การวิจัยเพื่อพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

กันต์ฤทัย คลังพหล

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเปรียบเทียบและศึกษาโมเดลโค้งพัฒนาการความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ที่กำลังฝึกปฏิบัติการในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยแบ่งให้สาขาวิชาเป็นชั้น คือ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาปฐมวัย สาขาละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ คู่มือการอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานวิจัยในชั้นเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และแบบประเมินรายงานการวิจัยในชั้นเรียนบทที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติวิเคราะห์โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างที่มีค่าเฉลี่ยด้วยโปรแกรม LISREL จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า หลังจากจัดอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลภาคทฤษฎี พบว่า ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างหลังได้รับการจัดการอบรมเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และโมเดลโค้งพัฒนาการความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p = 0.852, NFI=0.997, CFI=1.000, GFI=0.986 และ RMSEA=0.000) กล่าวได้ว่าการจัดอบรมในครั้งนี้ทำให้นักศึกษามีพัฒนาการความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มขึ้น คำสำคัญ: วิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล นักศึกษาประสบการณ์วิชาชีพครู การวิเคราะห์โค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง   ABSTRACT The research was conducted for developing the ability to conduct classroom research in the aspect of data analysis of student teachers of Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal under Patronage. The purposes were to develop, compare and study the growth curve model of student teachers’ ability to conduct classroom research in the aspect of data analysis. The sample was 40 student teachers, who were on period of teaching practice in schools, in academic year 2015. They were chosen by stratified random sampling which divided student programs as strata including Mathematics, English, and Early Childhood and there were 10 students of each program. The research instruments consisted of the data analysis handbooks for classroom research, achievement tests of the ability to conduct classroom research in the aspect of data analysis, and evaluation forms for classroom research report chapter 4. The statistics used in this research were t-test for dependent group, latent growth curve analysis statistic, and LISREL program for analyzing structural equation model with mean structure. (p = 0.852, NFI=0.997, CFI=1.000, GFI=0.986และRMSEA=0.000) The research results revealed that after participants trained to conduct classroom research in the aspect of data analysis in theory training course, their ability to analyze data was statistically significant higher than before attending to the course at .01 level. In addition, the model growth curve of student teachers’ ability to analyze data was correlated with empirical data. It could be concluded that this training course improving teacher students’ ability to conduct classroom research in the aspect of data analysis. Keywords: Classroom Research, Data Analysis, Internship Teacher Student, Latent Growth Curve Analysis

Article Details

How to Cite
คลังพหล ก. (2017). การวิจัยเพื่อพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9824
Section
บทความวิจัย (Research Articles)