ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ และเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย – หญิง อายุระหว่าง 4 – 5 ขวบ ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนบ้านพุบ่องป่าขี ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 13 คน โดยมีขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกสุ่มอย่างง่าย ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยทำการทดลอง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 40 นาที ระหว่างเวลา 10.00 - 10.40 น. รวม 25 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ One - Group Pretest - Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ t – test สำหรับ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก, กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์การฉีก ตัดปะเศษวัสดุ, เด็กปฐมวัย
Article Details
How to Cite
ผาด่าน ร., บุญธิมา ร., & ชัชพงศ์ พ. (2015). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6576
Section
บทความวิจัย (Research Articles)