การวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะการดำรงชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานคร THE FACTOR ANALYSIS OF STUDENT LIVELIHOOD SKILLS OF STUDENTS STUDYING IN THE SECONDARY EDUCATION AREA IN BANGKOK
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะการดำรงชีวิตและศึกษาระดับทักษะการดำรงชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2562 ในกรุงเทพมหานครฯ จำนวน 5,787 คน ตัวอย่างเป็นนักเรียน ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 855 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มเลือกแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดทักษะการดำรงชีวิต เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 29 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน สนับสนุนว่า ทักษะการดำรงชีวิต มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดสร้างสรรค์ ด้านการสร้างสัมพันธภาพและการติดต่อสื่อสาร ด้านการจัดการอารมณ์ ด้านสังคม และด้านการจัดการดูแลช่วยเหลือตนเอง และองค์ประกอบทั้งหมด มีค่าความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบทั้งหมดนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวัดทักษะการดำรงชีวิตของนักเรียนได้ 2. การศึกษาระดับทักษะการดำรงชีวิตของนักเรียน โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง คำสำคัญ: ทักษะการดำรงชีวิต นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะการดำรงชีวิตของนักเรียน ABSTRACT The purposes of this research were to analyze the factors of livelihood skills and levels of livelihood skills of students studying in the secondary education. The population were 5,787 students studying in the secondary education area in Bangkok in the academic year 2019. Using multistage random sampling method, samples were 855 students in grade 7-9 of Bangkok’s Secondary Educational Service Area. The research instruments were 29 items of livelihood Skills test with .90 reliability coefficient (alpha). Statistics methods used were mean, Standard Deviation, Exploratory Factor Analysis (EFA), and Confirmatory Factor Analysis (CFA). The results of the study were as follows: 1. Both EFA and CFA supported and confirmed that livelihood Skills consisted of the five structural factors: Critical thinking and creative thinking, relationship building and communication, emotional control, socializing, and self-help. These factors were suitable to the empirical data of high loading at the .05 statistic significant level and could be used as the instrument to measure the livelihood functioning factors. 2. The students’ overall livelihood skills were considered a medium level. Keywords: Livelihood skills, Junior high school students, Factor analysis of student’s livelihood skills
Article Details
How to Cite
คัมภิรานนท์ อ. (2020). การวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะการดำรงชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานคร THE FACTOR ANALYSIS OF STUDENT LIVELIHOOD SKILLS OF STUDENTS STUDYING IN THE SECONDARY EDUCATION AREA IN BANGKOK. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12836
Section
บทความวิจัย (Research Articles)