การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาการรู้เรื่องภูมิศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย: กรณีศึกษาโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ THE DEVELOPMENT OF THE INSTRUCTIONAL MODEL USING GEOGRAPHY PROCESS

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ ชัยยาณะ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติการและความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนการสอนสาระภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยรูปแบบ CIPP 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะตามวัตถุประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ระยะที่ 1 คือ ผู้บริหาร 2 คน ครูผู้สอน 3 คน นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 452 คน ระยะที่ 2 คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 46 คน สำหรับทดลองใช้รูปแบบ และระยะที่ 3 คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 47 คน โดยใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน แบบวัดการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNImodified การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนการสอนสาระภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยรวมอยู่ในระดับมากและมีความต้องการจำเป็นในด้านบริบทมากที่สุด 2. รูปแบบการเรียนการสอนมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียน         การสอน และการวัดและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการใช้รูปแบบพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการรู้เรื่องภูมิศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 มีความคงทนในการเรียนรู้อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในภาพรวมระดับมาก คำสำคัญ : กระบวนการทางภูมิศาสตร์, การรู้เรื่องภูมิศาสตร์, ความคงทนในการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์   ABSTRACT The purposes of research were to 1) study performance conditions and need of geography instruction in the upper secondary using CIPP 2) develop the instructional model using geography process and 3) study results of the model implementation. There were 3 phases according to purposes; sampling group in phase 1 were 2 administrators, 3 geography instructors, 452 students, phase 2 were 46 grade 12 students for trail the model, phase 3 were 47 grade 12 students in Wattanothaipayap school. The research instrument were achievement test, geography literacy scale, satisfaction questionnaire. The statistics were frequency, mean, percentage, standard deviation, PNImodified and t-test. The results revealed; 1) Performance conditions of geography instruction in the upper secondary as a whole was at a high level and need assessment in context was the highest. 2) The Model was 5 components: principles, objectives, contents, instructional process and measurement and evaluation. The appropriate of model as a whole was high level. 3) The results of mode implementation : the students had learning achievement, geography literacy higher at .01 level of significance. There was no significance difference in geography learning persistence at .01 level and the students’ satisfaction as a whole was at high level. Keywords: Geography Process, Geography Literacy, Retention in Geography

Article Details

How to Cite
ชัยยาณะ เ. (2020). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาการรู้เรื่องภูมิศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย: กรณีศึกษาโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ THE DEVELOPMENT OF THE INSTRUCTIONAL MODEL USING GEOGRAPHY PROCESS. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12833
Section
บทความวิจัย (Research Articles)