การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น THE CREATION AND EFFICIENCY EVALUATION OF FINGERING EXERCISES OF PLAYING THE VIOLIN FOR BEGINNERS

Main Article Content

พกนก ชุมทอง
ฌานิก หวังพานิช

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วในการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอายุ 8-10 ปี ที่เริ่มเรียนไวโอลินในโรงเรียนนานาชาติออสเตรเลีย จำนวน 10 คน ซึ่งเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้ 1) ดำเนินการสอบถามความเหมาะสมของชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น (ครั้งที่1) กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 คน 2) ดำเนินการสอบถามความเหมาะสมของชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น (ครั้งที่ 2) กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 คน 3) ดำเนินการหาประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้นโดยใช้เกณฑ์ 80/80 โดยสอนกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 5 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 4) ดำเนินการสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ E1/E2 หรือ 80/80 ของชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น มีประสิทธิภาพเชิงประจักษ์อยู่ที่ระดับ 81.22/95.56 นั่นคือชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้นมีประสิทธิภาพของกระบวนการที่ระดับ 81.22 และมีประสิทธิภาพผลลัพธ์ที่ระดับ 95.56 โดยชุดแบบฝึกการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น มีจำนวน 20 แบบฝึกหัด โดยเรียงลำดับการวางระบบนิ้ว จากการเล่นสีสายเปล่า สลับกับการใช้นิ้ว 1 2 3 และ 4 ตามลำดับ ผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพหาความเที่ยงตรง (Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ประเมินในลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating scale) 5 ระดับ ซึ่งผลการประเมินคุณภาพของชุดแบบฝึกหัด มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.65 คะแนน อยู่ในระดับเหมาะสมที่สุด 2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วในการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย = 4.45 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.51 ซึ่งผลการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อทางการเรียนการสอนดนตรีให้มีประสิทธิภาพเพื่อเกิดประสิทธิผลต่อไป

Article Details

How to Cite
ชุมทอง พ. ., & หวังพานิช ฌ. (2024). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดแบบฝึกหัดการใช้นิ้วของการเล่นไวโอลินสำหรับผู้เริ่มต้น: THE CREATION AND EFFICIENCY EVALUATION OF FINGERING EXERCISES OF PLAYING THE VIOLIN FOR BEGINNERS. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1), 18–29. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15728
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กีรติ์ สุวัธนวิช. (2563). การพัฒนาและหาคุณภาพแบบฝึกหัดทักษะพื้นฐานสำหรับไวโอลินตามแนวคิดของอิวาน กาลาเมี่ยน. กรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ขันชัย มหาโพธิ์. (2535). รายงานการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี โดยใช้แบบฝึกการเขียนสะกดคำกับการเขียนตามคำบอก. อุดรธานี : หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุดรธานี.

ฉวีวรรณ กีรติกร. (2537). การพัฒนาการคิดคำนวณของนักเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวฤทธิ์ ใจงาม. (2561). แบบฝึกไวโอลินโดยใช้เพลงพื้นบ้านอีสาน ตามแนวคิดซูซูกิ. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2557). สังคีตนิยม : ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2557). ทฤษฎีการสอนดนตรี. เข้าถึงได้จาก https://suppavit014.wordpress.com.

พงศ์พันธุ์ เดชครุฑ. (2558). การสร้างชุดการสอนปฏิบัติไวโอลินโดยการประยุกต์ทำนองเพลงเต้นกำบ้านสระทะเล อำเภอ พยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. กรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สุกรี เจริญสุข. (2542). คู่มือการอบรมครูซูซูกิและการเป็นครูซูซูกิ. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วรสุดา บุญยะไวโรจน์. (2536). การพัฒนาทักษะทางภาษาไทยในระดับประถมศึกษาเรื่องสำหรับครูภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

เหนือดวง พูลเพิ่ม. (2560). การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรี ตามแนวคิดของซูซูกิร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะ การขับร้องและความสามารถในการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.