การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

Main Article Content

พัชราภรณ์ ลีเบาะ
สุชาติ บางวิเศษ
ศักดินาภรณ์ นันที

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2. เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษาเลย หนองบัวลำภู 3. เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 3 ประเภท ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามในการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู  จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน  9 คน และครู 320 คน รวม 329 คน โดยการเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง Krejcie and Morgan ส่วนที่ถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง 0.44-0.81 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบ ถามทั้งฉบับ 0.96 และส่วนแบบสอบถามที่เกี่ยวกับสภาพที่พึ่งประสงค์ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง 0.25-0.97 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.98  2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนต้นแบบมีที่วิธีปฏิบัติที่ดีเยี่ยม (Best Practices) จำนวน 3 แห่ง 3) ร่างแนวทาง กลุ่มเป้าหมายคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) จำนวน 9 คน  4) แบบประเมินอิงเกณฑ์ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า1. ผู้บริหารและครู เห็นว่า สภาพปัจจุบันในการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.33, S.D.= 0.56) ผู้บริหารและครูเห็นว่าสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.84, S.D.= 0.21) 2. ผลการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู  ศึกษาพหุกรณี พบว่ามีความต้องการจำเป็นทุกด้าน โดยมีค่า PNI Modified อยู่ระหว่าง 0.06 ถึง 0.18 รายด้านที่พบว่ามีค่า PNI Modified สูงที่สุด ตามลำดับความสำคัญ คือ 1) ด้านการบริหารการจัดกิจกรรมให้นักเรียนประสบผลสำเร็จ 2) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3) การบริหารการดำเนินการสอนอย่างเป็นระบบ4) การบริหารโดยคำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 5) การบริหารการเสริมสร้างวินัยในชั้นเรียน และการสนทนากลุ่มประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 8 การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ 12 โครงการ  29 กิจกรรม  3. ผลการประเมินอิงเกณฑ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78, S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาค่าเฉลี่ยน้อย 3 อันดับ คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ( = 4.89, S.D. = 0.18) รองลงมา คือ ด้านความเป็นไปได้ ( = 4.80, S.D. = 0.22) และด้านความเหมาะสม ( = 4.65, S.D. = 0.49)

Article Details

How to Cite
ลีเบาะ พ., บางวิเศษ ส., & นันที ศ. (2023). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/14162
Section
บทความวิจัย (Research Articles)