บทบาทของการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและผดุงครรภ์ ป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาวัยรุ่นได้หรือไม่? การศึกษานำร่องถึงความเป็นไปได้ Is There a Role of Social Support from the Family and Midwives to Prevent the Development of Postpartum Depressi
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ ความยอมรับได้ และผลเบื้องต้นของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยการนำของพยาบาลต่อการป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาวัยรุ่น วิธีการศึกษา: มารดาวัยรุ่นจำนวน 27 คนถูกประเมินเข้าร่วมการศึกษา ท้ายที่สุดมีมารดาวัยรุ่น 5 คนที่มีคะแนนภาวะซึมเศร้าน้อยกว่า 13 คะแนน และผู้สนับสนุนหลักของมารดาวัยรุ่น 5 คนเข้าร่วมการศึกษาโปรแกรมนี้มีกิจกรรมสนับสนุนจากผู้สนับสนุนหลักของมารดาวัยรุ่นและพยาบาล โปรแกรมมี 4 ช่วงร่วมกับการเยี่ยมบ้านรวมเวลาทั้งหมด 4 สัปดาห์ ความเป็นไปได้ประเมินจากอัตราการเข้าร่วมและอัตราการออกกลางคัน ความยอมรับได้ประเมินจากแบบประเมินที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง (4 สัปดาห์หลังคลอด) และระยะติดตามผล (6 สัปดาห์หลังคลอด) คะแนนมากกว่า 13 คะแนนขึ้นไปบ่งชี้ว่ามารดาวัยรุ่นมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทุกคนเข้าร่วมในโปรแกรมครบทุกกิจกรรม ทั้งยังรายงานว่าโปรแกรมนี้มีส่วนช่วยและมีประโยชน์ต่อการป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมนี้ คะแนนนภาวะซึมเศร้าหลังคลอดลดลงอย่างต่อเนื่องจากระยะก่อนการทดลองจนถึงระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล (P-value < 0.001) และทั้งสามระยะต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05 สำหรับการเปรียบเทียบทั้งสามคู่) สรุป: โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยการนำของพยาบาลมีความเป็นไปได้ ความยอมรับได้ และแสดงผลเบื้องต้นในการป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาวัยรุ่น การศึกษาครั้งต่อไปควรเป็นเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุม และใช้ตัวอย่างจำนวนมากกว่านี้คำสำคัญ: มารดาวัยรุ่น, ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด, การป้องกัน, การสนับสนุนทางสังคม, การศึกษาความเป็นไปได้ Abstract Objectives: To determine the feasibility, acceptability and preliminary effectiveness of the Nurse–Led Social Support Program (NLSS program) to prevent PPD among adolescent mothers. Methods: Out of 27 adolescent mothers assessed for eligibility, a total of 5 adolescent mothers who had Edinburgh Postnatal Depression Scale (EPDS) scores of < 13 points and 5 primary family members were enrolled in the program. The NLSS program is an intervention combining the support from family members of adolescents and midwives. The program consisted of four sessions with home-visit over a period of 4 weeks after childbirth. Feasibility was assessed by considering attendance and drop-out rates, and acceptability by the evaluation form developed by the researchers. PPD was assessed by EPDS with scores > 13 points at baseline, post-intervention (4-weeks postpartum) and follow-up (6-weeks postpartum). Repeated measures ANOVA were used to analyze the data. Results: All participants completely participated in all sessions and activities of the program. They reported the program as helpful and useful in preventing PPD and expressed satisfaction with the program. The EPDS scores decreased over from baseline to post-intervention and follow-up (P-value < 0.001) and each of the 3 pairs of comparison were significance (P-value < 0.05 for all). Conclusions: The findings indicated the NLSS program was feasible, acceptable and effective for preventing PPD in adolescent mothers. A randomized controlled trial with a larger sample size should be conducted. Keywords: dadolescent mothers, feasibility study, postpartum depression, prevention, social supportDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-29
Issue
Section
Original Research Article - นิพนธ์ต้นฉบับ
License
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นสิทธิ์ของไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ การนำข้อความใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นฉบับไปตีพิมพ์ใหม่จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของต้นฉบับและวารสารก่อน
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์