รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้วยการศึกษาเอกสาร ศึกษาแนวทางการโค้ช โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 8 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการโค้ชที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ (International Coach Federation) ระดับ Professional Certified Coach, PCC จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยการนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มาเป็นข้อมูลสำหรับยกร่างรูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตรวจสอบความถูกต้อง ความครอบคลุมเนื้อหา และตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านการโค้ช จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 3 ได้ทำการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา โดยการตรวจสอบความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ในการใช้รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น ด้วยแบบตรวจสอบรายการ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะจำเป็นสำหรับการโค้ช มี 6 ทักษะ คือ 1) ด้านการสร้างความไว้วางใจ 2) ด้านการฟัง 3) ด้านการตั้งคำถาม 4) ด้านการเสริมสร้างกำลังใจ 5) ด้านการให้ข้อมูลย้อนกลับ และ 6) ด้านการสังเกต องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการโค้ช มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสร้างข้อตกลงร่วมกัน ขั้นที่ 2 การกำหนดเป้าหมาย ขั้นที่ 3 การสำรวจและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ขั้นที่ 4 การค้นหาทางเลือกและวางแผนปฏิบัติ และขั้นที่ 5 การติดตามผล จากผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้มีความถูกต้อง ความครอบคลุมเนื้อหา และความความเหมาะสมของรูปแบบ อยู่ในระดับมาก และผลการประเมินในด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านความเป็นไปได้ ประเด็นทักษะจำเป็นสำหรับการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษาและประเด็นกระบวนการโค้ชสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ตามลำดับ คำสำคัญ : รูปแบบ การพัฒนาทักษะการโค้ช ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพฯ ABSTRACT The purpose of this research was to develop a coaching skill development model for school administrators under the Bangkok Metropolitan Administration. Research procedure was divided into 3 steps, step 1, to study the coaching condition of the school administrators under the Bangkok Metropolis by studying documents, in-depth interviews with 8 experts from the school director and 4 coaching experts certified by the International Coach Federation of Professional Certified Coach (PCC), totaling 12 people. Step 2, Develop a coaching skill development draft model from data step 1 from school administrators under the Bangkok Metropolis then check the correction, adequacy and appropriation with by in-depth interviews with 9 coaching experts. Step 3 Tryout and evaluation usefulness and possibility of coaching skills development model with the checklist list. The results showed that the development of coaching skills for school administrators in Bangkok consisted of 2 components 1) coaching skills are consisted of 6 skills: 1) building trust, 2) listening, 3) questioning, 4) encouraging, 5) providing feedback and 6) observation. The coaching process has 5 steps: step 1) set agreement, step 2) goal setting, step 3) Exploring and analyzing current situation, step 4) options and planning, and step 5) follow up. From the results of the model tryout and evaluation, it was found that this developed model was propriety, accuracy in high level. The evaluation result in the utility is at the highest level. In the feasibility, the essential skill issues for coaching of school administrators and the process of coaching for school administrators were in the highest and high levels respectively. Keyword: Model, Coaching Skills Development, Bangkok School Administrators
Article Details
How to Cite
วัชรกาฬ ส., พิมสาร ณ., & ธนวุฒพรพินิจ ส. (2019). รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12298
Section
บทความวิจัย (Research Articles)