รูปแบบการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างทักษะการปรึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช A PSYCHOLOGICAL TRAINING MODEL FOR ENHANCING COUNSELING SKILLS OF GRADUATE ADVISORS, SCHOOL OF EDUCATION SUKHOTHAI THAMMATHIRAT OPEN UNIVERSITY

Main Article Content

นิธิพัฒน์ เมฆขจร
วัลภา สบายยิ่ง
สุขอรุณ วงษ์ทิม
นิรนาท แสนสา
จิระสุข สุขสวัสดิ์
จุรีรัตน์ นิลจันทึก

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ 2) เปรียบเทียบทักษะการปรึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระยะก่อน หลัง และติดตามผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทักษะการปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองรูปแบบการอบรมเชิงจิตวิทยา เป็นอาจารย์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีการศึกษา 2564 ที่มีประสบการณการเป็นอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาไม่เกิน 5 ปี จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบวัดทักษะการปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.74 และ 2) รูปแบบการอบรมเชิงจิตวิทยาเพื่อพัฒนาทักษะการปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบฟรีดแมน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) อาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีทักษะการปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง 2) อาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษากลุ่มทดลองมีทักษะการปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสูงขึ้นภายหลังได้รับรูปแบบการอบรมเชิงจิตวิทยา และ 3) ระยะหลังการทดลองและติดตามผล อาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษากลุ่มทดลองมีทักษะการปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
เมฆขจร น., สบายยิ่ง ว. . ., วงษ์ทิม ส. ., แสนสา น. ., สุขสวัสดิ์ จ. ., & นิลจันทึก จ. . (2023). รูปแบบการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างทักษะการปรึกษาสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: A PSYCHOLOGICAL TRAINING MODEL FOR ENHANCING COUNSELING SKILLS OF GRADUATE ADVISORS, SCHOOL OF EDUCATION SUKHOTHAI THAMMATHIRAT OPEN UNIVERSITY. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 95–104. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15654
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

นพพร แสงทอง. (2563). การเสริมสร้างสรรถนะการให้คำปรึกษาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาโดยการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพ ฯ.

นันทวิทย์ เผ่ามหานาคะ. (2557). การพัฒนายุทธวิธีการเรียนรู้ของนิสิตคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์โดยการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

ปัทมา ปานแดง. (2559). การศึกษาและพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2529). การแนะแนวและการให้คําปรึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วรางคณา โสมะนันทน์. (2561). ทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้นสำหรับครูประจำชั้น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(2), 173-18.

วิจิตรา อัครพิชญธร. (2562). ทักษะเบื้องต้นในการให้คำปรึกษา. http://ctublog.christian.ac.th/blog_orm/2019/09/09/

สวัสดิ์ บรรเทิงสุข. (2542). การศึกษาปัญหาและรูปแบบการดำเนินงานการแนะแนวและการให้คำปรึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคเหนือ. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Chan, F., Berven, N. L., & Thomas, K. R. (2015). Counseling Theories and Techniques for Rehabilitation and Mental Health Professionals (Second ed.). Springer Publishing.