การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการระวังภัย สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี THE DEVELOPMENT OF MULTIMEDIA ELECTRONICS
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) สร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการระวังภัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการระวังภัย ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการระวังภัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทำวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านนาสาร จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 39 คน ซึ่งได้มาโดยการแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการระวังภัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (RAI) ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียมีประสิทธิภาพ 85.89/83.87 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดและค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (RAI) มีค่าเท่ากับ 0.84 ซึ่งถือได้ว่าตัวค่าดัชนีมีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (2) นักเรียนมีคะแนนทดสอบหลังเรียน จากการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการระวังภัย อยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย, การจัดการเรียนรู้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้, การวิจัยในชั้นเรียน Abstract The purposes of this research were: (1) To construct and develop multimedia electronics book based on inquiry process on Natural Disasters and Percautions for Matthayomsuksa 1 students; (2) To compare the pre-test and post-test scores after studying through the multimedia electronics book, and (3) To study the students’ satisfaction toward the multimedia electronics book. The target audience group, obtained through purposive sampling techniques, consisted of 39 Matthayomsuksa 1/5 students at Bannasan school in second semester of the 2018 academic year. The research tool were a multimedia electronics book based on inquiry process on Natural Disasters and Percautions for Matthayomsuksa 1 students, and the test for the pre-test and post-test. Data were analyzed by mean, standard deviation, t-test, and rater agreement index (RAI). The findings were as follows: (1) The multimedia electronics book had an efficiency 85.89/83.87 and the value for rater agreement index was 0.84 means the raters have a strong agreement in scoring. (2) The student posttest scores after studying through the multimedia electronics book based on inquiry process were significantly higher than the pretest scores at the statistical level of .01. (3) The students satisfaction towards the multimedia electronics book was at the highest level. Keywords: Multimedia Electronics Book, Inquiry Process Learning Management, Classroom Action Research
Article Details
How to Cite
ชูแก้ว ด., & สอนสังข์ จ. (2020). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการระวังภัย สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี THE DEVELOPMENT OF MULTIMEDIA ELECTRONICS. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12817
Section
บทความวิจัย (Research Articles)