงรูปแบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นขั้นตอนที่ ประเมินความเป็นไปได้และการนำไปใช้ประโยชน์ของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย เก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2 จํานวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Daviation) ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความถูกต้องและความเหมาะสม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การใช้ความคิดเชิงกลยุทธ์ จำนวน 10 ข้อ 2) การวางแผนกลยุทธ์ จำนวน 9 ข้อ 3)การมีวิสัยทัศน์ จํานวน 9 ข้อ 4) การสื่อสาร จำนวน 8 ข้อ 5) การสร้างวัฒนธรรมองค์การ จํานวน 10 ข้อ 6) การมีมนุษย สัมพันธ์ จํานวน 9 ข้อ รวมข้อย่อย 55 ข้อ 2. การประเมินความเป็นไปได้และการนำไปใช้ประโยชน์ของรูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเป็นไปได้ โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก ที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การใช้ความคิดเชิงกลยุทธ์ การมีมนุษยสัมพันธ์ การสร้างวัฒนธรรมองค์การ การวางแผนกลยุทธ์ การมีวิสัยทัศน์ และการสื่อสาร สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ค่าเฉลี่ยโดยรวม มีการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยเรียนลำดับค่าเฉลี่ยจาก มากไปน้อย ดังนี้ การใช้ความคิดเชิงกลยุทธ์ การมีมนุษยสัมพันธ์ การสร้างวัฒนธรรมองค์การ การวางแผนกลยุทธ์ การสื่อสาร และการมีวิสัยทัศน์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-10-12
Issue
Section
Articles