การส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ หลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี โปรแกรมวิชาการประถมศึกษา ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอน 2) แบบประเมินความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาครู แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า 1. หลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา นักศึกษาครูมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบอยู่ในระดับดีมาก 2. นักศึกษาครูที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบหลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053 ความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ : เทคนิคแผนผังทางปัญญา การคิดอย่างเป็นระบบ นักศึกษาครู ABSTRACT The purpose of this study were1) to study the ability to system thinking after using the Mind Mapping Technique for students teachers 2) to compare the ability to system thinking before and after using Mind Mapping Technique for student teachers and 3) to study the satisfaction of student teachers towards the learning by using Mind Mapping Technique. Samples were 29 student teachers in elementary education program, 2nd year, 2nd term, academic year 2018, faculty of education, Kamphaengphet Rajabhat University. Sample groups were selected by purposive sampling. The Instrument used in this study were the lesson plan, systematic thinking ability assessment and satisfaction assessment form. Aone group pretest - posttest design. The statistics use to analyzed by Mean, Standard Deviation and t-test for dependent samples. The findings were as follows 1. The system thinking ability of student teachers after using the Mind Mapping Technique was the very good level. 2. The system thinking ability of student teachers after using Mind Mapping Technique was statistical significantly higher at 0.05 level. 3. The satisfied in the studying by using the Mind Mapping Technique of student teachers was at the Highest level. Keywords : Mind Mapping Technique, System Thinking, Student Teachers
Article Details
How to Cite
ด้วงวิเศษ บ. (2019). การส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12300
Section
บทความวิจัย (Research Articles)