การศึกษาอัตมโนทัศน์และการปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
Abstract
บทคัดย่อ จุดมุ่งหมายงานวิจัยเพื่อศึกษาอัตมโนทัศน์และการปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปีการศึกษา 2555 ประมาณ 950 คน การหาขนาดกลุ่มตัวอย่างแต่ละชั้นปี จากการเปิดตาราง Morgan มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามอัตมโนทัศน์ และแบบสอบถามการปรับตัว และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนอัตมโนทัศน์ และการปรับตัวและหาค่าความแตกต่างของคะแนนอัตมโนทัศน์และการปรับตัว จำแนกตามตัวแปรอิสระด้วยสถิติ T- test และ F-test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 79.9 อายุอยู่ในช่วง 19 – 21 ปี คิดเป็นร้อยละ 76.6 สถานภาพสมรสของผู้ปกครองส่วนใหญ่สมรสร้อยละ 68.2 ลักษณะการสมรสของผู้ปกครองอยู่ด้วยกัน คิดเป็น ร้อยละของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า อัตมโนทัศน์โดยรวมอัตมโนทัศน์ด้านการยอมรับตนเอง ด้านครอบครัว ด้านความเชื่อมั่นในการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น 52.6 ค่าเฉลี่ยคะแนนอัตมโนทัศน์ และด้านการตัดสินใจแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับดีทั้งหมด คือมีค่า ( = 4.096, SD=0.708) ( = 4.036, SD=0.734) ( = 4.363, SD=0.68) ( = 3.926, SD=0.711) และ ( = 4.105, SD=0.697) ตามลำดับ ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า การปรับตัวโดยรวม การปรับตัวด้านร่างกาย ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านการพึ่งพาระหว่างกันอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด คือมีค่า ( = 2.919, SD=0.73)( = 2.884, SD=0.765) ( = 2.893, SD=0.684 ) ( = 2.974, SD=0.739) ตามลำดับคะแนนความแตกต่างของระดับคะแนน อัตมโนทัศน์ พบว่า อัตมโนทัศน์โดยรวมเมื่อทดสอบกับเพศ อายุ สถานภาพของผู้ปกครอง ลักษณะการสมรสของผู้ปกครอง ชั้นปีที่ศึกษา รายได้ของครอบครัว และรายได้ของนักศึกษาต่อเดือน มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทดสอบอัตมโนทัศน์รายด้าน พบว่า ลักษณะการสมรสของผู้ปกครองรายได้ของครอบครัว และรายได้ของนักศึกษาต่อเดือน มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05การปรับตัวพบว่า การปรับตัวโดยรวมเมื่อทดสอบกับเพศสถานภาพของผู้ปกครอง ลักษณะการสมรสของผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัว และรายได้ของนักศึกษาต่อเดือน มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทดสอบการปรับตัวรายด้าน พบว่า ลักษณะการสมรสของผู้ปกครองและชั้นปีที่ศึกษา มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : อัตมโนทัศน์ การปรับตัวDownloads
How to Cite
ปิ่นเจริญ ส. (2015). การศึกษาอัตมโนทัศน์และการปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6583
Issue
Section
บทความวิจัย (Research Articles)