การศึกษาต้นทุนการปลูกสับปะรดโดยการประยุกต์แนวคิดต้นทุนฐานกิจกรรมในตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี(THE STUDY ON COSTS OF PINEAPPLE PLANTATION BYAPPLYING THE ACTIVITY-BASED COSTING IN KHAO KHANTONG SUBDISTRICT, SRIRACHA DISTRICT, CHONBURI PROVINCE)

Authors

  • ดวงกมล นีรพัฒนกุล มหาวิทยาลัยบูรพา Burapha University.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาต้นทุนการปลูกสับปะรด 2) เพื่อศึกษาการจัดสรรต้นทุนฐานกิจกรรมในการปลูกสับปะรด และ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางและวิธีการลดต้นทุนในการปลูกสับปะรดตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก (50 – 99 ไร่) จำนวน 5 ราย ขนาดกลาง (100 – 150 ไร่) จำนวน 5 ราย และขนาดใหญ่ (มากกว่า 150 ไร่) จำนวน 5 ราย เป็นการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure) เกษตรกรผู้ให้สัมภาษณ์ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการปลูกสับปะรดมานานกว่า 10 ปีขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นทุนในการปลูกสับปะรดจะไม่มีค่าวัตถุดิบทางตรง เนื่องจากเกษตรกรได้เก็บหน่อพันธุ์ของตนเองจากแปลงเดิมมาใช้ ค่าแรงงานพื้นที่ปลูกขนาดเล็ก ต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ 6,392 บาท พื้นที่ปลูกขนาดกลาง ต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ 5,750 บาท และพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ ต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ 4,834 บาท ค่าใช้จ่ายการผลิตพื้นที่ปลูกขนาดเล็ก ต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ 73,138 บาท พื้นที่ปลูกขนาดกลาง ต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ 47,740 บาท และพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ ต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ 94,381 บาท 2) ต้นทุนการปลูกสับปะรดสามารถจัดสรรต้นทุนฐานกิจกรรมได้ 7 กิจกรรม คือ กิจกรรมการเตรียมหน่อพันธุ์ กิจกรรมการเตรียมดินและการปลูก กิจกรรมการปฏิบัติดูแลรักษาก่อนบังคับดอก กิจกรรมบังคับดอก กิจกรรมการคลุมผลสับปะรด กิจกรรมการตัดค่าเสื่อมราคา และกิจกรรมการเก็บเกี่ยว 3) แนวทางแนะนำในการลดต้นทุนการปลูกสับปะรด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่า ได้แก่ กิจกรรมการเตรียมหน่อพันธุ์ กิจกรรมการเตรียมดินและการปลูก กิจกรรมการปฏิบัติดูแลรักษาก่อนบังคับดอก กิจกรรมการบังคับดอก และกิจกรรมการเก็บเกี่ยว เนื่องจาก 5 กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมหลักในการปลูกสับปะรดและทำให้ผลสับปะรดมีมูลค่า กลุ่มกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า ได้แก่ กิจกรรมการคลุมผลสับปะรดและกิจกรรมการตัดค่าเสื่อมราคา เนื่องจาก 2 กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ไม่จำเป็น โดยกิจกรรมการคลุมผลสับปะรดมีเพื่อไม่ให้ผลสับปะรดไม่ถูกแสงแดดเผาไหม้ เกษตรกรมีการใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ซึ่งการนำต้นทุนที่เกิดขึ้นมาจำแนกกิจกรรมใดก่อให้เกิดมูลค่าและไม่ก่อให้เกิดมูลค่า เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาวิธีการลดต้นทุนจากการปรับลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองออกเพื่อให้ต้นทุนที่เกิดขึ้นมีความคุ้มค่าและช่วยให้ผลสับปะรดมีคุณภาพดีขึ้นจากการที่ต้นทุนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพคำสำคัญ: ต้นทุนฐานกิจกรรม  กิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่า  กิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าThe objectives of this research are 1) to study the costs of pineapple planting, 2) to study the allocation of activity-based costing for pineapple planting, and 3) to analyze the methods and find a better approach to reduce the costs of pineapple planting at Khao Khansong Subdistrict, Sriracha District, Chonburi Province. The sample of the population divided into 3 size groups: small size (80,000-158,400 sq. m2) for 5 cases, medium size (160,000-240,000 sq. m2) for 5 cases, large size (more than 240,000 sq. m2) for 5 cases. This research is a semi-structure interview and farmers who are the interviewees must have experience in pineapple planting for over 10 years. Research result found that all 1) The cost of growing pineapples is free from direct raw materials, since farmers have been collected own pineapple shoots from the previous season to use. The average wage cost of a small-size farmland is 6,392 baht per 1,600 sq. m2. For a medium-sized farmland, the average wage is 5,750 baht per 1,600 sq. m2 and for a large-size farmland, it is 4,834 baht per 1,600 sq. m2. The average cost of production in small farmland is 73,138 baht per 1,600 sq. m2. For medium-sized farmland, the average cost is 47,740 baht per 1,600 sq. m2 and for the large farmland, the average cost is 94,381 baht per 1,600 sq. m2. 2) The cost of planting pineapples can allocate the costs based on 7 activities, namely the shoot preparation activities, soil preparation and planting activities, caring activities prior forcing flowers, forcing flower blooming activities, pineapple covering activities, depreciation activities, and harvesting activities. 3) Suggestion for reducing the cost of pineapple cultivation can be divided into 2 groups: value-added activities group, including shoot preparation activities, soil preparation and planting activities, caring activities prior forcing flowers, forcing blooming flower activities, and harvesting activities, because these 5 activities are the main activities in pineapple cultivation and make pineapple more valuable. Non value-added activities are pineapple covering activities and depreciation activities, because both activities are unnecessary activities. Pineapple covering activities are for protecting the skin of the pineapple fruit to not be burned by the sun, which farmers sometime don't use. By reflecting the costs to classify any activities that value-added and non-value added, it is a part of the consideration of cost reduction methods to reduce wasteful activities, which for making the costs to be worth and improve the quality of pineapples due to their cost efficiency. Keywords: Activity-Based Costing, Value-Added Activities, Non Value-Added Activities

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ดวงกมล นีรพัฒนกุล, มหาวิทยาลัยบูรพา Burapha University.

คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพาBurapha Business School, Burapha University.

Downloads

Published

2021-06-30

How to Cite

นีรพัฒนกุล ด. (2021). การศึกษาต้นทุนการปลูกสับปะรดโดยการประยุกต์แนวคิดต้นทุนฐานกิจกรรมในตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี(THE STUDY ON COSTS OF PINEAPPLE PLANTATION BYAPPLYING THE ACTIVITY-BASED COSTING IN KHAO KHANTONG SUBDISTRICT, SRIRACHA DISTRICT, CHONBURI PROVINCE). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(25, January-June), 37–48. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/13707