การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยการนำแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยง และการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน

Main Article Content

วิทเอก สว่างจิตร

Abstract

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญา ระบบพี่เลี้ยงและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยการนำแนวคิดจิตตปัญญา ระบบพี่เลี้ยงและการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน และส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมทักษะชีวิตและทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษา จำนวน 59 คน คณะครุศาสตร์ ที่เรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้  ช่วงเดือนธันวาคม 2561 ถึงมีนาคม 2562 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ผลการวิจัยพบว่า

1) การออกแบบกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก5 ขั้นตอน คือ (1) พื้นฐานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และวิเคราะห์โจทย์วิจัย (2) การวิเคราะห์โจทย์วิจัยทางการศึกษาด้วยการปฏิบัติจริง (3) การออกแบบการแก้โจทย์วิจัยทางการศึกษา (4) การปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (5) การสะท้อนผลการเรียนรู้จากปฏิบัติการวิจัยและการนำเสนอผลงานหลังจากปรับตามข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ และนำมาใช้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ การชี้แนะหนุนเสริมความคิดวิเคราะห์จากการวิจัยปฏิบัติการและสะท้อนผลการเรียนรู้ร่วมกับแบบประมาณค่าการรับรู้ของผู้เรียนในการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยผู้เรียนได้แสดงการรับรู้ว่า (1) การเรียนรู้น่าสนใจระดับมากที่สุด ( = 3.31, S.D.=.46) (2) รู้สึกว่าการเรียนรู้น่าตื่นเต้น ระดับมากที่สุด ( = 3.20, S.D.=.55) และ (3) อยากรู้อยากเห็น ระดับมากที่สุด ( = 3.17, S.D.=.62) ตามลำดับ และจากสะท้อนผลการเรียนรู้พบว่าการเรียนรู้เกิดจากการปฏิบัติจริงและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 2) ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งผลต่อทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยพบว่า นักศึกษามีการรับรู้ต่อทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสูงสุด ในระดับมากที่สุด( = 3.35, S.D.=.56) รองลงมาคือ ทักษะชีวิต ในระดับมากที่สุด ( = 3.335, S.D.=.56) และทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ระดับมากที่สุด ( = 3.25, S.D.=.41) ตามลำดับ เนื่องจากได้ปฏิบัติในสถานการณ์และสถานที่จริง

 
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้เชิงรุก จิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยงการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
 
ABSTRACT
This research aimed to 1) investigateactive learning process by applying Contemplative Education, Coaching, Research Based Learning (CCR) in a Research for learning Development course 2) assess learning outcomes by applying active learning process towards learning skills (4Cs), life skills and Interpersonal skills. Subjects were 59 students of Faculty of Education attending a Research for Learning Development course during December,2018 – March, 2019 at Lampang Rajabhat University.Result
1) The active learning process was designed by applying CCR into 5 steps as follows: 1. Background of Research for Learning Development and identification of research problem. 2. Determination of educational research problem in practice. 3. Designing solving research problem. 4. Action research for Learning Development. 5. Reflective learning and presentation of learning outcomes. Underneath,applying contemplative education to create learning environment, coaching to enhance reflective thinking though action research. Reflection was employed as learning outcomes as well as evaluation tools, result 1) This task was interesting in itself was at a highest levels( = 3.31, S.D.=.46), 2) This task excited my curiosity was a highest levels( = 3.20, S.D.=.55).3) This task was made me curious was at a highest levels( = 3.17, S.D.=.62)And reflecting learning was found that learning by doing and interaction.2) Active Learning for 21st Century Learning skills, result, Interpersonal skill was at a highest levels( = 3.35, S.D.=.56), Life skill( = 3.25, S.D.=.41) and Learning and innovation skill ( = 3.25, S.D.=.41). Since was practiced.
 
Keywords: Active Learning, Contemplative Education, Coaching, Research Based Learning, 21st Century Skill

Article Details

How to Cite
สว่างจิตร ว. (2023). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยการนำแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ระบบพี่เลี้ยง และการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13980
Section
บทความวิจัย (Research Articles)