สภาวะทางอารมณ์ของนักกีฬาประเภทต่อสู้ของนักกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (MOOD STATE IN FIGHTING ATHELETES OF THE THAILAND NATIONAL SPORTS UNIVERSITY)
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบทดสอบสภาวะทางอารมณ์ฉบับภาษาไทย (BMIST) ที่พัฒนามาจากแบบทดสอบสภาวะทางอารมณ์ (The Brief Mood Introspection Scale; BMIS) ของเมย์เยอร์และกาสเฆ่ (Mayer & Gaschke) 2) เพื่อศึกษาสภาวะทางอารมณ์ของนักกีฬาประเภทต่อสู้ของนักกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักกีฬาประเภทต่อสู้ป้องกันตัว ภายใต้สังกัดของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ จำนวน 160 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วย นักกีฬาเพศชาย จำนวน 116 คน (ร้อยละ 72.50) และเพศหญิง จำนวน 44 คน (ร้อยละ 27.50) มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 20.19 ± 1.64 ปี น้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 61.28 ± 9.72 ส่วนสูงเฉลี่ยเท่ากับ 167.03 ± 6.53 และมีประสบการณ์ในการเล่นกีฬาประเภทต่อสู้เท่ากับ 7.79 ± 1.63 ปี และแบบทดสอบสภาวะทางอารมณ์ฉบับภาษาไทย (BMIST) มีความเหมาะสมในการนำมาใช้กับนักกีฬาไทย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และค่าความเชื่อมั่นของแต่ละสภาวะอารมณ์ อยู่ระหว่าง 0.82-1.00 ดังนั้นแบบทดสอบสภาวะทางอารมณ์ฉบับภาษาไทย (BMIST) จึงเป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสมสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาสภาวะทางอารมณ์ของนักกีฬาประเภทอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สภาวะอารมณ์ของนักกีฬาประเภทต่อสู้ของนักกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ โดยรวมระดับสภาวะทางอารมณ์เชิงบวกอยู่ในสภาวะที่มีความรู้สึก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.45 ± 0.78 ในขณะที่ระดับสภาวะทางอารมณ์อยู่ในสภาวะที่มีความมั่นใจว่าไม่รู้สึก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.45 ± 0.21คำสำคัญ: สภาวะทางอารมณ์ นักกีฬาประเภทต่อสู้ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติThe purposes of this research were 1) to develop the Brief Mood Introspection Scale Thai (BMIST) adapted from the Brief Mood Introspection Scale (BMIS) of Mayer and Gaschke and 2) to study the mood state of fighting athletes under the jurisdiction of the Thailand National Sports University (TNSU). The samples used in this research were 160 fighting athletes under the jurisdiction of the Thailand National Sports University (TNSU). The data were analyzed by mean, standard deviation and the Cronbach's alpha coefficient (a). The results of the research revealed that the samples consisted of 116 male fighting athletes (72.50%) and 44 female fighting athletes (27.50%) with an average age of 20.19 ± 1.64 years old, an average weight of 61.28 ± 9.72, an average height of 167.03 ± 6.53, and fighting sports experience of 7.79 ± 1.63 years. The Brief Mood Introspection Scale Thai (BMIST) was found suitable for use with Thai athletes. The Cronbach's alpha coefficient was 0.96 and the reliability of each mood state was between 0.82 - 1.00. Therefore, it was a suitable tool which can be applied to studying the mood state of athletes in any other kinds of sports. In addition, the mood state of fighting athletes under the jurisdiction of the Thailand National Sports University was found that as a whole the level of interpreted positive mood states was in the state they definitely felt, the mean scores of which were 2.45 ± 0.78 while as a whole the level of interpreted negative mood states was in the state they definitely did not feel, the mean scores of which were 0.45 ± 0.21.Keywords: Mood State, Fighting Athletes, Thailand National Sports UniversityDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-30
How to Cite
ปานอุทัย ฉ., ภานุรัชต์ฐนนท์ พ., & มิตรานันท์ ว. (2021). สภาวะทางอารมณ์ของนักกีฬาประเภทต่อสู้ของนักกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (MOOD STATE IN FIGHTING ATHELETES OF THE THAILAND NATIONAL SPORTS UNIVERSITY). วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(25, January-June), 15–24. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/13705
Issue
Section
บทความวิจัย