การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการบริหารหลักสูตรตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ:กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

ภาวนา กิตติวิมลชัย

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารหลักสูตรตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2. ศึกษาปัญหาในการบริหารหลักสูตรตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 3. การศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารหลักสูตรให้มีคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรสายวิชาการที่ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการบริหารหลักสูตร จำนวน 522 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามมาตราส่วนค่า 5 ระดับ (rating scale) มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การบริหารหลักสูตรตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1. ด้านนักศึกษา ( =4.28,S.D.=0.84) 2. ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ( =4.23, S.D.=0.81) 3. ด้านการบริหารงบประมาณ ( =3.86,S.D.=0.87) 4. ด้านการบริหารหลักสูตร ( =3.85, S.D.=0.79) 5. ด้านการจัดการเรียน       การสอน ( =3.71, S.D.=0.91) 6. ด้านการบริหารอาจารย์ประจำหลักสูตร ( =3.65, S.D.=0.86) ปัญหาที่พบ เช่น 1. อาจารย์มีภาระงานมากส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรการพัฒนาผลงานวิชาการและตำแหน่งทางวิชาการ 2. การสรรหาอาจารย์ทดแทนคนที่ลาออก เกษียณหรือโอนย้ายมีความล่าช้าทำให้จำนวนอาจารย์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 3. มีการทำวิจัยในลักษณะต่างคนต่างทำยังไม่มีการบูรณาการการทำวิจัยร่วมกัน 4. นักศึกษาทุกระดับมีจำนวนลดลงทำให้การรับนักศึกษาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 5. ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนน้อยลงส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนและการออกลางคัน 6. การบริหารหลักสูตรที่ใช้ร่วมกันระหว่างคณะในมหาวิทยาลัยกับวิทยาเขตหนองคายยังไม่ได้มาตรฐานเดียวกัน 7. การปรับปรุงหลักสูตรทุกรอบ 5 ปี มีความล่าช้าทำให้หลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน แนวทางแก้ไขปัญหา เช่น               1. วิเคราะห์และวางแผนอัตรากำลังทุก 2 ปี 2. มีระบบพี่เลี้ยงและการสอนงานด้านการเทคนิคการสอน การวัดและประเมิน การพัฒนาผลงานวิชาการ 3. แจ้งเตือนการปรับปรุงหลักสูตรล่วงหน้าและกำหนดวันหมดอายุการใช้งานหลักสูตร 4. กำหนดกลไกการปิดหลักสูตรที่ไม่ได้คุณภาพ 5. จัดการเรียนการสอนแบบทีม (Team teaching) 6. ติดตามประเมินผลการใช้ทรัพยากรและสิ่งสนับสนับสนุนการรู้ให้เกิดความคุ้มค่าและมีระบบการแจ้งซ่อมที่รวดเร็วผ่านไลน์ หรือ QR Code คำสำคัญ : การบริหารหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร ABSTRACT This study aimed to 1) study the current state of curriculum administration according to the internal quality assurance system; 2) study problems of curriculum administration according to the internal quality assurance system; 3) study guidelines for curriculum administration problem solving.  The sample consisted of 522 academic staff who serve as curriculum committee.  The research instrument used in this study was questionnaire. The reliability of the questionnaire was reported 0.91. Data analysis included frequency (F), percentage (%), mean ( )) and standard deviation (SD). The results showed thatcurriculum administration of Khon Kaen University according to the internal quality assurance systemis at a high level on every aspect:1) students ( =4.28, S.D.= 0.84); 2) learning support facilities ( =4.23, S.D.=0.81); 3) budget administration ( =3.86, S.D.=0.87); 4) curriculum administration ( =3.85, S.D.=0.79); 5) learning and teaching ( =3.71, S.D.=0.91); and 6) program instructor administration ( =3.65, S.D.=0.86)respectively. The problems found were, for instance, 1) the workload of program instructors affects curriculum administration, their academic work, and application for academic positions; 2) the recruitmentof program instructorsto replace staff’s resignation or retirement was delayed; 3) the researchs conducted were non-integrated; 4) student admission rate does not meet the target; 5) students had less basic knowledge necessary for learning and teaching, which effects student quality and drop out rate 6) There were differences of the curriculum administration standards between Khon Kaen University and Nong Khai Campus; and 7) curriculum development was delayed and does not follow the schedule.  The guidelines for problem solving were, for example, 1) organize workforce analysis and planning every 2 years; 2) there should be a coaching system for teaching techniques, measurement and evaluation, and academic work development;3) a notification system for curriculum developmentperiod should be applied and curriculum’s end date should be set; 4) there should be a mechanism for unqualified curriculum cancellation; 5) encourage team teaching; 6) there should be a follow-up and evaluation of learning resources and learning facilities for their worthiness andthere should be quick means for maintenance service request such as Line or QR Code. Keyword : Curriculum Administration, Internal Quality Assurance, Curriculum Development

Article Details

How to Cite
กิตติวิมลชัย ภ. (2018). การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการบริหารหลักสูตรตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ:กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11047
Section
บทความวิจัย (Research Articles)