การศึกษาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์ ในเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

Main Article Content

ภารดี กำภู ณ อยุธยา

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่    4-6 ทั้งในภาพรวมและแต่ละองค์ประกอบประชากรในการวิจัยเป็นเด็กที่มีความสามารถพิเศษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 รวม 314 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามกระบวนการ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.31-0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ (Torrance)      มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า ในภาพรวมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (M=9.70, SD=2.78, 53.89%) และความคิดสร้างสรรค์ (M=52.16, SD=15.32, 36.48%) ของเด็กที่มีความสามารถพิเศษชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกันในระหว่างระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และเมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบจากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่า องค์ประกอบของการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในด้านการสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหา (M=2.75, SD=1.28, 45.83%) มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดในขณะที่องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ในด้านความคิดจินตนาการชื่อภาพ (M=4.56, SD=3.92,13.81%) มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวได้แสดงข้อมูลเชิงประจักษ์ที่นำไปสู่การวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลต่อการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของเด็กที่มีความสามารถพิเศษต่อไป คำสำคัญ : การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ The purpose of this research was to study Creative Problem Solving and Creativity in fourth-sixth grades Gifted Children. The participants of this study were 314 fourth-sixth grades gifted children. The research in strument were Process Based Measure of Creative Problem Solving, discrimination power of measured instrument was between .31-.67 and reliability was .73 and Torrance Test of Creativity, reliability was .89. The descriptive statistic was used to analize the data.Results of the study revealed that mean of Creative Problem Solving (M=9.70, SD=2.78, 53.89%) and Creativity (M=52.16, SD=15.32, 36.48%) in fourth grades gifted children were the lowest. When considered in each factor from fourth-sixth grades showed that mean of GeneratingIdeas (M=2.75, SD=1.28, 45.83%), Creative Problem Solving component, was the lowest. Whilemean of Abstractness of Titles (M=4.56, SD=3.92, 13.81%), Creativity component, was the lowest. Result of the research revealed empirical information thatlead to consider what impact on Creative Problem Solving and Creativity.Thisinformation will be a fundamental information for sampling and further developing the Creative problem Solving and Creativity Learning Model for Gifted Children.ABSTRACT Keywords : Creative Problem Solving, Creativity, Gifted Children

Article Details

How to Cite
กำภู ณ อยุธยา ภ. (2017). การศึกษาการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์ ในเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9202
Section
บทความวิจัย (Research Articles)