ศึกษาการสร้างกระบวนการคิดโดยใช้กิจกรรมที่สร้างจากนิยามเชิงปฏิบัติการโยนิโสมนสิการระหว่างนักเรียนระดับมัธยมศึกษาแผนกสามัญศึกษา กับสามเณร ที่อยู่ในระบบการศึกษาแผนกสามัญศึกษา ในช่วงชั้นที่ 3
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมและค่าความแตกต่างผลของกิจกรรมในการสร้างกระบวนการคิดจากนิยามเชิงปฏิบัติการโยนิโสมนสิการระหว่างนักเรียนระดับมัธยมศึกษากับสามเณรแผนกสามัญศึกษาในช่วงชั้นที่3 การทดลองมีกลุ่มตัวอย่าง 3 โรงเรียน 1.กลุ่มสามเณรในโรงเรียน 2.กลุ่มนักเรียนในโรงเรียนที่เคยบวชสามเณรภาคฤดูร้อนหรือฝึกอบรมกับสถานปฏิบัติธรรม และ 3 กลุ่มนักเรียนในโรงเรียนที่ไม่เคยบวชสามเณรภาคฤดูร้อน หรือไม่เคยเข้าฝึกอบรมกับสถานปฏิบัติธรรม มีผลคะแนนจากการตอบแบบคัดกรองฯ อยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ โรงเรียนละ 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 10 คน กลุ่มทดลอง 10 คน รวมตัวอย่างทั้งหมด3 โรงเรียน จำนวน 60 คน กลุ่มควบคุมดำเนินกิจกรรมเป็นปกติ กลุ่มทดลองได้รับการฝึกกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการคิดจากนิยามเชิงปฏิบัติการโยนิโสมนสิการ เวลา 1 เดือน ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองทำแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาจากนิยามฯ ติดตามผลกลุ่มทดลองทิ้งระยะเวลา 1 เดือน โดยใช้แบบวัดฯฉบับเดิม ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มควบคุมที่มีการรักษาศีลต่างกัน จะมีค่าเฉลี่ยของคะแนนวัดความสามารถในการคิดฯแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองก่อนการทดลองที่มีการรักษาศีลต่างกัน จะมีค่าเฉลี่ยของคะแนนวัดความสามารถในการคิดฯแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่าระดับศีลมีผลต่อการสร้างกระบวนการคิด คำสำคัญ: โยนิโสมนสิการ การคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพช่วงชั้นที่ 3 ABSTRACT This study is an experimental research aimed to study the activities and the difference value result from operational definition of Yonisomanasikara thinking process activities between secondary school students, and novices in general education division system (in the third level).The sampling group of the study consisted of (1) Novices School (2) Students that practice dharma or ordain a novice, and (3) Students who do not practice dharma , and using problem solving questionnaire as a screening, novices and students who have medium to low problem solving scorewere selected as a sampling of total 60 students,3 schools. Each sample group answered problem solving questionnaire by using “Yonisomanasikara” operational definition as an instrument in this study and the simple random in each school for 20 participants as a control group, and 10 participants as an experimental group. The participants from experimental group will attend the activities, after activities are finished, the score will be collected from “Yonisomanasikara” operational definition problem solving questionnaire again, both control and experimental group, followed up participants from experimental group by leaving for 1 month, then use questionnaire (original edition). The result showed that mean score of control group and experimental group, both before and after the experiment in 3 schools The control group that have the difference in observing religious precepts have different mean score in testing the ability of thinking process with having statistically significant at 0.05 level both before and after the experiment of control and experimental group and experimental group before testing which have difference in observing religious precepts, having different mean score in measuring the ability of thinking process with having statistically significant at 0.05 level, indicated that precepts affected in creating thinking process. Keywords: Yonisomanasikara, Problem Solving, Career Department (third level)
Article Details
How to Cite
ปิ่นเจริญ ส., & บุณยะวันตัง พ. (2020). ศึกษาการสร้างกระบวนการคิดโดยใช้กิจกรรมที่สร้างจากนิยามเชิงปฏิบัติการโยนิโสมนสิการระหว่างนักเรียนระดับมัธยมศึกษาแผนกสามัญศึกษา กับสามเณร ที่อยู่ในระบบการศึกษาแผนกสามัญศึกษา ในช่วงชั้นที่ 3. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13241
Section
บทความวิจัย (Research Articles)