ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Keywords:
อัตราส่วนตรีโกณมิติ วิธีการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STADAbstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อเนื้อหาอัตราส่วนตรีโกณมิติและกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเกาะกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 33 คน ผู้วิจัยสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลาสอน 15 คาบ คาบละ 50 นาที ผู้วิจัยประเมินผลการเรียนรู้เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจากคะแนนใบกิจกรรม คะแนนแบบทดสอบย่อย และคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ผู้วิจัยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างตอบแบบวัดความพึงพอใจมีต่อเนื้อหาอัตราส่วนตรีโกณมิติและกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ที่ระดับนัยสำคัญ .01 สรุปได้ว่านักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการเรียนเรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อเนื้อหาอัตราส่วนตรีโกณมิติและกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับพอใจมาก ABSTRACTThe purposes of this study were 1) to construct an activity package on trigonometric ratio by using cooperative learning with STAD technique for Mathayomsuksa IV students, 2) to study the students’ achievement on trigonometric ratio, and 3) to evaluate students’ attitude toward trigonometric ratio and instructional activity package after learning through the activity package created by the researcher. The study was conducted during the second semester of the 2010 academic year at Pramoch Witthaya Raminthra School in Bangkok. The experiment group with 33 students was using cluster sampling approach. The researcher taught the group over 15 periods of 50 minutes each. Work sheets, unit sub-test, and a final achievement test were used in assessment of the students’ performance. Moreover, the subjects were asked to complete a questionnaire involving their attitude toward trigonometric ratio and instructional activity package at the end of the experiment. An analysis of the data, with at .01 level of significance, revealed that more than 70% of the subjects performed better than 60% the total score. This shows that the Mathayomsuksa IV students are able to learn the concept of trigonometric ratio by using cooperative learning with STAD technique instructional package created by the researcher. In addition, the results of the questionnaire indicated that they have positive attitude toward trigonometric ratio and instructional activities at a high level.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2011-11-30
How to Cite
นวลสอาด น., โสธะโร ส., & เพ็ญเพียร ช. (2011). ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Science Essence Journal, 27(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/sej/article/view/1789
Issue
Section
Research Article