การเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษาโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม THE ENHANCEMENT OF STUDENTS’ RESILIENCE THROUGH GROUP COUNSELING

Main Article Content

อสมา คัมภิรานนท์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษา สร้างโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษาและเปรียบเทียบผลการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 1 - 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ จำนวนทั้งหมด 1,042 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนวที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 1 - 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 180 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง จากนักศึกษาที่มีคะแนนความยืดหยุ่นทางอารมณ์ระดับปานกลาง ตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 12 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 6 คน เพื่อเข้ารับการให้คำปรึกษากลุ่ม และกลุ่มควบคุม จำนวน 6 คน ไม่ได้รับการให้คำปรึกษากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 และการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60 - 1.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติบรรยาย และสถิติพาราเมตริก(F-test) โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้าชนิดสองทาง (Two-Way ANOVA Repeated Measurement) ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1.ระดับความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1-3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒโดยรวมและรายด้าน พบว่า นักศึกษามีค่าเฉลี่ยความยืดหยุ่นทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการต่อสู้เอาชนะอุปสรรค มีคะแนนสูงที่สุด รองลงมาคือด้านมีกำลังใจ และด้านทนต่อแรงกดดัน 2. การให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้น ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป โดยการประยุกต์ใช้ 7 ทฤษฎีและ 14 เทคนิคการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษา 3. ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษาโดยรวมของกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าการให้คำปรึกษากลุ่มมีผลให้ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษาเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

Article Details

How to Cite
คัมภิรานนท์ อ. . (2024). การเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์ของนักศึกษาโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม: THE ENHANCEMENT OF STUDENTS’ RESILIENCE THROUGH GROUP COUNSELING. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1), 139–155. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15971
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรรณิการ์ พันทอง. (2563). การเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจและกลวิธีการจัดการของวัยรุ่นที่ถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์โดยใช้การให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวคิดการปรับความคิดโดยใช้สติเป็นฐาน. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กมลรัตน์ กรีทอง. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้คำปรึกษากลุ่ม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กาญจนา ไชยพันธุ์. (2549). การให้คำปรึกษากลุ่ม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ดวงฤทัย นาสา. (2557). ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มที่มีต่อความหยุ่นตัวด้านการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). ประมวลสาระวิชาการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินผลการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น:

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยและการแปลความหมาย. ข่าวสารวิจัยทางการศึกษา,

Corey, Gerald. (2004). Theory and Practice of Group Counseling. 6th ed. CA: Thomson Brooks/Cole

Corey, Gerald. (2008). Theory and Practice of Group Counseling. 7th ed. CA: Thomson Brooks/Cole

Ohlsen, Merle M. (1977). Group Counseling. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Stevens, P. (2009). Applied Multivariate Statistics for the Social Sciences: Analyses with SAS and IBM’s SPSS, Sixth Edition. New York.

Most read articles by the same author(s)