รูปแบบการจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพ สำหรับสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดการ เรียนรวม 2) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ในการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินตามลำดับขั้นตอน 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดการเรียนรวม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนรวม จำนวน 40 คนโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Method) ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในด้านการศึกษาพิเศษ จำนวน 21 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ (Interquartile Range) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรวม โดยการนำเสนอร่างองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรวม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกับขั้นตอนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรวม สำหรับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารทั่วไป (= 3.51) ด้านการบริหารงานบุคคล (= 3.41) ด้านการบริหารงานวิชาการ (= 3.31) และด้านการบริหารงานแผนงานและงบประมาณ (= 3.12) 2. รูปแบบการจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพสำหรับสถานศึกษาระดับ มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 ประกอบด้วย1) ส่วนนำ 2) โครงสร้างและขอบข่ายรูปแบบการจัดการเรียนรวม 3) มาตรฐาน ตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินการใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงาน แผนงานและงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานวิชาการ3. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 มีความเหมาะสมทุกด้านเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านเพื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ส่วนนำโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.98) โครงสร้างและขอบข่ายรูปแบบการจัดการเรียน โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก (= 4.18) มาตรฐาน ตัวชี้วัด และแนวทางการดำเนินการทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.98) คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการเรียนรวม
Article Details
How to Cite
รามฤทธิ ส. (2016). รูปแบบการจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพ สำหรับสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/7281
Section
บทความวิจัย (Research Articles)