รูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11

Main Article Content

วาสนา ม่วงแนม

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11         2) สร้างรูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 และ 3) ประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 โดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของข้าราชการครู โดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จำนวน 341 คน และสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั่วไป จำนวน 10 คน 2) สร้างรูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาทำการยกร่างรูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญแบบเจาะจง จำนวน 15 คน และ 3) ประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของข้าราชการครูไปใช้ โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จำนวน 56 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นตอนที่ 1 และ 3 ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนขั้นตอนที่ 2 ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา            ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. องค์ประกอบของรูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การรับรู้คุณค่า ศรัทธา และจิตวิญญาณความเป็นครู2) การมีบทบาท และมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ชัดเจน 3) การมอบหมายหรือการกระจายงานที่มีความสำคัญให้แก่บุคลากร 4) การเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของผู้ร่วมงานในทุกระดับ        5) การสร้างวัฒนธรรมการทำงานเน้นคุณค่าการทำงานร่วมกันเป็นทีม 6) การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยในชั้นเรียน 7) การนิเทศบุคลากรอย่างมีขั้นตอนเป็นระบบ และต่อเนื่อง 8) การประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้และ 9) การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้รางวัลที่ไม่เป็นตัวเงิน ขั้นตอนที่ 3 ผลจากการประเมินความคิดเห็นต่อความเหมาะสมความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 โดยภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับ  มากที่สุด คำสำคัญ : รูปแบบ การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติ ประสิทธิภาพ  ครู   ABSTRACT This research was a mixed research method with an aim to: 1) study motivation enhancement on efficient teaching practices of teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 11; 2) create a model of motivation enhancement on efficient teaching practices of teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 11; and 3) evaluate feasibility of the model of motivation enhancement on efficient teaching practices of teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 11. The selection was a purposive sampling. Meantime, the research tools were a questionnaire, Reliability of the 0.86suitability and feasibility evaluation form and semi-structure interview. The content analysis and the statistics including percentage, mean and standard deviation were applied for data analysis. The findings were founded that: 1. Study principles, concepts and theories on motivation enhancement as well as motivation enhancement on efficient teaching practices of teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 11, it was found that the overall was at high level; 2. The model of motivation enhancement on efficient teaching practices of teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 11 comprised of 9 components including 1) value perception on teaching profession; 2) role and involvement of explicit operational goal determination; 3) significant job designation or distribution for personnel; 4) good relationship with all levels of colleagues; 5) work culture building with focus on teamwork value; 6) personnel promotion and development on class room research; 7) continuous and systematic personnel supervision; 8) performance evaluation with faithfulness, justice, quality and transparency; and 9) motivation with developmental reward; and 3. The overall results of suitability evaluation and practical feasibility on the model of motivation enhancement on efficient teaching practices of teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 11 were all at the highest level. Keywords : Model, Motivation Enhancement of Practices, Efficiency, Teachers

Article Details

How to Cite
ม่วงแนม ว. (2017). รูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9203
Section
บทความวิจัย (Research Articles)