การใช้ธรรมชาติจำลองเพื่อช่วยฟื้นฟูจิตใจจากความเหนื่อยล้าสำหรับพื้นที่การอ่านในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (APPLYING SIMULATED NATURE AS RESTORATIVE ENVIRONMENT FOR READING AREAS IN CHIANG MAI UNIVERSITY LIBRARY)
Abstract
งานวิจัยนี้ใช้การจำลองสภาพแวดล้อมธรรมชาติเพื่อช่วยฟื้นฟูจิตใจจากความเหนื่อยล้าสำหรับพื้นที่การอ่านในหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของรูปแบบของสภาพแวดล้อมธรรมชาติจำลองที่สามารถช่วยฟื้นฟูจิตใจจากความเหนื่อยล้า (Restorative Environment) และนำความสนใจให้กลับคืนมาสำหรับการอ่าน ในพื้นที่สำหรับการอ่านในหอสมุด 3 แบบ ได้แก่ 1) พื้นที่การอ่านทั่วไป 2) พื้นที่การอ่านกลุ่ม และ 3) พื้นที่การอ่านส่วนบุคคล ในแต่ละพื้นที่จะมีการจำลองสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติขึ้นสามระดับ ระดับที่ 1 สภาพแวดล้อมเดิม ระดับที่ 2 สภาพแวดล้อมจำลองธรรมชาติ 2 มิติ และระดับที่ 3 สภาพแวดล้อมจำลองธรรมชาติ 3 มิติ และให้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษา 120 คน ทำการประเมินโดยใช้แบบสอบถามการวัดระดับการรับรู้การฟื้นฟูจิตใจจากความเหนื่อยล้า (Perceived Restorativeness Scale: PRS) ร่วมกับการประเมินความชื่นชอบ และทดสอบสมมติฐานโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการรับรู้การฟื้นฟูจิตใจจากความเหนื่อยล้าระหว่างระดับของสภาพแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า สำหรับพื้นที่การอ่านทั้ง 3 แบบ สภาพแวดล้อมจำลองธรรมชาติ 3 มิติ มีค่าเฉลี่ยการประเมินการรับรู้การฟื้นฟูสูงกว่าสภาพแวดล้อมเดิมและสภาพแวดล้อมจำลองธรรมชาติ 2 มิติ อย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าการออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับการอ่าน โดยใช้สภาพแวดล้อมธรรมชาติจำลอง 3 มิติ สามารถช่วยฟื้นฟูจิตใจจากความเหนื่อยล้าสำหรับการอ่านในหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้คำสำคัญ: หอสมุด สภาพแวดล้อมฟื้นฟู ทฤษฎีฟื้นฟูความสนใจ การจำลองธรรมชาติThis research study the effect of simulated nature as restorative environment according to the Attention Restoration Theory (ART) to help restore the mind from voluntary attention fatigue from reading in library reading areas. The research focuses on three types of reading areas, which are 1) general reading area; 2) group reading area; and 3) personal reading area. In each area, three levels of environmental condition are simulated; Level 1-original environment; Level 2-2D simulation of natural environment; and Level 3-3D simulation of natural environment to be displayed in the virtual desktop presentation. 120 volunteered participants evaluated each condition using the short version of the Perceived Restorativeness Scale (PRS) together with preference rating on questionnaire. The results from all the reading areas reveal that the averaged PRS scores for the 3D simulation of natural environments are significantly higher than those of the original environments and the 2D simulation of natural environments. The results confirm that the 3D simulation of natural environment can be implemented in the reading areas as restorative environment to restore the mind from reading fatigue.Keywords: Library, Restorative Environment, Attention Restoration Theory, Simulated NatureDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-30
How to Cite
ชมเสียง ศ., & เลขะกุล อ. (2021). การใช้ธรรมชาติจำลองเพื่อช่วยฟื้นฟูจิตใจจากความเหนื่อยล้าสำหรับพื้นที่การอ่านในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (APPLYING SIMULATED NATURE AS RESTORATIVE ENVIRONMENT FOR READING AREAS IN CHIANG MAI UNIVERSITY LIBRARY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(25, January-June), 120–132. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/13714
Issue
Section
บทความวิจัย