นโยบายความเสมอภาคด้านคุณภาพของการศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 -10
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สาระนโยบายความเสมอภาคด้านคุณภาพของการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) 2) วิเคราะห์ผลการนำนโยบายความเสมอภาคด้านคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ และ 3) นำเสนอกรอบนโยบายความเสมอภาคด้านคุณภาพของการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติในอีก 20 ปีข้างหน้าวิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบ่งเป็น2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สาระ สำคัญของนโยบายและผลการดำเนินงานตามนโยบายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร แหล่งข้อมูลหลัก คือ นโยบายคณะรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาจำนวน 9 คณะ และรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี และแหล่งข้อมูลรอง คือ นโยบายความเสมอภาคด้านคุณภาพการศึกษาที่ภาครัฐจัดทำขึ้น จำนวน 665 ฉบับ และแหล่งข้อมูลด้านงบประมาณรายจ่ายที่รัฐบาลจัดทำขึ้นเพื่อขับเคลื่อนนโยบายจำนวน 32 ฉบับ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกสาระสำคัญจากเอกสาร ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาตามแนวทางการวิเคราะห์สรุปแบบอุปนัย และตรวจสอบข้อมูลโดยการตรวจสอบสามเส้าด้านแหล่งที่มาของข้อมูล สำหรับระยะที่ 2 เป็นการตรวจสอบยืนยันความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของกรอบนโยบายความเสมอภาคด้านคุณภาพการศึกษาด้วยการสนทนา โดยผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มคือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านนโยบายทางการศึกษาอย่างยิ่งจำนวน 10 คน เครื่องมือการวิจัย คือ ร่างกรอบนโยบายและแนวคำถามการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายด้านการศึกษาเป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่งของนโยบายคณะรัฐมนตรีทั้ง 9 คณะในช่วงดังกล่าว มีสาระการคุ้มครองสิทธิไว้ทั้งด้านโอกาสการเข้าถึงบริการ ด้านคุณภาพการจัดบริการ และด้านทรัพยากรเพื่อการจัดบริการทั้งแบบเสมอกันและแบบเป็นธรรมแต่ให้ความสำคัญแตกต่างกันตามบริบททางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศึกษาในแต่ละยุคสมัย โดยต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญเป็นหลัก 2) ผลการนำนโยบายความเสมอภาคด้านคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ พบว่า ได้มีการดำเนินงานตามนโยบายและรายงานผลสำเร็จของโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ขณะที่ผลการประเมินทางการศึกษาทั้งระดับชาติและนานาชาติยืนยันว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้คนไทยมีความไม่เสมอภาคด้านการศึกษา ขั้นพื้นฐานทั้งแบบเสมอกันและแบบเป็นธรรม ได้แก่ การศึกษาของพ่อแม่ ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์การเรียน และงบประมาณที่จัดสรรให้โรงเรียน ปริมาณและคุณภาพครู และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และ 3) ในอีก 20 ปีข้างหน้า จำเป็นต้องมีกรอบนโยบายความเสมอภาคด้านคุณภาพของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยในด้านโอกาสการเข้าถึงบริการควรกระจายอำนาจ ให้ใช้ภาษาแม่ในการเริ่มต้นการเรียนรู้ ทำสำมะโนประชากรคนพิการและผู้อยู่ในภาวะยากลำบากทุกประเภท ในด้านคุณภาพการเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรปรับแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อรองรับผู้สูงอายุ ควรมีนโยบายการศึกษาตลอดชีวิต ในด้านทรัพยากรเพื่อการจัดบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรปรับรูปแบบให้มีประสิทธิภาพเตรียมคนไทยให้พร้อมด้านเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิต ในด้านกระบวนการนโยบายให้นโยบายการศึกษาเป็นอิสระจากการเมือง รับรองสิทธิของเด็กวัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีอิสระทางวิชาการด้านหลักสูตร กำหนดกลไกและแนวทางการประเมินคุณภาพสถานศึกษาภายในและภายนอก ให้ภาคประชาสังคมร่วมกันเสนอนโยบายการศึกษา รวมทั้งพัฒนานโยบายไปสู่นโยบายความเสมอภาคด้านคุณภาพของการศึกษาตลอดชีวิต คำสำคัญ การวิเคราะห์นโยบาย ความเสมอภาค คุณภาพการศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน ABSTRACTThe objectives of this research were 1) to analyze the policy contents of Basic Education and education equality within the 8th – 10th National Economic and Social Development (Year 1997-2012), 2) to analyze the effects of the policy implementation, and 3) to present the policy frameworks in the next 20 years. The research methodology was Qualitative Research divided into 2 phases; Phase 1: the analysis of the policy contents and the effects of the policy implementation, collected the primary sources through Review Literatures on the policies presented by the congress in 9 periods. The secondary sources were selected from 665 policy-based document of Basic Education and 32 budget-based document. The research instruments were the following document and focus group. The information was primarily analyzed using Inductive Content Analysis and validated using Data Triangulation. During Phase 2, the confirmatory test was examined focusing on the appropriateness and possibility of Basic Education and education equality frameworks. The focus group involved 10 educators and policy experts. The research tools were the policy document, focus group inquiries, and then analyzed using Content Analysis. The research findings were as follows; 1) The educational policies were extremely crucial, it empowered a child’s rights to school exposure as and resource exposure based on the education equality and justice. Although, it pinpointed the causes impacting on their education exposure such as economic, social, political and educational context in the different periods of time, regarding mainly the fundamental principles of national policies. 2882) The effects of the policy implementation demonstrated that the project was successful; the activities were relevant to the fundamental principles of national policies under the umbrella of constitutional principles. Despite, the education evaluations within the national and international context revealed that the key indicators causing Basic Education inequality were parent educational background, basic infrastructure readiness, resources, school funding, teacher shortage in both qualitative and quantitative terms, and stakeholder and community engagement. 3) In the next 20 years, it was suggested that Basic Education equality frameworks should definitely be addressed, the opportunity to school exposure should be equally distributed. The mother tongue languages should be prioritized in the beginning of a child’s learning. The underprivileged should all be included in the process of population census. Regard to the exposure to Basic Education equality, it was suggested Adult Education standards and guidelines provided to the elder helped promoting Lifelong Learning policies. In term of resources, it stated that Basic Education structure and management should be developed more effectively, technology readiness levels effected the living of Thais. In fact, the policies should entirely be politics-free, Basic Education rights should be legalized, academic freedom should especially be allowed in curriculums, the internal and external Quality Assurance procedures and guidelines should be addressed clearly, the nearby communities were encouraged to take part of the education policy committee and were able to ultimately improve quality Basic Education equality and Lifelong Learning policies. Keyword : Policy Analysis, Equality, Quality Education, Basic Education
Article Details
How to Cite
หลานไทย น. (2017). นโยบายความเสมอภาคด้านคุณภาพของการศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 -10. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9224
Section
บทความวิจัย (Research Articles)