การศึกษาสภาพปัญหา และความพึงพอใจในการเรียนรูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด19) ของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาระดับสภาพปัญหา และความพึงพอใจของการเรียนรูปแบบออนไลน์ และเพื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหา และความพึงพอใจของการเรียนรูปแบบออนไลน์ ของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับตัวแปรข้อมูล เพศ และชั้นปีที่ศึกษาของนิสิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่ามีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = 0.857 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตระดับปริญญาตรีทุกชั้นปีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนที่ลงทะเบียนเรียน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนิสิตที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 829 คน ด้วยวิธีการการเลือกแบบบังเอิญ (accident sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ( ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาด้านผู้เรียน มีปัญหามากที่สุดมี ( = 3.836 ,S.D.=.527) ในภาพรวมของสภาพปัญหามี ( = 3.080, S.D.=..801) สำหรับด้านพึงพอใจในการเรียนรูปแบบออนไลน์มี ( = 3.497, S.D. = .728) เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างพบว่านิสิตที่มีเพศแตกต่างกันไม่มีความแตกต่างกันในสภาพปัญหาและความพึงพอใจ สำหรับนิสิตที่มีชั้นปีแตกต่างกันไม่มีความแตกต่างกันด้านสภาพปัญหาและความพึงพอใจ แต่เมื่อวิเคราะห์รายด้านพบว่า มีปัญหาด้านผู้สอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 พบว่า นิสิตชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 3 มีความแตกต่างในด้านผู้สอน สำหรับชั้นปีอื่นไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: ปัญหา; ความพึงพอใจ; การเรียนรูปแบบออนไลน์; ไวรัสโคโรนา 2019; นิสิต ABSTRACT The objectives of this research were to study problems and satisfaction in online learning and compare the problems and satisfaction in online learning of the students of Kasetsart University with the students’ personal status variables. The research instrument was a rating-scale questionnaire, with the reliability level of 0.857. The population for the research was the undergraduate students of Kasetsart University, Bangkhen Campus from every year who enrolled in the first semester, academic year 2020. The sample was 829 students who responded to the questionnaires drawn by simple accident sampling. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, and one way ANOVA. It was found that the student aspect was the most problematic issue with a mean of 3.836, and a standard deviation of .527, and the overall problem had a mean of 3.080, and a standard deviation of .801. In terms of satisfaction in online learning, the mean was 3.497, and the standard deviation was .728. When analyzing the differences, it was found that students of different sexes had no differences in problematic conditions and satisfaction. For students with different years of study, there were no differences in problematic conditions and satisfaction. However, when analyzing each aspect, it was found that There was a significant difference in teaching problems at .01. It was found that the first year and the third-year students had differences in the teachers. For other years it is no different. Keywords: Problem; Satisfaction; Online learning; Corona Virus 2019; StudentDownloads
Issue
Section
บทความวิจัย