รูปแบบการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพสำหรับสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed method) โดยดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ขั้นตอนที่ 2 ยกร่างรูปแบบการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน โดยการศึกษาความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) จำนวน 3 รอบ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามโดยประเมินจาก 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 105 คน ซึ่งจะประเมินในรายละเอียดขององค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน ในการนำไปปฏิบัติ จากนั้นนำไปประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบกับผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 80 คน ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมีประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้องขั้นตอนที่ 4 นำเสนอเป็นรูปแบบฉบับสมบูรณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน ดังนี้ 1) จุดมุ่งหมายของการบริการวิชาชีพ 2) เนื้อหาของการบริการวิชาชีพ 3) วิธีการให้บริการวิชาชีพ 4) นวัตกรรมในการบริการวิชาชีพ และ 5) การจัดระบบการบริหารงานบริการวิชาชีพ 2. การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน มีดังนี้ 2.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่าองค์ประกอบหลักทั้ง 5 ด้านมีประสิทธิภาพในการนำไปปฏิบัติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51) เมื่อพิจารณาเป็นองค์ประกอบ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดระบบการบริหารงานบริการวิชาชีพ ( =4.78) และนวัตกรรมในการบริการวิชาชีพ ( =4.52) ส่วนองค์ประกอบที่เหลือ 3 องค์ประกอบ อยู่ในระดับมาก คือ วิธีการให้บริการวิชาชีพ ( =4.38) จุดมุ่งหมายในการบริการวิชาชีพ ( =4.37) และเนื้อหาของการบริการวิชาชีพ ( =4.33) 2.2 ประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน โดยผู้บริหาร พบว่าองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน มีประสิทธิภาพโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ ด้านมีประโยชน์ (98.25%) ด้านความถูกต้อง (98.25%) ด้านความเป็นไปได้ (96.75%) และด้านความเหมาะสม (96.75%) คำสำคัญ: การบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพ, สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน
Article Details
How to Cite
ทองส่งโสม ย. (2016). รูปแบบการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพสำหรับสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/7269
Section
บทความวิจัย (Research Articles)