ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบศิลปะประดิษฐ์
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความ สามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบศิลปประดิษฐ์และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดการกิจกรรมเล่านิทานประกอบศิลปประดิษฐ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย - หญิง ที่มีอายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 1 ห้องเรียน จำนวน 24 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยทำการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือวันจันทร์ พุธ ศุกร์ วันละประมาณ 45 นาที ได้รับทั้งสิ้น 24 ครั้งในช่วงกิจกรรมสร้างสรรค์ เวลา 10.00 –10.45 น. ของทุกวัน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบศิลปประดิษฐ์ และแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .90 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ผู้วิจัยดำเนินการทดลองโดยใช้แบบแผนการทดลอง One-Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบ เทียบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้ t-test for dependent-samples ผลการวิจัยพบว่า หลังจากที่เด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบศิลปประดิษฐ์ เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการแก้ปัญหาเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับดีมากหลังจากการทดลอง และการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบศิลปประดิษฐ์ โดยรวมสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : การแก้ปัญหา ศิลปะประดิษฐ์Downloads
How to Cite
ช่อสูงเนิน ญ., บุญธิมา ร., & ชัชพงศ์ พ. (2015). ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบศิลปะประดิษฐ์. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6572
Issue
Section
บทความวิจัย (Research Articles)