การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารของครูวิทยาศาสตร์ด้วยโครงการฝึกอบรมการนำสื่อการเรียนรู้ความจริงเสริมในรายวิชาเคมี เรื่อง หมู่ฟังก์ชันสารอินทรีย์
THE DEVELOPMENT OF SCIENCE TEACHER'S COMMUNICATION COMPETENCY THROUGH TRAINING PROGRAMS USING CHEMISTRY AUGMENTED REALITY LEARNING MEDIA IN FUNCTIONAL GROUP OF ORGANIC SUBSTANCES
Keywords:
การฝึกอบรม, สมรรถนะการสื่อสาร, สื่อความเป็นจริงเสริมAbstract
การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารของครูวิทยาศาสตร์โดยโครงการอบรม เป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารของครูวิทยาศาสตร์ด้วยโครงการฝึกอบรม และ 2) เพื่อประเมินผลโครงการฝึกอบรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือประกอบการอบรม แบบประเมินสมรรถนะการสื่อสารของครูวิทยาศาสตร์และแบบประเมินโครงการตามแนวทางของเคิร์กแพทริค 4 ด้าน กลุ่มตัวอย่างคือครูวิทยาศาสตร์ผู้สอนรายวิชาเคมีและวิทยาศาสตร์ทั่วไป ในระดับมัธยมศึกษา ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ด้วยวิธีการเปิดรับสมัครครูที่มีความสนใจ จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้าน โดยการหาค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) c]tประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารของครูวิทยาศาสตร์ด้วยสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูวิทยาศาสตร์มีสมรรถนะการสื่อสารหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมการนำสื่อการเรียนรู้ความจริงเสริมในรายวิชาเคมี เรื่อง หมู่ฟังก์ชันสารอินทรีย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) ผลการประเมินโครงการอบรมตามแนวทางของเคิร์กแพทริคทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (X =4.76, S.D.= 0.33)References
จุมพล เหมะคีรินทร์. (2552). ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ ไทยสวทช. เอกสารประกอบการประชุมทาง วิชาการ, ณ ห้อง Lecture 2 บ้านวิทยาศาสตร์ สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย.
ณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล (2564). Education 2030 - อนาคตการศึกษาในอีก 10 ปีข้างหน้า. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564. https://www.disruptignite.com/blog/education2030
นิตยา ย้อยแก้ว และณัฐพล รำไพ. (2564). การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริมร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 6(1), 53-62.
ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2563). การประเมินผลการฝึกอบรม 4 ลำดับของ Kirkpatrick. Retrieved December 17, 2021. From https://drpiyanan.com/2019/05/23/4-level-of-training-evaluation-model-kirkpatrick/
พักตร์จิรา ปรารมภ์, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ และเมธี ธรรมวัฒนา. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 9(2), 301-313.
พิมพา จันทาแล้ว และมัสยา รุ่งอรุณ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านการสอนงานประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับครูในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 137-150.
วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนการออกแบบนวัตกรรม สำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาภาคตะวันออก. วารสาร ครุพิบูล, 9(2), 197-212.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สมรรถนะการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565. https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/สมรรถนะหลัก-6-ประการ/สมรรถนะการสื่อสาร/
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง และพร้อมภัค บึงบัว. (2562). ระบบพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33 (107). 206-222.
Ismaili, J. (2020). Evaluation of information and communication technology in education programs for middle and high schools: GENIE program as a case study. Education and Information Technologies, 25, 5067–5086.