กลยุทธ์การพัฒนาทักษะครูประถมศึกษา ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ธารารัตน์ มาลัยเถาว์

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาทักษะครูประถมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาทักษะครูประถมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 754 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของการพัฒนาทักษะครูประถมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าดัชนี PNIModified วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม และเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติทดสอบ t-test แบบ Independent และ f-test ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) ทักษะที่ทำให้ สภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบัน สามารถเรียงตามลำดับ ดังนี้ การใช้ระบบพี่เลี้ยง การชี้แนะ การอบรมและการนิเทศ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) เรียงตามลำดับกลยุทธ์การพัฒนาครูประถมศึกษา ตามความต้องการจำเป็นมากที่สุด ดังนี้ การวางแผนและกำหนดวิธีการเรียนรู้ของตนเอง การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ด้วยตนเองการแสวงหาแหล่ง/สื่อ/เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของตนเอง และการเลือกสรรและประเมินข้อความรู้ด้วยตนเอง คำสำคัญ : การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง การพัฒนาครู การพัฒนาทักษะครูประถมศึกษา   ABSTRACT The objectives of this research were 1) to study the current and the desirable states of elementary teacher skills development based on the concepts of self- directed learning under the jurisdiction of basic education commission office 2) Elementary teacher skills development strategies based on the concepts of self- directed learning under the jurisdiction of basic education commission office. This study was conducted, using a mixed method approach. The samples of population of the study were 754 teachers elementary school under the jurisdiction of office. The research instruments were questionnaires, evaluation form to assess the suitability and feasibility of the development approaches for elementary teacher skills development. Statistic tools were the index PNIModified, One-way ANOVA, analyze strengths, weaknesses, opportunities, threats, frequency, percentage, average, standard deviation, t-test series and f-test. The main findings were 1) The most preferably skills are effected desirable states higher than current are mentoring system, coaching, training and supervision, respectively (the difference was statistically significant level .05) 2) The order of applied strategies are planning and determination of self-learning, creatively of problems solving and experience learning, appropriation sources of media and technology searching and selection and self- knowledge of evaluation. Keywords : Self-Directedlerning Irected Learing, Teacher  Development, Elementary Teacher Skills Development

Article Details

How to Cite
มาลัยเถาว์ ธ. (2017). กลยุทธ์การพัฒนาทักษะครูประถมศึกษา ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9230
Section
บทความวิจัย (Research Articles)