องค์ประกอบและแนวทางการจัดการศึกษาตามแนวพุทธเศรษฐศาสตร์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และแนวทางการจัดการศึกษาตามแนวพุทธเศรษฐศาสตร์ มีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยศึกษาจากแหล่งข้อมูล ได้แก่ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษานอกระบบ การบริหารและการจัดการการศึกษา แนวคิดการ พัฒนาที่ยั่งยืน แนวคิดพุทธเศรษฐศาสตร์ และแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบ การพัฒนารูปแบบโดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ แบบ สังเคราะห์เอกสาร จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุป 2) การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยศึกษาจากแหล่งข้อมูล ได้แก่ สถาบันการศึกษานอกระบบ จำนวน 5 แห่ง และมีผู้ทรงคุณวุฒิในด้านที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการศึกษาทางเลือกจำนวน 2 ท่าน โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ด้วยตนเอง สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์และ สัมภาษณ์ทางสื่ออนไลน์ และวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบการจัดการศึกษามี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักสูตร ประกอบด้วย สาระเนื้อหาในการศึกษา รูปแบบและวิธีการเรียนการสอน และการประเมินผลการศึกษา 2) บุคลากร ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูผู้สอน/ผู้ให้การเรียนรู้/ผู้ถ่ายทอดเนื้อหาสาระ 3) เครื่องมือ ประกอบด้วย สื่อและอุปกรณ์สำหรับการศึกษา เงินทุนสนับสนุน สถานที่ศึกษาและบรรยากาศแวดล้อม 4) การแนะแนว ประกอบด้วย การให้คำปรึกษา และ 5) การบริหาร ประกอบด้วย ปรัชญาและแนวคิดการบริหาร การกระจายอำนาจ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 2. แนวทาง การจัดการศึกษาตามแนวพุทธเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย 1) การพัฒนามุมมอง วิธีคิด และปัญญา มีกลยุทธ์การจัดการ เรียนรู้ ได้แก่ การฝึกอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดให้มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ การมอบหมายให้วิพากษ์ วิจารณ์หนังสือ การให้คำปรึกษาหารือ การเป็นตัวอย่างที่ดี 2) การพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต มีกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การฝึกอบรมแบบแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การฝึกอบรมแบบแก้ปัญหา เกมและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากร กิจกรรมวอล์คแรลลี่เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทีมงาน และ 3) การพัฒนาทักษะด้านอาชีพ มีกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การฝึกอบรมภาคสนามหรือในพื้นที่ การจัดโปรแกรมการศึกษา การศึกษาจากสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ การพัฒนา ด้วยวิธีฝึกหัดงาน วิธีการศึกษาดูงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรด้วยการสอนงาน การเสริมสร้างพัฒนา ไปสู่ผู้เชี่ยวชาญ การฝึกปฏิบัติงาน การฝึกอบรมเฉพาะในงาน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ 1) หลักสูตร : สาระเนื้อหาในการศึกษาจะต้องทันสมัย มีการปรับเปลี่ยนข้อมูลใหม่ ๆ ตลอดเวลา รูปแบบและวิธีการเรียน การสอน มีการใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น 2) บุคลากร : ผู้บริหารสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอย่าง เต็มที่ ครูผู้สอน ผู้ให้การเรียนรู้ ผู้ถ่ายทอดเนื้อหาสาระ มีความรู้ในเรื่องที่ตนสอนเป็นอย่างดี ตลอดจนสามารถสร้าง แรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียนได้ 3) เครื่องมือ : มีการใช้สื่อและอุปกรณ์สำหรับการศึกษาที่หลากหลาย สถานที่ศึกษาและ บรรยากาศแวดล้อมมีความสงบร่มเย็นเอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน 4) การบริหาร : ปรัชญาการบริหารมีความชัดเจน มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง คำสำคัญ: การจัดการศึกษา; พุทธเศรษฐศาสตร์; การพัฒนาที่ยั่งยืน; การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์; การบริหารตาม วัตถุประสงค์; ทฤษฎีวิเคราะห์ระบบ ABSTRACT This research aims to study components and guidelines for the management according to Buddhist economics by using 2-step research method: 1) Studying, analyzing, synthesizing documents and related research from different sources such as non-formal education institutions, administration and educational management, concepts of sustainable development, visions of Buddhist economics, as well as concept of model development. The researchers first conducted studies on the related documents and recorded them in the form of a synthesized paper. These data were then proceeded to be analyzed and concluded. 2) Interviewing with persons involved in educational management both in the country and abroad by studying from data sources, collected data from five non-formal educational institutions and two experts in the field of education and alternative education, using structured interviews. The data was collected interviewed by researchers, telephone interviews and online media interviews. The contents were analyzed and then concluded. The results of the research were as follows: 1. There were five components of educational management: 1) Curriculum, consisting of the content, form and method of teaching, and educational evaluation 2) Personnel, consisting of administrators and teachers/educators/knowledge providers 3) Instruments, consisting of educational materials and equipment, fund, sites of education, and environment 4) Guidance, consisting of consultations and 5) Management, comprising of philosophy and management concept, decentralization, and human resource development. 2. Guidelines for educational management according to Buddhist economics include 1) Development of views, thinking processes, and intelligence. The learning management strategy for this includes training to change behaviour, establishing awareness and responsibility, assigning books to review, consultation, and setting a good example. 2) Development of life skills. The learning management strategy for this development are real-experience training, problem-solving training, games and activities for human resource development, rallies to strengthen and develop teamwork. 3) Development of professional skills. Learning management strategy for this includes field training, setting up educational programs, education from various audio-visual media, practical assignments, efficient internship, staff development with coaching, professional training, operational training, and specific skills training. Critical success factors for educational management following Buddhist Economics are 1) Curriculum: The content of education must be up to date, dynamic change of information on teaching and learning methods, while more technology is used in teaching and learning management. 2) Personnel: administration fully support teaching and learning management. Educators are knowledgeable in their field of instructions while also can inspire their students. 3) Instruments: Various educational materials and materials are used. The place of study and the surrounding atmosphere is calm and conducive to teaching and learning. 4) Management: The management philosophy is straight forward. There is a continuous development of individual potential. Keywords: Educational Management; The Buddhist Economics; Sustainable Development; Result-Based Management; Management By Objectives; System Analysis Theory
Article Details
How to Cite
Harachai, K., & Unkong, T. (2023). องค์ประกอบและแนวทางการจัดการศึกษาตามแนวพุทธเศรษฐศาสตร์. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13805
Section
บทความวิจัย (Research Articles)