อิทธิพลของสมาร์ทออฟฟิศที่มีต่อพฤติกรรมการทำ งาน เชิงนวัตกรรมของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในอุตสาหกรรมดิจิทัล กรณีศึกษา กลุ่มบริษัท

Sea Thailand Influence of Smart Office on Innovative Working Behavior of Gen Y Employees in Digital Industry: A Case Study of The Sea Thailand Group

Authors

  • กนกพร มดทองคำ คณะบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ คณะบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Keywords:

สมาร์ทออฟฟิศ, พฤติกรรมการทํางานเชิงนวัตกรรม, กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านสมาร์ทออฟฟิศที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการ ทำ งานเชิงนวัตกรรมของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในอุตสาหกรรมดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัยครั้งนี้ได้แก่ พนักงานของกลุ่มบริษัท Sea Thailand จำ นวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการวิจัย โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอ้างอิง คือ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 เพื่อ วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยด้านสมาร์ทออฟฟิศที่มีต่อพฤติกรรมการทำ งานเชิงนวัตกรรม ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านสมาร์ทออฟฟิศทั้ง 4 ด้าน อันได้แก่ ส่วนพื้นที่ปฏิบัติงาน (Based Zone) ส่วนพื้นที่ สร้างสรรค์(Creative Zone) ส่วนพื้นที่ต้องใช้สมาธิ(Concentration Zone) และส่วนพื้นที่สำ หรับ ผ่อนคลาย (Refresh Zone) ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำ งานเชิงนวัตกรรมทั้งในระดับบุคคลและระดับ องค์กร โดยส่วนพื้นที่สำ หรับผ่อนคลาย (Refresh Zone) ส่งผลในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการ ทำ งานเชิงนวัตกรรมระดับบุคคลมากที่สุด ในขณะที่ส่วนพื้นที่ปฏิบัติงาน (Base Zone) ส่งผลใน ทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการทำ งานเชิงนวัตกรรมระดับองค์กรมากที่สุด

References

กนกกร ธรรมโภคิน. (2548). วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อการจัดและการใช้พื้นที่สําานักงาน. วิทยานิพนธ์สถ.ม. (การประกอบการ). ปทุมธานี: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

ชาตรี มานะเพ็ญศิริ. (2558). อิทธิพลของการวมกลุ่มธุรกิจ SCG CBM ที่มีผลต่อพฤติกรรมการทําางานเชิงนวัตกรรม. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. ถ่ายเอกสาร.

ชื่นชอบ นิศามณีพงษ์. (2559). รูปแบบการจัดสําานักงานที่ส่งผลต่อความสามารถในการแลกเปลี่ยนความรู้และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร กรณีศึกษา กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือกองทัพเรือ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. ถ่ายเอกสาร.

นิภา วิริยะพิพัฒน์. (2549). การจัดรูปแบบสําานักงานเพื่อการเรียนรู้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 26(1): 12-26.

พยัค วุฒิรงค์. (2557). กรอบแนวคิดการพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์การการบูรณาการแนวคิดทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์การและองค์การแห่งการเรียนรู้.วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 54(1): 21-48.

รัชปราณี ชํานาญณรงค์. (2553). รูปแบบในการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในสําานักงานที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการทําางานตามทัศนะของพนักงาน กรณีศึกษา KTC Smart Office.วิทยานิพนธ์ บธ.ม.(การประกอบการ). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.

เอกชาติ จันอุไรรัตน์. (2551). 3 ทศวรรษกับงานออกแบบตกแต่งภายในของไทย. กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จํากัด มหาชน.

Bhuyar, R., & Ansari, S. (2016). Design and Implementation of Smart Office Automation System. International Journal of Computer Applications, 151: 37-42.

Harvard Business School. (2003). Managing Creativity and Innovation. Boston: HarvardBusiness School Press.

Kanter, R. M. (1988). When A Thousand Flowers Bloom: Structural, Collective, and Social Conditions for Innovation in Organizations. Knowledge Management and Organisational Design, 10: 93-131.

Nicoll, G., & Zimring, C. (2009). Effect of Innovative Building Design on Physical Activity. Journal of Public Health Policy, 30(1): S111-S123.Nunnally, J.C. (1978). Psychometric Theory. 2nd ed. New York: McGraw-Hill.

Downloads

Published

2024-04-29