ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเจตคติ ทางสิ่งแวดล้อมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเจตคติทางสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติทางสิ่งแวดล้อมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้บริบทเป็นฐานกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย เพื่อเลือกกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ใช้เวลาวิจัยทั้งสิ้น 18 คาบ คาบละ 50 นาทีกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม แบบวัดเจตคติทางสิ่งแวดล้อม แบบสัมภาษณ์เจตคติทางสิ่งแวดล้อม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ t–test for dependent samples และ t–test for independent samples นอกจากยังใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยผลการวิจัยพบว่า 1. เจตคติทางสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 2. เจตคติทางสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานสูงกว่าการจัดการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้บริบทเป็นฐานกับสูงกว่าการจัดการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้บริบทเป็นฐานส่งเสริมเจตคติทางสิ่งแวดล้อมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ได้ดีกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เจตคติทางสิ่งแวดล้อม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ การจัดการเรียนรู้แบบปกติ ABSTRACT The purposes of this research were to develop context-based learning units on the topic of Life and Environment, to investigate the effects of learning science by context-based learning on the topic of Life and environment on environmental Attitudes of students as a whole and the individual aspects, and to compare students’ scientific achievement after using context-based learning with regular learning. The study groups were Mathayomsuksa3 students who were studying basic science during the second semester of the 2015 academic year. They were from secondary schools in Nan province Secondary Educational Service Area Office 37. Two classrooms of 50 students were selected by purposive selection, then using simple random sampling to assign the experimental group and control. The implementation time was 18 periods of 50 minutes. The experimental group was taught through context-based learning; whereas the control group was taught through the regular learning process. This research was a quasi-experimental research. Research instruments included the context-based lesson plans about Life and Environment, the environmental attitude test, environmental attitude interview, and a science achievement test. The data were statically analyzed using t-test for dependent samples and t-test for independent samples. Moreover, content analysis was used to analyze qualitative data The research findings were: there was a significant difference in the environmental attitude pre-test and post-test scores of the students who learnt through context-based learning at the .05 level of significance. There was a significant difference in the cognitive, affective, and action tendency components at the .05 level of significance. There was a significant difference in the environmental attitudes at the .05 level of significance. There was a significant difference in the cognitive, affective, and action tendency components at the .05 level of significance. There was a significant difference in scientific achievement of at the .05 level of significance. It can be concluded that learning science by using context-based learning is able to promote environmental attitudes and scientific achievement and context-based learning better promotes environmental attitudes and scientific achievement than the regular learning. Keywords : Context-Based Learing, Environmental Attitudes, Scientific Achievement, Regular Learning
Article Details
How to Cite
ศรีคำ พ., & ขำวงษ์ พ. (2017). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเจตคติ ทางสิ่งแวดล้อมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9201
Section
บทความวิจัย (Research Articles)