สมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในนิสิตนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
THE INTERCULTURAL COMMUNICATIVE COMPETENCE (ICC) OF ENGLISH MAJOR UNDERGRADUATE STUDENTS IN THE FACULTY OF EDUCATION
Keywords:
สมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม, การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมAbstract
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของนิสิตนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี รวมถึงศึกษาความสนใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม โดยการวิจัยสำรวจ (Survey Research) มีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จากเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง 5 แห่ง จำนวน 140 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม และวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า นิสิตนักศึกษาครูมีสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย ) และเมื่อพิจารณาแต่ละด้านของสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม พบว่า นิสิตนักศึกษามีความรู้ ทักษะ และเจตคติ อยู่ในระดับมาก โดยมีระดับค่าเฉลี่ย และ ตามลำดับ ในขณะที่ด้านความตระหนักทางวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ในด้านความสนใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม นิสิตนักศึกษาต้องการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.71 โดยถึงแม้ว่านิสิตนักศึกษาร้อยละ 37.14 เห็นว่าเจตคติคือส่วนที่สำคัญที่สุด แต่ในด้านการพัฒนา นิสิตนักศึกษาทุกคนต่างเห็นว่าควรต้องพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมให้ครบทุกด้าน โดยจากการสำรวจ พบว่า ร้อยละ 61.43 ต้องการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมจากการการสนทนากับผู้ที่มีประสบการณ์ หรือผู้ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างจากตนมากที่สุดReferences
กมลชนก ชำนาญ และ อวยพร เรืองตระกูล. (2557). การพัฒนาแบบวัดและการวิเคราะห์ระดับความสามารถทางวัฒนธรรมของครู. An Online Journal of Education, 9(2), 534–548.สืบค้นจาก https://so01.tci- thaijo.org/index.php/OJED/article/view/43786
ชุตินันท์ จันทรเสนานนท์. (2553). การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม (A Development of Cultural Competence Scale). วารสารครุศาสตร์ 1(40). หน้า 43 – 58.
ธนิฏฐา บุษบก. (2556) ความตระหนักต่ออันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ประเภทซากโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร . มหาวิทยาลัยมหิดล/กรุงเทพฯ. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/MU.the.2013.32
นพวรรณ ยอดธรรม. (2558). “การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนววิถีประมงพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมความตระหนักทาง วัฒนธรรมในเด็กปฐมวัย.” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ปฐมวัยศึกษา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
บุบผา อยู่ทรัพย์. (2555). การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาผ่านการเรียนการสอนรายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. วารสารวิจัย มสด. 8(2). 189-204.
ศุทรา สุนันทกรญ์. (2555) ความตระหนักต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรนันทนาการฐานป่าไม้ของผู้มาเยือนน้ำตกโตนงาช้าง จังหวัดสงขลา . มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/นนทบุรี. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/STOU.the.2012.329
อารีรักษ์ มีแจ้ง และ สิริพร ปาณาวงษ์. 2553. การ พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษโดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน สําหรับครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 12(2): 17-31.
อุรุพร ศิริวิชยาภรณ์, สันติ ศรีสวนแตง และ ประสงค์ ตันพิชัย. (2018). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. VeridianmE-Journal Silpakorn University. https://doi.org/10.2139/ssrn.3244225
โอฬาริก ขุนสิทธิ์. (2555). การสื่อสารและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของบุคลากรไทยในบริษัทสาขาประจำประเทศเพื่อนบ้าน.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Aleksandrowicz-Pedich, L., Draghicescu, J., Issaiass, D., and Sabec, N. (2003). The views of teachers of English and French on intercultural communicative competence in language teaching. In I. Lazar (Ed.), Incorporating intercultural communicative competence in language teacher education, Europe Centre for Modern Languages/Council of Europe Publishing, Strasbourrg ASEAN THAILAND. ASEAN Economic Community – ASEAN thailand 2019. (n.d.). https://asean2019.go.th/en/abouts/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B
British council. British Council | ประเทศไทย. 2020. https://www.britishcouncil.or.th/
Cheung, M. W. L., Leung, K., & Au, K. (2006). Evaluating Multilevel Models in Cross-Cultural Research. An Illustration with Social Axioms. cross-cultural psychology, 37(5), 522-541.
Martin-Thornton, Renee. (2014). “A correlational study on the cultural awareness among graduating associate degree nursing students,” The Degree Doctor of Philosophy in Higher Education Administration, University of Phoenix
Moeller, A. J., & Nugent, K. (2014). Building intercultural competence in the language classroom. In S. Dhonau (Ed.), 2014 Report of the central states conference on the teaching of foreign languages (pp. 1-18).
Richmond, VA: Robert M. Terry. Nilmanee, M., & Soontornwipast, K. (2014). Exploring Factors Influencing the Teaching of Culture and Its Challenges: Teachers’ Perceptions. LEARN Journal: Language Education and Acquisition Research Network, 7(2), 1–18. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/LEARN/article/view/102695
Prapphal, K. 2001. English proficiency of Thai learners and directions of English teaching in Thailand. Journal of English Studies. 1(1). 6-12