ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อเสริมสร้างการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 THE EFFECTIVENESS OF GUIDANCE ACTIVITIES BASED ON POSITIVE PSYCHOLOGY TO ENHANCE GOAL SETTING IN STUDY AMONG GRADE 12 STUDENTS

Main Article Content

เสกข์ วงศ์พิพันธ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามแนวจิตวิทยาเชิงบวก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 263 คน และกลุ่มที่ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยพิจารณาจากนักเรียนที่มีคะแนนการตั้งเป้าหมายทางการศึกษา ตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการตั้งเป้าหมายทางการศึกษา และ 2) กิจกรรมแนะแนวตามหลักจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อเสริมสร้างการตั้งเป้าหมายทางการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความมุ่งมั่น มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการกำหนดเป้าหมายและด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ตามลำดับ 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวตามแนวจิตวิทยาเชิงบวกมีคะแนนการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
วงศ์พิพันธ์ เ. (2023). ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อเสริมสร้างการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6: THE EFFECTIVENESS OF GUIDANCE ACTIVITIES BASED ON POSITIVE PSYCHOLOGY TO ENHANCE GOAL SETTING IN STUDY AMONG GRADE 12 STUDENTS. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 69–78. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15701
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Ali, L., & Graham, B. (1996). The counselling approach to careers guidance: Psychology Press.

Chodkiewicz, Alicia. (2018). School-based positive psychology interventions: The development of a new evaluation process and intervention. (Doctoral dissertation). University of Exeter, United Kingdom.

Kesui, H. C., Manduku, J., & Sang, H. (2017). EFFECTIVENESS OF GUIDANCE AND COUNSELLING PROGRAMS IN MANAGING INDISCIPLINE CASES IN SECONDARY SCHOOLS IN BURETI SUB-COUNTY, KERICHO COUNTY, KENYA. European Journal of Education Studies.

Seligman, M. E. P., & Csikszentmihalyi, M. (2000). Positive psychology: An introduction. American Psychologist.

Snyder, C. R., Hoza, B., Pelham, W. E., Rapoff, M., Ware, L., Danovsky, M., . . . Stahl, K. J. (1997). The development and validation of the Children’s Hope Scale. Journal of pediatric psychology.

Snyder, C. R., Shorey, H. S., Cheavens, J., Pulvers, K. M., Adams III, V. H., & Wiklund, C. (2002). Hope and academic success in college. Journal of educational psychology.

Taro Yamane. (1970). Statistic: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2566). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาวรรณ ธนพรดี. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อเป้าหมายในชีวิตของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร. (กศ.ม). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

นภาพร หริมเจริญ. (2563). การเสริมสร้างความหวังทางการศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการใช้กิจกรรมแนะแนว. (กศ.ม). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ปราโมทย์ ธรรมรัตน์. (2550). ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาประเทศตามนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงและคุณธรรม นำความรู้ด้วย ศาสตร์แห่งความสำเร็จ และต่อยอดด้วยคลังความรู้โลก. วารสารประชาคมวิจัย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รับขวัญ ภูษาแก้ว. (2557). หน่วยที่ 11 กิจกรรมแนะแนวและเครื่องมือแนะแนวเพื่อการศึกษาต่อ กิจกรรมและเครื่องมือ แนะแนว : เอกสารการสอนชุดวิชา 25406 = Guidance activities and instruments มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ลักขณา สริวัฒน์. (2556). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2554). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2557). ระบบการแนะแนวในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย.

อชิรญา จตุรภัทรไพบูลย์. (2563). การเสริมสร้างเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. (กศ.ม). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์. (2554). จิตวิทยาการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.