การศึกษาหลักสูตรที่ไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานหลักสูตรปีการศึกษา 2557-2564 และแนวทางพัฒนาหลักสูตรให้ผ่านการกำกับมาตรฐาน กรณี :ศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น EDUCATION OF NON-STANDARD CURRICULUM DURING ACDEMIC YEAR 2014-2021 AND GUIDELINES FOR CURRICULUM DEVELOPMENT TO MEET STANDARDIS: A CASE STUDY OF KHON KAEN

Main Article Content

ภาวนา กิตติวิมลชัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักสูตรที่ไม่ผ่านการกำกับมาตฐาน ปีการศึกษา 2557-2564 2) ศึกษาสาเหตุที่ไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานหลักสูตร 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้ผ่านการกำกับมาตรฐานหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ หลักสูตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นทุกระดับที่เปิดสอนระหว่างปีการศึกษา 2557-2564 จำนวน 311 หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตรทั้งหมด จำนวน 311 หลักสูตร ที่มีการตรวจประเมินคุณภาพภายในหลักสูตร ระหว่างปีการศึกษา 2557-2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปีการศึกษา 2557-2564 หลักสูตรทุกระดับการศึกษา ไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานรวม 106 หลักสูตร (ร้อยละ 33.54) จำแนกเป็น หลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 25 หลักสูตร (ร้อยละ 26.31) หลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวน 47 หลักสูตร (ร้อยละ 34.81) หลักสูตรระดับปริญญาเอกจำนวน 34 หลักสูตร (ร้อยละ 40.00) และพบว่า ปีการศึกษา 2557 มีหลักสูตรไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานมากที่สุด จำนวน 39 หลักสูตร และมีจำนวนลดลง จนในปีการศึกษา 2564 มีหลักสูตรไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานเพียง 2 หลักสูตร 2) สาเหตุที่ไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานหลักสูตร ปีการศึกษา 2557-2564 พบว่าหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และหลักสูตรปริญญาเอก ไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานมากที่สุดคือ เกณฑ์การกำกับมาตรฐานข้อที่ 1 จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร รองลงมาคือ เกณฑ์การกำกับมาตรฐานข้อที่ 2 คุณสมบัติอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และเกณฑ์การกำกับมาตรฐานข้อที่ 3 คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร 3) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้ผ่านการกำกับมาตรฐาน ประกอบด้วย (1) จัดทำแผนบริหารอัตรากำลังทั้งในระดับสถาบัน ระดับคณะและระดับหลักสูตร (2) การจัดสรรอัตรากำลังทดแทนการเกษียณ ลาออก โอนย้าย เพื่อให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน (3) การจัดทำแผนส่งเสริมและพัฒนาคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกและตำแหน่งทางวิชาการ (4) ส่งเสริมการทำวิจัยเป็นทีมและจูงใจให้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติมากกว่าการนำเสนอผลงานวิชาการในที่ประชุมวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ (5) กำหนดแนวปฏิบัติและขั้นตอนในการปรับปรุงหลักสูตร (6) การเตรียมความพร้อมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้มีความเข้าใจกระบวนการพัฒนาหลักสูตร แบบฟอร์มและเอกสารที่เกี่ยวข้อง (7) กำหนดระยะเวลาในการกลั่นกรองหลักสูตรและลดขั้นตอนการพิจารณาหลักสูตรให้รวดเร็วมากขึ้น (8) พัฒนาระบบแจ้งเตือนและติดตามหลักสูตรก่อนครบรอบการปรับปรุงหลักสูตรทุก 2 ปี เป็นต้น

Article Details

How to Cite
กิตติวิมลชัย ภ. (2024). การศึกษาหลักสูตรที่ไม่ผ่านการกำกับมาตรฐานหลักสูตรปีการศึกษา 2557-2564 และแนวทางพัฒนาหลักสูตรให้ผ่านการกำกับมาตรฐาน กรณี :ศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น: EDUCATION OF NON-STANDARD CURRICULUM DURING ACDEMIC YEAR 2014-2021 AND GUIDELINES FOR CURRICULUM DEVELOPMENT TO MEET STANDARDIS: A CASE STUDY OF KHON KAEN. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1), 173–186. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15686
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545

และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2533 กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548, สืบค้นจาก

http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/criterion48/criterion_b58.PDF

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558, สืบค้นจาก

http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/criterion58/criterion%20_m58.PDF

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2565,

สืบค้นจาก https://www.mhesi.go.th/index.php/all-legal/76-ministerial-regulation/7210-2565-2.html

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา. (2566). คู่มือกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา.

สืบค้นจาก https://www.studentloan.or.th/system/files/files/download/manual2566.pdf

จักรกฤษณ์ โปณะทอง. ( 2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารการวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.12(1).59-77.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2560). กระบวนการพัฒนาอาจารย์ผู้สอนในการทำวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 33(1).145-156.

ณรงค์ฤทธิ์ ประสานตรี. (2559). รูปแบบการพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.11(1).203-216.

มัทรี วรรณชัย. (2562). การกำกับติดตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ครบรอบระยะเวลาการปรับปรุงหลักสูตร. รายงานการวิจัยสถาบันประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562.สืบค้นจาก

https://registrar.kku.ac.th/policy/download/research/research62_5.pdf

ภาวนา กิตติวิมลชัย. (2561). สภาพปัจจุบันและปัญหาในการบริหารหลักสูตรตามระบบประกันคุณภาพและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารการวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.13(2).109-125.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). ประกาศรายชื่อหลักสูตรที่ไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร,สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/users/bhes/QAMUA60.pdf

สมชาย พันธเสน. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม.12(2).94-102.