รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1

Main Article Content

จร ประสงค์สุข

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด และศึกษาสภาพการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 จากการทดลองใช้รูปแบบการประเมินมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิดและศึกษาสภาพการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 10 คน         กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 จำนวน 327 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส       เขต 1 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบ ด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ประชากรที่ทำการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 คือ ผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 จำนวน 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ขั้นตอนที่ 1 สภาพการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ด้านการนิเทศ ด้านการฝึกอบรมด้านสัมมนา ด้านประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการศึกษาดูงาน และด้านการศึกษาต่อ ตามลำดับ ขั้นตอนที่ 2 ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 พบว่า รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงาน       เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ 1) การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียน เพื่อการสื่อสาร 2) การส่งบุคลากรไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มประเทศอาเซียน 3) การส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นเพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่อาเซียน         4) การมีผู้นำให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน 5) การจัดสภาพแวดล้อม/ จัดห้อง/มุมอาเซียนศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ 6) การนำผลจากการสัมมนาทางวิชาการไปใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนและพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากรและ 7) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการแผนปฏิบัติงานสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขั้นตอนที่ 3 ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 พบว่ามีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้    ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุมอยู่ในระดับมาก 35คำสำคัญ :  รูปแบบ  การพัฒนาครู  การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1   ABSTRACT This is a mixed method 1) to study, analyze and identify current situation and existing of the teacher development for Asean Economic Community in Basic Schools Under Jurisdiction of Narathiwat Primary Educational Service Area 1; 2) to construct  a model of teacher development for Asean Economic Community in Basic Schools Under Jurisdiction of Narathiwat Primary Educational Service Area 1; and 3) to evaluate a model of teacher development for Asean Economic Community in Basic Schools Under Jurisdiction of NarathiwatPrimary Educational Service Area 1. This research consists of three stages; 1) to study, analyse. Synthesize the concepts and current teacher development for Asean Economic Community in Basic Schools Under Jurisdiction of NarathiwatPrimary Educational Service Area 1. The key informants are ten school administrators.  The sample consists of 327 school administrators and teachers in Basic Schools Under Jurisdiction of NarathiwatPrimary Educational Service Area 1. 2) stage to construct a model for teacher development for Asean Economic Community in Basic Schools Under Jurisdiction of NarathiwatPrimary Educational Service Area 1, review and check for appropriateness and adoptability of a drafted-model with Focus Group Discussion. The sample are ten (10) experts. 3) stage to evaluate a model for teacher development for Asean Economic Community in Basic Schools Under Jurisdiction of Narathiwat Primary Educational Service Area 1. The sample are 149 school administrators of basic primary education under jurisdiction of Narathiwat Primary Educational Service Area 1. The research instrument consists of a questionnaire and structure interview with IOC between 0.80-1.00. The statistics used for data analyses were percentage, mean, and standard deviation and qualitative data analysis with content analysis. 36The findings in dicated that: Stage 1, Overall current situation of teacher development for Asean Economic Community in Basic Schools Under Jurisdiction of Narathiwat Primary Educational Service Area 1 were at the high level. When classified by each aspect all were found at the high level with ascending mean score as follow; self-study, supervision, training, seminar, workshop, aspect of study tour, and further study. Stage 2, A model construction for teacher development for Asean Economic Community in Basic Schools Under Jurisdiction of Narathiwat Primary Educational Service Area 1 were components for teacher development model for Asean Economic Community in Basic Schools Under Jurisdiction of Narathiwat Primary Educational Service Area 1 ;    1) competency development in English Language and Asean Language for communication for  schools’ personnel, 2) personnel exchange program among ASEANs member countries, 3) support further study for AEC readiness, 4) having mentors or coaching for the ASEAN studies, 5) setting up effective ASEAN’s information hub or online searching,        6) adaptation of knowledge from the seminar or workshop into teaching ,learning and personnel performance development, 7) setting up workshop to integrated action plan toward AEC. Stage 3, overall model evaluation for teacher development for Asean Economic Community in Basic Schools Under Jurisdiction of Narathiwat Primary Educational Service Area 1 were at high level with appropriate, righteous and feasible respectively. Keywords : A Model,  Administration, Promotion on Analytical Thinking,  Primary School Students

Article Details

How to Cite
ประสงค์สุข จ. (2017). รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9196
Section
บทความวิจัย (Research Articles)