การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีนระดับต้น สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
DEVELOPMENT OF ELECTRONIC BOOKS TO PROMOTE LEARNING OF A BEGINNER LEVEL CHINESE LANGUAGE COURSE FOR STUDENTS OF YALA RAJABHAT UNIVERSITY
Keywords:
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, ภาษาจีนพื้นฐาน, บทเรียนเสริมAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีนระดับต้น สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีนระดับต้นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้หาประสิทธิภาพคือ นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 36 คน และกลุ่มตัวอย่างเพื่อการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเลือกเสรีในรายวิชาภาษาจีนระดับต้น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.95/81.03 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05References
Romiszowski J. (1999). AulaNet and other Web-based Learning Environments: a comparative study in an international context. Proceedings of the 1999 ABED International Conference, Rio de Janeiro.
กฤษณ์ ลักษมีพงศากุล. (2566). การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่่อง ระบบสัทอักษรภาษาจีนกลาง โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้้นมัธยมศึกษาปีที่1. ครุสภาวิทยาจารย์. 4(2), 63-76.
กามีละห์ จิใจ และอภิชา แดงจำรูญ. (2566). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5โรงเรียนเตรียมศึกษาวิทยาจังหวัดปัตตานี. Journal of Modern Learning Development. 8(8). 310-317.
กุณฑิกา พัชรชานนท์ และบัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2556). ส่งเสริมการสอนภาษาจีน. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/
จันทนา บรรจงดิษฐ์, สมาน เอกพิมพ์, และพุทธารัตน์ ทะสา, (2558). การพัฒนาความสามารถภาษาจีนเพื่อการสื่อสารโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 กลุ่มระดับชาติ ด้านการศึกษา, 6(3), 65-73. สืบค้นจาก http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/5-03/article/view/177
เปรมปรีดิ์ โพธิ์ศรีทอง. (2566). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เพื่อพัฒนาการเขียนภาษาไทยสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปะลพบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 10(2). 55-68.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). E-BOOK หนังสือพูดได้. กรุงเทพมหานคร: ฐานบุ๊คส์.
ไพโรจน์ ตีรณธนากุล, ไพบูลย์ เกียรติโกมล และเสกสรรค์ แย้มพินิจ. (2546). การออกแบบและผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนสำหรับ e-Learning. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.
ภัททิยา แก้วเกตุ และเพียงเพ็ญ จิรชัย. (2566). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาการอ่านออกเสียงสะกดคำวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่2โรงเรียนนาหลวง. วารสารรัชต์ภาคย์. 17(52). 143-159.
วรรณิษา ไวยฉาย. (2565). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในสถานการณ์ปัจจุบัน: มุมมองของผู้เรียน ต่อการพัฒนาสถาบันสอนภาษา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 16(1), 153-166.
เหยิน จิ่งเหวิน. (2555). ภาษาจีนระดับต้น 1. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้นท์.
อารีรัตน์ สุขจิตร. (2565). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง อาหารประเภทสำรับสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(10). 1-10.