การศึกษาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติกีตาร์ ด้วยชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์แบบร่วมมือเชิงรุกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) THE STUDY IN ACHIEVEMENT IN GUITAR PRACTICE BY USING THE ACTIVE COLLABORATIVE GUITAR ACTIVITY PACKAGE OF GRADE 8 STUDENTS AT PRASANMIT DEMONSTRATION SCHOOL (SECONDARY DIVISION)

Main Article Content

ปิติวัตร อินทราศักดิ์
ฌานิก หวังพานิช

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดลองก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติกีตาร์ และศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการปฏิบัติกีตาร์ด้วยชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์แบบร่วมมือเชิงรุก กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาทักษะดนตรีสากล3 (กีตาร์) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เครื่องมือทดลองคือ ด้วยชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์แบบร่วมมือ (Cooperative learning) เชิงรุก (Active learning) เครื่องมือวัดคือ แบบวัดทักษะกีตาร์ และเครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการปฏิบัติกีตาร์ด้วยชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์แบบร่วมมือเชิงรุก โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์โดยใช้ค่าทดสอบที (t-test) แบบ Dependence วิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรม ผลการวิจัยพบว่า 1.) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์แบบร่วมมือ (Cooperative learning) เชิงรุก (Active Learning) มีผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติกีตาร์สูงขึ้นทั้งรายบุคคลและโดยรวม 2.) นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์แบบร่วมมือ (Cooperative learning) เชิงรุก (Active Learning) โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
อินทราศักดิ์ ป., & หวังพานิช ฌ. (2023). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติกีตาร์ ด้วยชุดกิจกรรมการปฏิบัติกีตาร์แบบร่วมมือเชิงรุกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม): THE STUDY IN ACHIEVEMENT IN GUITAR PRACTICE BY USING THE ACTIVE COLLABORATIVE GUITAR ACTIVITY PACKAGE OF GRADE 8 STUDENTS AT PRASANMIT DEMONSTRATION SCHOOL (SECONDARY DIVISION). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 13–27. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15247
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Fitz - Gibbon & Carol T. (1987). How to Design a Program Evaluation. Newbury Park: SAGE.

Shelly Carolyn H. (1975). Similarities and differences between psychological deficit in aging and brain damage. Journal of Gerontology, 30(4), 448-455.

เพ็ญพนอ พ่วงแพ, และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2558, มกราคม-เมษายน). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ สังคมศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 2.

ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. (2550). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา: บทบาทของครูกับ Active Learning. สืบค้นจาก: http://www.pochanukul.com.

ธงชัย ต้นทัพไทย. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และค่านิยมการบริโภคอาหารของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์. สารนิพนธ์ (กศ.ม. (การมัธยมศึกษา)), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ). สืบค้นจากhttp://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Sec_Ed/Thongchai_T.pdf

ปิยะมาศ ชาติมนตรี. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือ โดยใช้สวนพฤกษศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี. (คณะวิทยาศาสตร์).

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). วิจัยในชั้นเรียน : หลักการสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

มาลินี จุฑะรพ. (2537). จิตวิทยาการเรียนการสอน: กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์.

ศารทูล อารีวรวิทย์กุล. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา)), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ). สืบค้นจากhttp://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Sec_Ed/Saratul_A.pdf

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2559). วิธีสอนทั่วไป (Method of Teaching). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). คุณภาพผู้เรียน เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

อภิญญา เคนบุปผา. (2546). การพัฒนาชุดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์เรื่อง "สารและสมบัติของสาร" สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. (วิทยาศาสตรศึกษา)), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Sci_Ed/Apinya_K.pdf