แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดกาญจนบุรี GUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF LEARNING INNOVATIONS IN SOCIAL STUDIES, RELIGION AND CULTURE LEARNING GROUPS IN SECONDARY SCHOOLS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 8, KANCHANABURI PROVINCE

Main Article Content

สุทธิพร ลีเจริญ

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมจำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เป็นการวิจัยแบบผสม ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน 2) ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 100 คน 3) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 382 คน 4) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า 1) ตามความคิดเห็นของของนักเรียน อยู่ในระดับ ปาน กลาง (3.40) 2) ความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับ ปานกลาง (4.19) และ 3) ความคิดเห็นของผู้บริหาร สถานศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง (5.00) 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เมื่อจำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร 1) ด้านการบริหาร โรงเรียนขนาดกลางแตกต่างกับขนาดใหญ่ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่แตกต่างกับขนาดใหญ่พิเศษ 3) ด้านการบริการ โรงเรียนขนาดกลางมีความคิดเห็นที่แตกต่างกับใหญ่พิเศษ และความคิดเห็นของครูผู้สอน 1) ด้านการบริหาร โรงเรียนขนาดกลาง,ขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ แตกต่างกัน 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนขนาดกลาง,ขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ ไม่แตกต่างกัน 3) ด้านการบริการ โรงเรียนขนาดกลางกับขนาดใหญ่ที่แตกต่างกับขนาดใหญ่พิเศษ 3. แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อสร้างเป็นแนวทางการพัฒนาการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหาร 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการบริการ

Article Details

How to Cite
ลีเจริญ ส. (2023). แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดกาญจนบุรี: GUIDELINES FOR THE DEVELOPMENT OF LEARNING INNOVATIONS IN SOCIAL STUDIES, RELIGION AND CULTURE LEARNING GROUPS IN SECONDARY SCHOOLS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 8, KANCHANABURI PROVINCE. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 102–117. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15173
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Kay, K. (2011). Seven steps to becoming a 21st century school or district. Retrieved February20, 2020, Retrieved from https://www.edutopia.org/blog/21st.

Wiggins, G. P., McTighe, & J. (2007). Schooling by design: Mission, action, and achievement. Alexandria, VA:ASCD.

เทพสุดา จิวตระกูล. (2561). การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัยของครู. บรรณศาสตร์ มศว.

เลิศศักดิ์ คำปลิว. (2551). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กุลชา สีภาพันธุ์. (2554). การพัฒนาการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียน เทศบาล 2 หนองบัว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏเชียงราย.

คมเดช ราชเหนือ. (2558). การบริหารการพัฒนาบุลากรทางการศึกษาด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษา. สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2559). นวัตกรรมการบริการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 20-23.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่สังคมแห่งคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิภาพรรณ พินลา. (2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. (2558). รายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษา.

สุพัตรา ตาดม่วง. (2558). การดำเนินการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองหว้า สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจศรา ประเสริฐสิน. (2560). การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา. บรรณศาสตร์ มศว. 2, 86.

อัจศรา ประเสริฐสิน, เทพสุดา จิวตระกูล, & จอย ทองกล่อมศรี. (2560). การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 10(2), 78-89.