วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd
<p><span style="font-size: 0.875rem;"><strong>วัตถุประสงค์ของวารสาร</strong> <br />1. เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มีคุณภาพ <br />2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางการวิจัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ <br />3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการวิจัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์<br /><br /><strong>กำหนดเผยแพร่</strong> ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม)<br /><strong><br />วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)</strong> เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย [Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre] และอยู่ใน <strong>วารสารกลุ่มที่ 1</strong> (จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567)<br /><br /><strong>กองบรรณาธิการวารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)</strong> ไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ (Processing fees and/or Article Page) จากผู้นิพนธ์บทความ<br /></span></p>สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒen-USวารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)0857-5290กองบรรณาธิการ
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15058
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-291428คุณค่าของบทเพลงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (SONG VALUE IN REMEMBRANCE OF HIS MAJESTY KING BHUMIBOL ADULYADEJ THE GREAT)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15030
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของบทเพลงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทางด้านจริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลที่เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2489 ถึง ปัจจุบัน จำนวน 127 บทเพลง วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการพรรณนาความ บนพื้นฐานแนวคิด “บทเพลงที่สะท้อนภาพพระจริยวัตรและพระราชกรณียกิจในพระองค์ และบทเพลงที่สะท้อนถึงความคิด ความเชื่อ และอารมณ์สะเทือนใจ ที่ผู้ประพันธ์ในฐานะตัวแทนในการถ่ายทอดความรู้สึกต่าง ๆ ในจิตใจของเหล่าพสกนิกร ก่อให้เกิดจิตสำนึกของมนุษย์ในสังคมชุมชนได้” ผลการวิจัยพบว่า คุณค่าของบทเพลงเมื่อพิจารณาจากเนื้อหา มี 2 ประการคือ 1) คุณค่าทางด้านจริยศาสตร์ คือลักษณะเนื้อหาที่เป็นความดี ได้แก่ การเป็นผู้ให้ ความเป็นผู้ประพฤติดี ความเสียสละ ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความอดทน ความเที่ยงธรรม ความเมตตาความจงรักภักดี และความกตัญญู 2) คุณค่าทางด้านสุนทรียศาสตร์ คือลักษณะเนื้อหาที่เป็นความงาม ได้แก่ ความซาบซึ้งใจ ความกินใจหรือประทับใจ ความภาคภูมิใจ ความพอใจ สุขใจหรืออิ่มเอมใจความเพลิดเพลินหรือรื่นรมย์ใจ ความโศกเศร้าหรือรันทดใจ และความเห็นอกเห็นใจ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า <br />คุณค่าทางด้านจริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ในบทเพลงทำให้เหล่าพสกนิกรรู้สึกซาบซึ้งประทับใจในถ้อยคำและข้อความจากบทเพลงที่กล่าวถึงคุณงามความดี น้อมนำให้เกิดความรู้สึกจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ในหลวงรัชกาลที่ 9 บทเพลงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ คุณค่า จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์</p> <p>This article aims to study the values found in songs in loving memory of His Majesty King Bhumibol Adulyadej the Great in the aspects of King’s prosperous behavior and his royal duties. His Majesty the King the Great spent 70 years developing the nationwide Royal Projects and making Thai people’s lives better. The 127 songs have been collected from 1946 up to the present and the descriptive analysis makes through the contents and the social contexts from the songs which reflect King’s prosperous behavior and his royal duties and from the thoughts, beliefs and emotions of Thai people that the composers represent through their songs. Based on the concept, songs can make people emotionally stable and conscientious. The findings: there are 2 values: 1) The ethics values from the content are; giving, morality, sacrifice, honesty, gentleness, perseverance, forbearance, equity, kindness, loyalty, and gratefulness. 2) The aesthetics values are; appreciation, impression or touching, proudness, satisfaction happiness or complacence, enjoyment or delightfulness, sadness or melancholy and sympathy. Conclusion: Both the ethic and aesthetic values from the songs induce people to make the allegiance to His Majesty King Bhumibol Adulyadej.<br /><br /><strong>Keywords:</strong> King Rama IX, Song in Remembrance of King Rama IX, Values, Ethics, Aesthetic</p>ฉัตรชัย อภิวันท์สนองหทัยรัตน์ ทับพรอัควิทย์ เรืองรอง
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-291428113ความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับจีนภายใต้กรอบ BRI และผลกระทบต่อความมั่นคงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (RELATIONSHIP BETWEEN CAMBODIA AND CHINA UNDER THE BRI FRAMEWORK AND IMPACT ON SOUTHEAST ASIA SECURITY)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15038
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาเป้าหมายของจีนด้านความมั่นคงต่อความสัมพันธ์ และความสำคัญของกัมพูชาภายใต้กรอบ BRI 2. ศึกษาปัจจัยที่ทำให้กัมพูชาร่วมมือกับจีนในโครงการภายใต้กรอบของ BRI 3. ศึกษาแนวโน้มของผลกระทบจากความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับจีนภายใต้กรอบ BRI ต่อความมั่นคงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยกรอบแนวคิดการวิจัย ซึ่งใช้แนวคิดความเชื่อมโยงด้านความมั่นคง (Security Complex) และเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. เป้าหมายของจีนด้านความมั่นคงต่อสัมพันธ์และความสำคัญของกัมพูชาภายใต้กรอบ BRI คือ การปกป้องผลประโยชน์ของจีนในต่างประเทศและการขยายอิทธิพลของจีนสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกัมพูชาเป็นหนึ่งในฐานที่มั่นสำคัญที่จีนวางไว้ โดยใช้ความร่วมมือผ่านโครงการภายใต้กรอบของ BRI เป็นกลไกในการขับเคลื่อน 2. ปัจจัยที่ทำให้กัมพูชาร่วมมือกับจีนในโครงการภายใต้กรอบของ BRI ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายใน รัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำของสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน ต้องการใช้โครงการภายใต้กรอบ BRI ในการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางการเมืองให้กับตนเอง 2) ปัจจัยภายนอก ต้องการให้จีนปกป้องและส่งเสริมบทบาทของกัมพูชาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้โดดเด่นมากขึ้น ซึ่งความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศเป็นแบบสมประโยชน์ 3. แนวโน้มของผลกระทบจากความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับจีนภายใต้กรอบ BRI ต่อความมั่นคงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การขยายอิทธิพลของจีนสู่เอเชียจะวันออกเฉียงใต้ 2) ดุลอำนาจของประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3) ความสัมพันธ์และความมั่นคงของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เส้นทางสายไหมใหม่ กัมพูชา ความมั่นคงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้</p> <p>This research answered to 3 main objectives; 1. to study the goals of China on security the relationship with Cambodia and its importance under the BRI framework 2. to study the factors that led to Cambodia - China cooperation under the BRI framework 3. to study the inclined impacts of Cambodia – China cooperation under the BRI framework on Southeast Asia security. The research framework applied the concept of Security Complex. The data obtained from both sources were analyzed and elaborated by means of descriptive writing. 1. The research result found that the goals of China on security the relationship with Cambodia and its importance under the BRI framework was protecting the China’s oversea interests and wide-spreading Chinese influences on Southeast Asia. Cambodia then became one of the main headquarters carefully placed by China using BRI framework cooperation as a crucial driven function. 2. The factors that led to Cambodia cooperation with China under the BRI framework consisted of 1) internal factor, the Cambodian government under the leadership of Hun Sen intended to use project under BRI framework to generate economic prosperity which would advocate their political stability 2) external factor, Cambodia needed China protections and supports to prevail in the Southeast Asia region. Therefore, the relationship between the two nations was win-win. 3. The inclined impacts of Cambodia – China cooperation under the BRI framework on Southeast Asia security were 1) the wide-spreading influences of China into Southeast Asia 2) the attempt of powerful nations to maintain the balance of powers in Southeast Asia 3) the relationship and security of Southeast Asia nations.</p> <p><strong>Keywords:</strong> BRI, New Silk Road, Cambodia, Southeast Asia Security</p>ชนกพร ทองตากรณ์
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-2914281427การศึกษาผลกระทบการเข้าสู่สังคมสูงวัยต่ออัตราการเจริญเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไทย (A STUDY OF THE IMPACTS OF AGING SOCIETY ON GROSS DOMESTIC PRODUCT GROWTH IN THAILAND)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15039
<p>งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์และมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบของการเข้าสู่สังคมสูงวัยในประเทศไทยต่ออัตราการเจริญเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลาตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2543 จนถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2562 (n = 80) คณะผู้วิจัยใช้อัตราการเจริญเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศประเทศไทยเป็นตัวแปรตามและใช้ปัจจัยทางเศรษฐกิจ 5 ตัวแปร เป็นตัวแปรอิสระซึ่งตัวแปรทุกตัวจะอยู่ในรูปอัตราการเจริญเติบโต ได้แก่ การบริโภค (C) การลงทุนของภาคเอกชน (I) รายจ่ายของรัฐบาล (G) การส่งออกสุทธิ (NX) และอัตราส่วนพึ่งพิงของผู้สูงอายุต่อจำนวนกำลังแรงงาน งานวิจัยนี้ใช้วิธีสมการถดถอยกำลังสองน้อยที่สุด (OLS) และใช้อัตราส่วนพึ่งพิงของผู้สูงอายุต่อจำนวนกำลังแรงงานเป็นตัวแทนของการเข้าสู่สังคมสูงวัย ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเจริญเติบโตของการบริโภค (C) การลงทุนของภาคเอกชน (I) รายจ่ายของรัฐบาล (G) และการส่งออกสุทธิ (NX) ส่งผลบวกต่ออัตราการเจริญเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่อัตราการเจริญเติบโตของอัตราส่วนพึ่งพิงของผู้สูงอายุส่งผลลบต่ออัตราการเจริญเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของประเทศ ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรที่เกิดขึ้น ประเทศไทยจึงควรดำเนินนโยบายเพิ่มกำลังแรงงานในระบบเศรษฐกิจโดยการวางแผนนโยบายการจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับประชากรสูงอายุเพื่อเศรษฐกิจไทยจะได้ก้าวสู่สังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> สังคมสูงวัย ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ อัตราส่วนพึ่งพิงของผู้สูงอายุ ข้อมูลอนุกรมเวลา</p> <p>This research is an empirical study, and the objective is to study and analyze the impacts of aging society on Thailand’s GDP growth by applying time series data from Q1 in 2000 to Q4 in 2019 (n=80). The authors use Thailand’s GDP growth as a dependent variable and 5 economic determinants as independent variables. Each variable is in the form of the rate of growth, which are consumption (C), investment (I), government spending (G), net export (NX), and old-age dependency ratio. The study uses the OLS regression model and applies the old-age dependency ratio as a proxy for the aging society. The results show that consumption (C), investment (I), government spending (G), and net export (NX) in the form of the rate of growth have a significant positive effect on GDP growth. However, the growth rate of the old-age dependency ratio has a significant negative effect on GDP growth. That is, the increase in the aging population is one of the negative factors affecting the country's growth. Therefore, in order to prepare and cope with the changing situation of the population structure that occurs, Thailand should implement a policy to increase the labor force in the economy by planning appropriate employment policies for the elderly population in order to move Thai economy towards a sustainable aging society.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Aging Society, GDP, Old-Age Dependency Ratio, Time Series Data</p>ณัฐญา ประไพพานิชจิตสุภา เหลืองอร่ามพัทร์ธีรา โมขศักดิ์อัยรีน ผิวเหลือง
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-2914282843บทสนทนาตลกที่พบในรายการ “แฉ”: การวิเคราะห์บทสนทนา (CONVERSATIONAL JOKING IN THE THAI TV SHOW “CHAE”: CONVERSATIONAL ANALYSIS)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15041
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้าง รูปแบบ และหน้าที่ของความตลกในบทสนทนาตลก ในรายการ “แฉ” โดยใช้กรอบแนวคิดของ Norrick [1] ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์พบว่า โครงสร้างความตลกในบทสนทนาตลกในรายการ “แฉ” มีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ 1) การนำเรื่องหรือเนื้อความ 2) การส่งมุกตลก และ 3) การยิงมุกตลก โดยการส่งมุกตลกสามารถปรากฏหรือไม่ปรากฏได้ในการสนทนาตลก ส่วนรูปแบบของความตลกในบทสนทนาตลกในรายการ “แฉ” ที่พบมากที่สุด คือ เกร็ดขำขัน ที่เป็นประสบการณ์ของผู้เล่าเป็นส่วนใหญ่ รองลงมา คือ การแฝงนัย และการเล่นคำ ตามลำดับ นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์พบหน้าที่ของความตลกในบทสนทนาตลก คือ หน้าที่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี รองลงมา คือ หน้าที่แสดงความก้าวร้าว สะท้อนให้เห็นถึงการใช้เรื่องตลกในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งเป็นลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งของคนไทย</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ความตลก บทสนทนาตลก เรื่องตลก</p> <p>The objective of this research was to analyze the structure, form and interpersonal function of conversational humor in the “Chare” TV show using Norrick’s framework [1]. The results revealed that the structure of humorous discourse in the “Chare” program consisted of three components: 1) build-up 2) pivot and 3) punchline. Pivot may or may not appear in the conversational joking. The most common form of humor in conversational joking was personal anecdotes, which were mostly experienced by the narrator, followed by irony and wordplay. In addition, the analysis revealed that the functions of conversational humor include rapport, followed by aggression. The research shows that the use of jokes in creating good relationship is one of the characteristics of Thai people.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Humor, Conversational Joking, Jokes</p>บุญจิรา ท่าหลวงศิริพร ปัญญาเมธีกุล
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-2914284445การสังเคราะห์ภาพและแก่นสาระของชายรักชายที่ปรากฏในงานวิจัยในประเทศไทย : การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (SYNTHESIS OF IMAGES AND THEMES OF MSM THAT APPEAR IN RESEARCH WORK IN THAI SOCIETY: RESEARCH SYNTHESIS BY SYSTEMATIC REVIEW)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15040
<p>บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ภาพที่ปรากฏในงานวิจัย และแก่นสาระในการศึกษาชายรักชายในงานวิจัยในสังคมไทย ผ่านการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบตามแนวคิดของ Joanna Briggs Institute และการวิเคราะห์แก่นสาระของ Braun และ Clarke มาเป็นกรอบในการคัดเลือกและศึกษา ค้นคว้าข้อมูลจากระบบการจัดการวารสารออนไลน์ และฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย ซึ่งมีจำนวนกว่า 100 ชิ้น โดยมีเกณฑ์ในการคัดออกของเนื้อหาคือต้องไม่ใช่บทความที่ปรากฏเฉพาะบทคัดย่อ รวมทั้งต้องเป็นงานวิจัยที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่ศึกษาในประเทศไทย หรือบริบทประเทศไทยเท่านั้น ผลการศึกษาพบว่า ภาพที่ปรากฏจากการสังเคราะห์ภาพที่ปรากฏในงานวิจัย คือ ภาพที่ปรากฏเชิงบวกที่หมายถึงการศึกษาจำนวนมากพยายามทำความเข้าใจชายรักชายว่าเป็นคนดีและเป็นเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง และแก่นสาระในวิทยานิพนธ์พบการสื่อสารเพื่อ “การต่อสู้” ร่วมกับ “ธำรงรักษา” ไปพร้อม ๆ กัน และ “การหลีกหนีสังคม” ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียงการหนีจากการใช้พื้นที่ออฟไลน์เท่านั้น เพราะในปัจจุบันชายรักชายมักสื่อสารผ่านพื้นที่ออนไลน์มากขึ้นตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้วิจัยจึงวิเคราะห์เพิ่มเติมโดยใช้เกณฑ์ประเภทการปรากฏตัวในพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ มิติพื้นที่แบบเห็นหน้าเจอตัวกันจริง มิติพื้นที่ในสื่อดั้งเดิม และสุดท้ายมิติพื้นที่ออนไลน์ ซึ่งผลการศึกษาที่พบคล้ายคลึงกันคือการสื่อสารเพื่อต่อสู้ในฐานะบุคคลธรรมดา การพยายามธำรงรักษาความเป็นชายรักชายผ่านการสื่อสารระหว่างกัน และการพยายามหลีกหนีสังคมเนื่องจากสังคมรอบข้างยังไม่ยอมรับมากเท่าที่ควร จึงทำให้ต้องแสวงหาพื้นที่ เพื่อแสดงออกถึงความเป็นชายรักชาย รวมทั้งการรวมตัวกันเป็นกลุ่มชายรักชายเพื่อนำเสนอสิ่งที่ชายรักชายต้องการ</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ชายรักชาย สังคมไทย</p> <p>This article aims to synthesize the images that appear in the research and the theme of the study of MSM in academic work in Thai society. Data were analyzed using a systematic review of the Joanna Briggs Institute and the thematic analysis of Braun and Clarke. Researching information from an online journal management system and Thai thesis database, which is more than 100 cases, with the exclusion criteria is, must not be an article that appears only on abstracts. It must also be a research work in Thai or English that only studies Thailand or the context of Thai society. The study found that the images featured in the research are positive, meaning many studies were trying to understand MSM as a good man and human. And the theme of the thesis found that MSM communicates for “Fight”, “Maintaining”, and “Escape”. which is just an escape to take up offline space. In nowadays, MSM is more likely to contact through online space as social conditions change. Thus, the researchers analyzed the presence-type criteria in different areas such as On-ground, On-air, and On-line. But the results are similar: MSM uses communication to fight as an individual and maintain MSM through communicating with each other. Including trying to escape society because the surrounding is not as acceptable as it should be. As a result, MSM must seek different areas to present themselves and gather together as an MSM group to offer what they want.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Systematic Review, MSM, Thai Society</p>เบญจรงค์ ถิระผลิกะอรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุลวัชรพล พุทธรักษา
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-2914285669การศึกษาความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ กรณีศึกษา: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง (A STUDY OF ADVERSITY QUOTIENT (AQ) AMONG PHARMACY STUDENTS: A CASE STUDY IN A PRIVATE UNIVERSITY)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15045
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาและเกรดเฉลี่ยสะสมของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2561 จำนวน 220 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับแบบ Likert ที่ตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.856 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง คือ 3.72±.522 พบว่า มิติด้านผลกระทบ (Reach) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.09±.683 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง และมิติด้านความอดทน (Endurance) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ 3.40±.703 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ Independent Sample t-Test พบว่า นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคไม่แตกต่างกัน (p-value 0.784) และจากทดสอบด้วย One-Way ANOVA พบว่า นักศึกษาที่มีอายุต่างกันมีความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ไม่แตกต่างกัน (p-value 0.560) ส่วนนักศึกษาที่มีระดับการศึกษาและเกรดเฉลี่ยสะสมที่ต่างกันมีความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value 0.019 และ 0.003 ตามลำดับ)</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค นักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน</p> <p>The objectives of this study were to study the level of adversity quotient (AQ) and to study related factors including gender, age, academic level and cumulative GPA among samples of 220 pharmacy students studying in academic year 2018 at a private university. Data was collected by using 5-level rating Likert scale questionnaires that measured their reliability with Cronbach's Alpha coefficient of 0.856. The results of the study showed that mean of adversity quotient quite high 3.72 ±.522. It was found that the dimension of reach had the highest mean of 4.09 ± .683 which was considered to be quite high and the endurance dimension was the lowest mean 3.40 ± .703 which was at the moderate level. The results of hypothesis testing with Independent Sample t-Test found that there was no statistically significant difference adversity quotient in different genders students (p-value 0.784). Tested with One-Way ANOVA students of different ages had no statistically significant difference adversity quotient (p-value 0.560). Students with different academic levels and cumulative GPA have statistically significant different adversity quotient at the 0.05 level (p-values 0.019 and 0.003 respectively).</p> <p><strong>Keywords:</strong> Adversity Quotient, Pharmacy Students, Private University</p>ปิยะวัน วงษ์บุญหนักศรัณย์ กอสนานปพิชญา แสวงผลนัสเรีย นิมะยุ
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-2914287080การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของนิสิตครู ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15046
<p>การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของนิสิตครู และ 2. ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นิสิต จำนวน 265 คน อาจารย์พี่เลี้ยง จำนวน 9 คน อาจารย์นิเทศก์ จำนวน 9 คน ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 1 ภาคเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ แบบประเมินทักษะการเป็นครูในอนาคต แบบประเมินทักษะการสังเกตเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการสะท้อน ผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ แบบประเมินการทำหน้าที่อาจารย์นิเทศก์/อาจารย์พี่เลี้ยง และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นใช้เทคนิคการสอนงานโดยใช้กระบวนการการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ใช้แนวการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา การจัดการเรียนรู้ของนิสิตครูที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา และพัฒนาการทำหน้าที่อาจารย์นิเทศก์/อาจารย์พี่เลี้ยง โดยมีหลักการ มี 7 ข้อ ขั้นตอนการดำเนินการใช้รูปแบบ มี 4 ขั้นตอน ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า นิสิตครูที่ใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีพัฒนาการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อาจารย์พี่เลี้ยง/อาจารย์นิเทศก์ ที่ใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีพัฒนาการการทำหน้าที่อาจารย์พี่เลี้ยง/อาจารย์นิเทศก์ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> รูปแบบ การฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู</p> <p>The current research purposes to (1) to develop a pattern of teaching practicum throughout a process of action research at Ongkharak Demonstration School, Srinakharinwirot University in order to develop pre-service teachers’ instruction and (2) to investigate effectiveness of implementing the pattern which was developed. The sample of the research includes 265 pre-service teachers, 9 school mentors, and 9 university supervisors. The data collection is of a one-semester duration. The instruments of the research are composed of (1) an instruction manual of the pattern of teaching practicum throughout the process of action research at Ongkharak Demonstration School, Srinakharinwirot University, (2) an assessment form of teacher skill, (3) an assessment form of observation skill, (4) an assessment form of reflection skill, (5) an assessment form of responsibilities of school mentors or university supervisors, and (6) an interview form of opinions toward the developed pattern. The quantitative data were analyzed with percentage, mean, and standard deviation, and T-test, and the qualitative data were analyzed with content analysis. The results reveal that the developed pattern with a technique of coaching and mentoring and a learning process throughout reflective thinking aims to improve the pre-service teachers’ instruction in the school and to develop responsibilities of school mentors or university supervisors The principle 7 items procedure. The procedure for implementing 4 pattern. The effectiveness of the developed pattern is revealed that the pre-service teachers who implemented the pattern developed in their instruction after the experiment with the significantly statistical level 0.05; besides, the school mentors or the university supervisors who implemented the pattern developed in the responsibilities as the school mentors or the university supervisors more than the period before the experiment with the significantly statistical level 0.05.</p> <p><strong>Keywords:</strong> The Pattern, Teaching Practicum, Teacher Profession</p>พจณิชา ฤกษ์สมุทร
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-2914288192กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล จังหวัดกรุงเทพมหานคร
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15047
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) ศึกษาสภาพการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของครูอาชีวศึกษา 3) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและสภาพการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการนำกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมไปปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) ครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล จังหวัดกรุงเทพมหานคร 17 แห่ง จำนวน 196 คน โดยใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ 2) ครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล 1 แห่ง จำนวน 25 คน โดยใช้แบบสอบถามสภาพและปัญหาเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) ผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล 1 แห่ง จำนวน 9 คน โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากลยุทธ์ และ 4) ผู้เชี่ยวชาญในวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล 1 แห่ง จำนวน 5 คน โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้างและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาโมเดลปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของครูอาชีวศึกษาตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยปัจจัยด้านเครือข่ายทางสังคม ปัจจัยด้านการเปิดกว้างทางความคิด ปัจจัยด้านลักษณะการคิดริเริ่ม และปัจจัยด้านการสนับสนุนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) สภาพการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.70, S.D. = 1.16) สภาพปัญหา คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ขาดการติดตามและประเมินผลอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการพัฒนายังไม่ตรงจุดและไม่ตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์และลักษณะงาน 3) กลยุทธ์ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม จำนวน 12 กลยุทธ์ ครอบคลุมกลยุทธ์ 4 ประเภท ได้แก่ กลยุทธ์แบบ SO จำนวน 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์แบบ ST จำนวน 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์แบบ WO จำนวน 3 กลยุทธ์ และกลยุทธ์แบบ WT จำนวน 3 กลยุทธ์ และ 4) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการนำกลยุทธ์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมไปปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.23, S.D. = 0.81) ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมควรคำนึงถึงปัจจัยที่ส่งผลและสภาพแวดล้อมทุกด้านเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์การพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ซึ่งเมื่อนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติจริงจะได้สามารถสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาครูอาชีวศึกษาให้มีพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างตรงจุด และตอบโจทย์การพัฒนาต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม</p> <p>The purposes were to: 1) develop a model of causal factors affecting innovative working behavior, 2) study the current condition of human resource development, 3) develop strategies of human resource development according to the developed model and current condition, and 4) evaluate the appropriateness and possibility of the developed strategies for implementation. The sample group consisted of 1) 196 teachers in government’s vocational colleges in Bangkok to study causal factors with a questionnaire, 2) 25 teachers in the selected vocational college to study the current condition of human resource development with a questionnaire, 3) 9 head teachers and teachers in the selected vocational college to conduct a strategy development workshop with a record sheet, and 4) 5 administrators as experts in the selected vocational college to evaluate appropriateness and possibility of the developed strategies for implementation. Statistical methods used were means, standard deviation, structural equation model (SEM) analysis, and content analysis. The research results were 1) the causal model was valid and fit well with the empirical data. The social network, open mindedness, original thinking, and organizational support factors had influence on innovative working behavior, 2) the current condition of human resource development was at a high level (X ̅ = 3.70, S.D. = 1.16) while problems covered the ineffective human resource development, the lack of follow-up and systematic evaluation, and the unmatched development with development needs, 3) the strategies to enhance innovative working behavior of teachers consisted of vision, human resources development mission, 12 strategies, which were divided into 4 types of strategies, that is, SO strategy for 3 strategies, ST strategy for 3 strategies, WO strategy for 3 strategies, and WT for 3 strategies, and 4) the evaluation of the strategies’ appropriateness and possibility for implementation was at a high level (X ̅ = 4.23, S.D. = 0.81). In conclusion, human resource development strategies should start from the analysis of causal factors and all sides of organizational environment to establish appropriate and possible human resource development strategies for implementation in order to enhance innovative working behavior of vocational teachers direct to the point and developmental needs.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Human Resource Development Strategies, Causal Factors, Innovative Working Behavior</p>พัชรา วาณิชวศิน
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-29142893108การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15048
<p>การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 2. เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด หลักการ กระบวนการและวิธีการของการคิดเชิงออกแบบ และละครประยุกต์ รวมทั้งองค์ประกอบและคุณลักษณะของความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ตลอดจนการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ กำหนดเป็นร่างต้นแบบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ผลการวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการศึกษา การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เทคโนโลยีการศึกษา การคิดเชิงออกแบบ ละครประยุกต์ และความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม จำนวน 7 คน พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแบบองค์รวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.30 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.61 และมีข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น จากผู้ทรงคุณวุฒิในเชิงคุณภาพโดยสรุป คือ 1. แนวคิดทั้ง 2 ประการ คือ การคิดเชิงออกแบบ และละครประยุกต์ มีกระบวนการและวิธีการที่ทั้งสอดคล้องนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ในลำดับต่อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน 2. กระบวนการของละครประยุกต์สามารถช่วยให้เกิดสถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์สมมติ ตลอดจนการเลียนแบบพฤติกรรม ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้เรียนทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และ 3. ผู้วิจัยสามารถศึกษาเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันทางด้านสังคมศาสตร์เพิ่มเติม เพื่อนำเข้าไปใช้ในการจัดกิจกรรม หรือแผนการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ การคิดเชิงออกแบบ ละครประยุกต์ ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม</p> <p>The research, Development of a Learning Management Model in collaboration with Design Thinking and Applied Drama to enhance Innovative Creation Competency, aims to 1) develop a learning management model with design thinking in combination with applied drama process to promote innovation ability and 2) study the results of a learning management model with design thinking and applied drama process to promote innovation ability. The researcher studies documents related to the concepts, principles, processes, and methods of design thinking and applied drama, as well as the components and characteristics of innovative ability, and uses data to analyze and define a prototype of a design-thinking learning-management model. The research results gathered from seven experts in the fields of education, the development of learning management models, education technology, design thinking, applied drama, and creative innovation show that the suitability of a learning-management model with design thinking and applied drama promoting holistic innovation has the most suitable level at 4.30, and the standard deviation is 0.61. The experts have made these crucial recommendations: 1) Both design thinking and applied drama have consistent and different processes and methods, but they can be integrated to create to a learning-management method that focuses on promoting innovation. 2) The key concept of design thinking is to enable the target audiences to understand the various elements in which the process of applied drama can help to simulate scenarios and to imitate behavior to foster an exchange of ideas and experiences, to listen to others’ problems and needs, and to understand the feelings of the target audience. These things are essential to developing innovation. 3) To develop an effective learning-management model, the process or method of presentation related to design thinking and applied drama can make the learning-management plan much clearer, and 4) The researcher can further study the current situation in the social sciences and then use that information to formulate the next step of activities or learning-management plans. This will enable the students to better understand themselves and others, and thus lead to a combination of both designs thinking and an applied drama process.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Development of a Learning Management Model, Design Thinking, Applied Drama, Innovative Creation Competency</p>ภัทรนันท์ ไวทยะสินนัทธีรัตน์ พีระพันธุ์รัฐพล ประดับเวทย์
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-291428109120การศึกษาระบบนิเวศเมืองสำหรับสังคมผู้สูงอายุผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม (THE STUDY OF URBAN ECOLOGICAL FOR AGING SOCIETY THROUGH PROMOTING PARTICIPATORY PROCESS)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15049
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางวางแผนการพัฒนาระบบนิเวศเมืองสำหรับสังคมผู้สูงอายุผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม โดยศึกษาผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบซึ่งเป็นเครื่องมือการดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมสำหรับการวางแผนที่เหมาะสม ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ขึ้นไป อาศัยอยู่ภายในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 240 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาซึ่งมีขอบเขตในการพิจารณาระบบนิเวศสำหรับสังคมผู้สูงอายุทั้งหมด 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับบ้าน และระดับชุมชน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับบุคคล: ผู้สูงอายุบางกลุ่มมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อสุขภาวะของการสูงวัยที่ดี อาทิ การนอนผิดเวลา การรับประทานอาหารผิดเวลา การไม่ทำกิจกรรมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 2) ระดับบ้าน: มีความเสี่ยงในการอยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุเนื่องจากขาดสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยเอื้อต่อการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุอย่างปลอดภัยและลดความเสี่ยง อาทิ ราวจับพยุง ปุ่มกดฉุกเฉิน 3) ระดับสภาพแวดล้อมชุมชน: ความสามารถในการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของสังคมมีความเกี่ยวโยงกับบริบทของพื้นที่ ซึ่งสามารถเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนารูปแบบทางกายภาพให้เกิดความเหมาะสมต่อสังคมสูงวัยในพื้นที่ด้วยการสร้างกลไกการประสานงานในระดับพื้นที่ และสร้างเสริมนวัตกรรมในการดูแลผู้สูงอายุโดยส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งพัฒนาพื้นที่สำหรับกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมการออกกำลังกาย การพบปะสังสรรค์ และการฟื้นฟูที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มผู้สูงอายุ <br /><br /><strong>คำสำคัญ:</strong> การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ระบบนิเวศเมือง สังคมผู้สูงอายุ <br /><br />This study aims to propose an urban ecological development planning for the aging society through the design thinking process. By applying this tool to carry out workshop activities through the participation process among elderly people (60 years and over) who live in Ban Phaeo District, Samut Sakhon Province. With the sampling of 240 persons, the content analysis technique was applied to analyze ecological system for the elderly society at all 3 levels which are individual level, home level and community level. The results of the study demonstrated that; 1) individual level: most of elderly group have an inappropriate behavior towards good health such as quality of sleeping, irregular daily dietary, daily behaviors associated with less physical. 2) home level: there is a risk of elderly living due to lack of facilities that help facilitating the activities of aged group towards the safe living to reduce the daily risk. 3) environment level: the ability to access basic social services is related to the context of surrounding area which should turn into a lively neighborhood. The finding can lead policy suggestions for the urban development in term of physical forms for elderly society by creating coordination mechanisms at the area level while promoting innovation in elderly caring by promoting the use of modern technology. Furthermore, the consideration for an appropriate public space must be recommended to promote the activities of daily life (necessary activities) as well as creative and social relations, and improvement activities for elderly.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Participation, Urban Ecological Development, Aging Society</p>ภาวิณี เอี่ยมตระกูลสรารัตน์ ฉายพงษ์
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-291428121136ผลกระทบจากนโยบายยกเลิกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตรายที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของครัวเรือนไทย (IMPACT OF THE CANCELLATION POLICY OF USING DANGEROUS CHEMICAL PESTICIDES ON THE ECONOMY AND HOUSEHOLD INCOME INEQUALITY IN THAILAND)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15050
<p>บทความวิจัยนี้ได้ประเมินผลกระทบจากการยกเลิกนโยบายการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตราย (พาราควอต ไกลโฟเสท และคลอร์ไพริฟอส) ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ของไทย โดยใช้บัญชีเมตริกซ์สังคมปี 2561 ที่ถูกเพิ่มบัญชีค่ารักษาพยาบาลอันเกิดจากความเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีตามงานศึกษาของ Resosudarmo และ Thorbecke (1998) ผลการศึกษาพบว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตรายนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวมได้ ด้วยผลกระทบเชื่อมโยงไปข้างหลังที่สูงต่อภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมอาหารที่เกี่ยวข้อง ส่วนผลกระทบต่อการกระจายรายได้ยังไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากตัวทวีคูณด้านมูลค่าเพิ่มที่มีต่อค่าตอบแทนแรงงานของทั้งครัวเรือนภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรมีค่าไม่ต่างกันมาก ผลการศึกษาสามารถนำไปสู่ข้อสรุปเชิงนโยบายที่สำคัญได้ว่า รัฐบาลควรมีนโยบายรองรับผลกระทบทางด้านลบที่จะตามมาอย่างฉับพลันต่อระบบเศรษฐกิจ เช่น ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับภาคเกษตรเพื่อลดการพึ่งพาสารเคมี เพราะนอกจากจะยิ่งช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารจากการเป็นอาหารปลอดภัยแล้ว รัฐบาลเองก็จะสามารถนำเงินไปอุดหนุนแก่นโยบายสาธารณะอื่นได้ แทนที่จะใช้เงินเพื่อบรรเทาผลกระทบทางลบที่เกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตราย</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ บัญชีเมตริกส์สังคม ประเทศไทย</p> <p>This research article evaluates the impact of the cancellation policy regarding the use of dangerous chemical pesticides (Paraquat, Glyphosate, and Chlorpyrifos) on the economy and income distribution in Thailand. The Social Accounting Matrix 2018 which includes healthcare spending on pesticide-related illness resulting from dangerous chemical pesticide use is applied in this study, following the study of Resosudarmo and Thorbecke (1998). The findings reveal that pesticides have an effect on the entire economic system in Thailand, with a strong backward linkage to the related agricultural sector and the food industry, while the effect on income distribution appears unclear since there is not much difference in the value-added multiplier between the wages of agricultural households and non-agricultural households. It can be concluded from the results that in terms of a policy, the government should provide support to mitigating the upcoming effect on the economy. For example, supporting appropriate innovation and technology for agriculture to reduce pesticide use, thus raising the value of the agro-food industry through the verification of food safety. The government should also provide budget support for other public policies rather than concentrating merely on decreasing the negative effect of pesticide usage.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Pesticide, Economic Impact, Income Distribution, Social Accounting Matrix, Thailand</p>วชิรวิทย์ พุทธชัยจารึก สิงหปรีชาจิราคม สิริศรีสกุลชัย
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-291428137150ความอยู่ดีมีสุขและระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน (WELLBEING AND CARE SYSTEM FOR PALLIATIVE CARE IN A COMMUNITY)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15051
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความอยู่ดีมีสุขของผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน และระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะท้าย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษา เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ดังนี้ ผู้ป่วยระยะท้าย 2 คน ครอบครัวของผู้ป่วยระยะท้าย 2 คน ครอบครัวของผู้ป่วยระยะท้ายที่เสียชีวิตไปแล้ว 3 คน ผู้บริหารและกลุ่มงานที่รับผิดชอบเรื่องการดูแลสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพล 3 คน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเมืองพล 1 คน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลพล 1 คน เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอพล 1 คน พระ 1 รูป ผู้นำชุมชน 2 คน อสม. 2 คน รวมทั้งหมด 18 คน ทำการเก็บข้อมูลในชุมชนแห่งหนึ่งของอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น โดยการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึก มีการตรวจสอบข้อมูลร่วมกับผู้ให้ข้อมูลหลัก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาความอยู่ดีมีสุขของผู้ป่วยระยะท้ายพบว่า ผู้ป่วยต้องการอยู่กับครอบครัวและญาติพร้อมหน้าพร้อมตา ได้รับการบำบัดความเจ็บปวดทรมานให้พอรับได้ ส่วนครอบครัวไม่อยากเห็นผู้ป่วยเจ็บปวดทรมาน ต้องการสนับสนุนทั้งด้านความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วย โดยการตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับองค์กรผู้ให้บริการ ได้แก่ องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงพยาบาล ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะท้าย แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ระบบการดูแลทางกายของผู้ป่วยระยะท้ายตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยจะได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตามหลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองและเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ที่ควรจะได้รับ 2) การดูแลด้านจิตใจ/จิตวิญญาณ คือ ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการเตรียมตัวจากไปแบบไม่มีความวิตกกังวล และได้ทำพิธีตามความเชื่อของตน 3) บทบาทของครอบครัวและชุมชน คือ ครอบครัวอบอุ่น ได้รับการช่วยเหลือจากชุมชนตามความจำเป็น มีเพื่อนบ้านมาเยี่ยมถามอาการและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยระยะท้ายอยู่ดีมีสุขก่อนจากไป</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ผู้ป่วยระยะท้าย ความอยู่ดีมีสุข ชุมชน</p> <p>This research aims to investigate the provision of palliative care by family and community, and wellbeing of the end-stage patients. Qualitative research methodology, based on case-based approach, was employed. In-depth interview and observation were applied to collect data from 18 key informants that are involved in proving cares to 2 end-stage patients whose were purposively selected. These key informants are 2 family members of the present end-stage patients, 3 family members of previous end-stage patients (patients passed away), 2 health staffs of local hospital, one promoting health care and one providing care, 1 staff of District Public Health Office, 1 monk, 2 community leaders, and 2 village health volunteers. Research results revealed that end-stage patients prefer and wish to stay together with family and relatives, and they needed therapeutic treatment to reduce suffer. Family did not want to see patient’s suffering of pains so that they needed supports about caring knowledge and caring equipment to take care patients. Caring system for the end-stage patients was divided into 3 aspects, including 1) physical care, i.e. the cares in accordance with palliative care standards and pertaining to patient rights as needed. 2) mental/spiritual care; receiving responses on patient’s needs, preparing to die without anxiety, and having chance to perform ceremony under patient’s beliefs. 3) Roles of family and community; having a warmth family, receiving support from community as needed, having kind neighbors who visited to see patients, and helping each other. These conditions encouraged wellbeing of the end-stage patients and let them rest in peace.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Palliative Care, Wellbeing, Community</p>วรนุช จันทะบูรณ์บัวพันธ์ พรหมพักพิง
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-291428151165สถานภาพองค์ความรู้การศึกษาวัจนลีลาในวิทยานิพนธ์ไทย ในรอบ 3 ทศวรรษ (พ.ศ. 2530 - 2560) (STATUS OF KNOWLEDGE AND EDUCATIONAL STYLE IN 3-DECADE THAI THESIS (1987 - 2017))
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15054
<p>บทความเรื่อง “สถานภาพองค์ความรู้การศึกษาวัจนลีลาในวิทยานิพนธ์ไทย ในรอบ 3 ทศวรรษ (พ.ศ. 2530 - 2560)” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิทยานิพนธ์สาขาภาษาไทยของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ช่วง พ.ศ. 2530-2560 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ ผลการศึกษาพบวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาโดยใช้แนวคิดวัจนลีลา จำนวน 19 เรื่อง นักวิจัยใช้แนวทางศึกษา 2 แนวทาง ได้แก่ 1) การศึกษาเชิงทฤษฎี จำนวน 14 เรื่อง โดยศึกษาในสื่อต่าง ๆ ได้แก่ กวีนิพนธ์ บทเพลง ตำรากฎหมาย วรรณกรรม สารคดี ข่าว และรายการโทรทัศน์ และ 2) การศึกษาเชิงประยุกต์ จำนวน 5 เรื่อง คือ การศึกษาการแปรของระบบเสียงสระและพยัญชนะในภาษาไทย โดยการศึกษาในเชิงทฤษฎีได้แผ่ขยายวงกว้างมากที่สุดใน พ.ศ. 2545 ส่วนการศึกษาวัจนลีลาเชิงประยุกต์ปรากฏขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2537 และมีการศึกษาเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ผลการศึกษาทำให้เห็นความสนใจและพัฒนาการในการทำวิทยานิพนธ์โดยใช้แนวคิดวัจนลีลา</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> สถานภาพ วัจนลีลา วิทยานิพนธ์ไทย</p> <p>article on "Status of Knowledge and Educational Style in 3-Decade Thai Thesis (1987 - 2017)". The objective is to compile thesis of students. Graduate student Department of Thai Language In government universities between 1987-2017. By collecting data from electronic databases that provide thesis search services. The results of the thesis found that the study was carried out using styles Graduate level 19 subjects. The researchers used 2 methods of study, namely 1) 13 theoretical studies by studying in various media, including poetry, music, texts, law, literature, documentaries, news and television programs and 2) applied studies, namely the study of the transformation of vowel systems and consonants in the Thai language. This article shows good interest in thesis by using the style of verbal style.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Status, Style, Thai Thesis</p>วรางคณา สุพรรณชนะบุรี
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-291428166173กระบวนการสั่งสมทุน แปลงทุน ขยายทุน ของ “อาทิวราห์ คงมาลัย” ในการวิ่งมาราธอนเพื่อช่วยเหลือสังคม (THE PROCESS OF THE ACCUMULATION, TRANSFORMATION, AND EXTENSION OF CAPITAL FOR SOCIAL DEVELOPEMENT: CASE STUDY ARTIWARA KONGMALAI)
https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/15057
<p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสั่งสมทุน แปลงทุน ขยายทุน ของดารานักวิ่งมาราธอนไทย โดยเลือกศึกษาแบบเจาะจง จากการใช้เกณฑ์การคัดเลือกเพื่อให้ได้ดารานักวิ่งมาราธอนที่ตรงกับเกณฑ์มาศึกษา ได้แก่ อาทิวราห์ คงมาลัย รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งในรูปแบบสื่อดั้งเดิม สื่อเฉพาะกิจ (สื่อกิจกรรมพิเศษที่จัดขึ้น ได้แก่ อีเวนต์) สื่อเว็บไซต์ สื่อออนไลน์ส่วนบุคคลของดารานักวิ่งมาราธอน และการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อมูลสมบูรณ์ แบ่งช่วงการศึกษา ทั้งหมด 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงที่ 1 ภูมิหลังของดารานักวิ่งมาราธอน (Historical Background) ช่วงที่ 2 ช่วงเวลาที่อยู่ในแวดวงบันเทิง (Entry Entertainment Industry) ช่วงที่ 3 ช่วงเวลาการเป็นดารานักวิ่งมาราธอน (Entry Sport-Entertainment Industry) ผลการศึกษาพบว่า การเป็นดารานักวิ่งมาราธอนไทยที่ได้ใช้การวิ่งมาราธอนไปสู่การช่วยเหลือสังคม เป็นการขยายแวดวงจากการเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในแวดวงบันเทิง มาสู่แวดวงกีฬา มีทุนสัญลักษณ์จากชื่อเสียงที่เกิดขึ้นในแวดวงบันเทิงผ่านการถูกนำเสนอของสื่อมวลชน โดยสื่อมวลชนได้สร้างชื่อเสียงนั้นให้และให้การรับรอง (Status Conferral) ในการเป็นคนดัง แต่การวิ่งมาราธอน ต้องใช้ทุนทางด้านร่างกายที่ต้องเกิดจากการสั่งสมและสร้างขึ้นมาเอง โดยอาทิวราห์ คงมัย มีทุนวัฒนธรรมทางด้านกีฬาตั้งแต่ก่อนเข้าสู่แวดวงบันเทิง มีแรงจูงใจในการวิ่งมาราธอน และได้เพิ่มทุนวัฒนธรรมความรู้เรื่องการวิ่งมาราธอน ประกอบกับการนำเสนอของสื่อมวลชนในภาพลักษณ์ทางด้านกีฬาจนเป็นที่ยอมรับผ่านการเป็นพรีเซนเตอร์สินค้ากีฬา มีงานที่เกี่ยวกับการวิ่งมาราธอน จนกระทั่งนำไปสู่การใช้การวิ่งมาราธอนแปลบทุนเพื่อช่วยเหลือสังคม ดังเช่น อาทิวราห์ คงมาลัย ที่ได้จัดทำโครงการก้าวคนละก้าว ไปสู่การก่อตั้งมูลนิธิก้าว โดยใช้การวิ่งมาราธอนเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> กระบวนการสั่งสมทุน แปลงทุน ขยายทุน ดารา วิ่งมาราธอน</p> <p>The objectives of this research are to study the process of the accumulation, transformation, and extension of capital of Thai Marathon Runner Celebrity. The article is qualitative research with purposive samples; Artiwara Kongmalai analyzed within the criteria of Thai Marathon Runner Celebrity. This research used both in-depth interviews and analyzing media documents; traditional media and new media, to collect the data. The period in this research is composed of Historical Background, Entry Entertainment Industry, and Entry Sport-Entertainment Industry. The outcome of the research reveals that Thai Marathon Runner Celebrity using the capital extended from the entertainment field to the sports field according to the popularities and the status conferral given by the press to create social development. To be accepted in the sports field, Thai Marathon Runner Celebrity has to create and accumulate body capital, has the motivation, has knowledge about marathon running, and be presented in mass media as the image of the sportsperson. Moreover, they should participate in marathon running events and be the presenter for sports products. They could use their capital to contribute to society such as the Kaokonlakao Project and the Kaokonlakao Foundation by Artiwara Kongmalai.</p> <p><strong>Keywords:</strong> Accumulation of Capital, Transformation of Capital, Extension of Capital, Celebrity, Marathon Running</p>อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์
Copyright (c) 2022 Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2022-12-292022-12-291428174183